นอภ.ด่านขุนทด เรียกประชุมหาข้อยุติการเยียวยาผลกระทบจากกังหันลม "ห้วยบง"

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

นอภ.ด่านขุนทด เรียกประชุมหาข้อยุติการเยียวยาผลกระทบจากกังหันลม ห้วยบง

บริษัทผลิตกังหันลม ร่วมประชุมกับชาวบ้าน แก้ปัญหาผลกระทบ  เชิญทนายความพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ารับฟังปัญหา ชาวบ้านยันผู้ผลิตไฟฟ้ากังหันลม ไม่เคยทำประชาคมสอบถามชาวบ้าน อยู่ๆเข้ามาดำเนินการตั้งเสากังหันลม โดยไม่คำนึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นครราชสีมา  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00น.วันที่ 19 ม.ค.61 นาย ไพทูรย์ มหาชื่นใจ นายอำเภอด่านขุนทด จ.นครราชสีมา  เป็นประธานการประชุมความขัดแย้ง ระหว่างบริษัท ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า กรีโนเวชั่นเพาเวอร์  กับราษฎรในพื้นที่ตำบลห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ณ หอประชุมอำเภอด่านขุนทด จำนวนกว่า 200 คน โดยเชิญนายวรัญย์ปกรณ์ เมธาธรรม นิติกรจากยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา นายเจริญ บัวหลวงงาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง  นายวิเชียร จึงรุ่งชัยวัฒนา นายวรยุทธ์ ศรีปราโมท รักษาการ ผอ.สนง.กำกับกิจการพลังงานเขต 6 นายอสม พรหมดี เจ้าหน้าที่ทั่วไป สนง.กำกับพลังงานเขต 6  นา ธฤติ บุณยายน  ผู้จัดการ บ.กรีโนเวชั่นเพาเวอร์ บ.พัฒนาพลังงานลม นาย นัฐพล ผลม่วง ผู้จัดการชุมชนสัมพันธ์  ของบริษัทดังกล่าว

นอภ.ด่านขุนทด เรียกประชุมหาข้อยุติการเยียวยาผลกระทบจากกังหันลม "ห้วยบง"

       จากปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นดังกล่าวเนื่องจาก บริษัท กรีโนเวชั่นเพาเวอร์ เข้ามาดำเนินการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในพื้นที่ (กังหันลม)ในพื้นที่ตำบลห้วยบง  อาทิเช่นหมู่ที่ 24 บ้านห้วยโปร่งต.ห้วยบง บริษัทเข้ามาดำเนินการ ติดตั้งเสากังหันลม มีการระเบิดหิน โดยไม่มีการประชุมสอบถามความเห็นหรือชี้แจงผลกระทบแต่อย่างใดเริ่มแรกทางบริษัทอ้างว่าทำในที่ดินโฉนด ของตนเอง ไม่จำเป็นจะต้องจ่ายชดเชยผลกระทบให้แก่ชาวบ้านแต่อย่างใด  ทำให้ ชาวบ้านในพื้นที่ต่างไม่พอใจ มีการรวมตัวต่อต้าน ทางบริษัท จึงได้เลือกจ่ายค่าชดเชยให้เป็นรายๆ ไป ทำให้ชาวบ้านที่ไม่ได้รับการชดเชยจากผลกระทบ ซึ่งเป็นชาวบ้านส่วนใหญ่ ต่างไม่พอใจ จึงได้เข้าร้องเรียนต่อ นาย ไพทูรย์ มหาชื่นใจ นายอำเภอด่านขุนทด จึงได้เรียกทั้งสองฝ่ายเจรจาเพื่อหาข้อยุติ ทางด้าน ชาวบ้านได้เชิญ นาย วัฒนชัย เอกกมลเรืองชัย ราษฎรที่มีที่ดินอยู่ในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบและมีความรู้ในเรื่องด้านผลกระทบ และเชิญนาย ธีระศักดิ์ ชึขุนทด ทนายความ นายกสมาคมนักกฎหมายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เข้ารับฟังการแก้ปัญหาดังกล่าว การเจรจาเป็นไปด้วยบรรยากาศที่รุนแรง เนื่องจากทางบริษัทฯพยายามหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชยจากผลกระทบให้แก่ชาวบ้าน  ชาวบ้านต่างยืนยันว่า บริษัทฯไม่เคยแจ้งหรือทำประชาคมเกี่ยวกับผลกระทบให้แก่ชาวบ้านทราบ  หลังจากการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดมัน ชาวบ้านต่างแย้งกันจับไมค์พูด ทำให้เกิดความวุ่นวายเกิดขึ้นในที่ประชุมพอสมควร นาย ไพฑูรย์ ฯ นายอำเภอด่านขุนทด จึงสรุปให้แต่ละหมู่บ้านจัดการประชุมเพื่อเลือกตัวแทน หมู่บ้านละ 5 คนเพื่อเข้าเจรจาเพื่อเสนอข้อเรียกร้องค่าชดเชยที่ได้รับผลกระทบ ภายใน 7วัน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางด้านเอกชนขอนัดประชุมเป็นรายหมู่บ้านจำนวน  10 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบโดยเริ่มเดินสายประชุมตั้งแต่วันที่ 29  ม.ค.เป็นต้นไป และขอนัดเป็นเวลาหลังเลิกงาน 17 นาฬิกา ของทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์ ประชุมที่ศาลประชาชมหมู่บ้านของแต่ล่ะหมู่  

นอภ.ด่านขุนทด เรียกประชุมหาข้อยุติการเยียวยาผลกระทบจากกังหันลม "ห้วยบง"

นาย ไพฑูรย์ฯได้กล่าวแก่ผู้สื่อข่าวว่า ปัญหาดังกล่าวนั้น มันเรื้อรังมานาน จะต้องเจรจาให้จบระหว่าง ผู้ได้รับผลกระทบ กับผู้ประกอบธุรกิจ ต้องคุยกันให้รู้เรื่องและเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกันจะต้องจบกันไปด้วยดีให้ได้ ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณี ป่าดงกระสั่ง-ลำพญากลาง มีการเข้าไปบุกรุกกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบนำหลักเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไปกองหมกเอาไว้ในป่าเป็นจำนวนมาก เป็นกองๆ ไม่มีการฝังหลักเขตหรือกำหนดพื้นที่ป่าให้ชัดเจนทำให้มีการบุกรุกที่ดินที่ป่าดงกระสัง-ลำพญากลางจนเสียหายนับหมื่นไร่ ทำให้ป่าสงวนเสื่อมโทรมเป็นที่มาของการออกเอกสาร สปก.4-01 นอกจากนั้นพื้นที่ป่าดงกระสัง-ลำพญากลางดังกล่าว ยังมีการดำเนินการออกโฉนดให้แก่นายทุนอีกเป็นจำนวนมาก

นาย ไพฑูรย์ฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ตนเองพึงเดินทางมารับตำแหน่งที่อำเภอด่านขุนทด แต่อย่างไรก็ดีตนได้รับเรื่องนี้เอาไว้แล้ว จะเรียกที่ดินและป่าไม่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้งหนึ่ง

ทางด้าน นายธีระศักดิ์ ชึขุนทด ทนายความฯกล่าวว่า ในวันนี้ได้มีการประชุมแก้ไขความขัดแย้งปัญหากังหันลม  สิ่งที่ชาวบ้านต้องการให้แก้ไขก็คือการติดตั้งเสากังหันลมอยู่ใกล้ชุมชนจนเกินไป ทางผู้ประกอบการก็ยินดีที่จะชดเชยให้แก่เจ้าของบ้านที่มีบ้านอยู่ใกล้เสากังหันลม และที่ทำมาหากินกับชาวบ้านแต่ต้องประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง ภายในอาทิตย์หน้า จะเดินไปร่วมการประชุมกับชาวบ้านจำนวน 10 หมู่บ้าน และให้หมู่บ้านเรียกร้องค่าเยียวยา และให้ตัวแทนหมู่บ้านเสนอค่าเยียวยาชดเชยมาหากตกลงกันได้ก็คงจบ หากตกลงกันไม่ได้ก็เป็นขบวนการฟ้องร้องต่อศาลปกครองสูงสุดกันต่อไป ส่วนการดำเนินการบริษัทก็ไม่ดำเนินการทำประชาพิจารซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

///

ชุติมา  พูลทวี  ด่านขุนทด  นครราชสีมา

นอภ.ด่านขุนทด เรียกประชุมหาข้อยุติการเยียวยาผลกระทบจากกังหันลม "ห้วยบง"