ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

แม่ชีเฒ่าบอกให้ผมตั้งใจให้นิ่ง แล้วบอกมนต์เมตตามหานิยม ของเจ้าประคุณสมเด็จโตฯ ว่า

“ โอม ศรีศรี พรหมรังสี นามะเต ”

แม่ชีเฒ่าบอกมนต์ ๓ครั้ง แล้วถามผมว่า "จำมนต์บทนี้ได้หรือไม่?" ผมมีจิตอันสงบพอประมาณ ทั้งเป็นมนต์บทสั้น ดังนั้นจึงจำได้แม่นยำ แล้วบอกแม่ชีเฒ่าว่า "ผมจำได้แม่นยำแล้วครับ"

 

 

คาถาโบราณ ที่ใช้แล้วเห็นผลทันตา!! เข้าหาผู้ใหญ่ ไร้กังวล!! เมตตาสุดๆแน่นอน "สมเด็จโต วัดระฆัง"มอบให้ ยืนยันดีจริงๆ เซฟๆกันไว้ให้ดี..

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

 

 

แม่ชีเฒ่าเล่าว่า พระคาถาบทนี้เมื่อครั้งที่เจ้าประคุณสมเด็จโตฯ ยังมีชีวิตอยู่นั้น เวลาออกบิณฑบาต เห็นโยมหน้าตาเป็นสิวเป็นฝ้า สีหน้าหม่นหมอง หรือมีกิจต้องไปหาผู้หลักผู้ใหญ่ เจ้าประคุณก็จะสอนคาถาบทนี้ให้ เป็นบทพระคาถาที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และสืบทอดต่อๆ มาจนกระทั่งมาถึงรุ่นยายได้เล่าเรียน

 

 

คาถาโบราณ ที่ใช้แล้วเห็นผลทันตา!! เข้าหาผู้ใหญ่ ไร้กังวล!! เมตตาสุดๆแน่นอน "สมเด็จโต วัดระฆัง"มอบให้ ยืนยันดีจริงๆ เซฟๆกันไว้ให้ดี..

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

 

 

แม่ชีเฒ่าได้บอกว่า พระคาถาบทนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นคาถาที่อ้างอิงเอาอิทธิบารมีของเจ้าประคุณสมเด็จโตฯ เป็นที่ตั้งแห่งความเมตตา และความยำเกรง คำว่า "โอม" นั้นไม่ได้หมายถึง ถ้อยคำในศาสนาฮินดู อันหมายถึงมหาเทพตรีมูรติ คือพระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ แต่เป็นความหมายถึง พระรัตนตรัย ให้บังเกิดเป็นศรีและสิริมงคล เช่นฉายาแห่งเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี นั้น

 

 

คาถาโบราณ ที่ใช้แล้วเห็นผลทันตา!! เข้าหาผู้ใหญ่ ไร้กังวล!! เมตตาสุดๆแน่นอน "สมเด็จโต วัดระฆัง"มอบให้ ยืนยันดีจริงๆ เซฟๆกันไว้ให้ดี..

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

 

 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระภิกษุมหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕

 

 

คาถาโบราณ ที่ใช้แล้วเห็นผลทันตา!! เข้าหาผู้ใหญ่ ไร้กังวล!! เมตตาสุดๆแน่นอน "สมเด็จโต วัดระฆัง"มอบให้ ยืนยันดีจริงๆ เซฟๆกันไว้ให้ดี..

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

 

 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล ๑ใน ๕ ของประเทศไทยและมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

 

 

คาถาโบราณ ที่ใช้แล้วเห็นผลทันตา!! เข้าหาผู้ใหญ่ ไร้กังวล!! เมตตาสุดๆแน่นอน "สมเด็จโต วัดระฆัง"มอบให้ ยืนยันดีจริงๆ เซฟๆกันไว้ให้ดี..

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

 

 

รูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ประดิษฐานที่วัดไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวกันว่าท่านเกิดในเรือของมารดาซึ่งจอดเทียบท่าอยู่หน้าวัดแห่งนี้

สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว ๗ ปี) เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑)  ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

 

มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายฉบับ เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง

 

 

สำหรับบิดาของท่านนั้น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็นเจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในฉบับของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองฉบับกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

 

 

คาถาโบราณ ที่ใช้แล้วเห็นผลทันตา!! เข้าหาผู้ใหญ่ ไร้กังวล!! เมตตาสุดๆแน่นอน "สมเด็จโต วัดระฆัง"มอบให้ ยืนยันดีจริงๆ เซฟๆกันไว้ให้ดี..

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

 

 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ในสมัยรัชกาลที่ ๔ จวบจนท่านมรณภาพในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕

เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๓ ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. ๒๓๕๐ จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี" เนื่องจากเป็นนาคหลวงจึงเรียกว่า "พระมหาโต" มานับแต่นั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระมหาโตไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

 

ท่านมีอุปนิสัยทำสิ่งใดตามความพอใจของตน ไม่ถือเอาความนิยมขอผู้อื่นเป็นหลัก และไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใด ๆ แม้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ก็ไม่ยอมเข้าสอบเปรียญธรรม ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ แต่ท่านไม่ยอมรับ จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอดรัชกาล

 

 

ต่อมากล่าวกันว่า พระมหาโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสะตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของท่านอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน

 

 

หลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพ ปูชนียสถานแห่งสุดท้ายที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้สร้างไว้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดปรานพระมหาโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๕พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์พระมหาโตเป็นครั้งแรก เป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ ๖๕ ปี

เช่าพระคลิ๊กที่นี่ เช่าพระที่นี่

 

คาถาโบราณ ที่ใช้แล้วเห็นผลทันตา!! เข้าหาผู้ใหญ่ ไร้กังวล!! เมตตาสุดๆแน่นอน "สมเด็จโต วัดระฆัง"มอบให้ ยืนยันดีจริงๆ เซฟๆกันไว้ให้ดี..

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

 

 

โดยปกติแล้วพระมหาโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก ๒ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๓๙๗) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ "พระเทพกระวี" หลังจากนั้นอีก ๑๐ปี (พ.ศ. ๒๔๐๗) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระพุฒาจารย์"

 

 

คาถาโบราณ ที่ใช้แล้วเห็นผลทันตา!! เข้าหาผู้ใหญ่ ไร้กังวล!! เมตตาสุดๆแน่นอน "สมเด็จโต วัดระฆัง"มอบให้ ยืนยันดีจริงๆ เซฟๆกันไว้ให้ดี..

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

 

 

สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า "ขรัวโต"

ราวปี พ.ศ. ๒๔๑๐ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอินทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ

 

 

คาถาโบราณ ที่ใช้แล้วเห็นผลทันตา!! เข้าหาผู้ใหญ่ ไร้กังวล!! เมตตาสุดๆแน่นอน "สมเด็จโต วัดระฆัง"มอบให้ ยืนยันดีจริงๆ เซฟๆกันไว้ให้ดี..

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

 

 

โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม ๒ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ ๘๔ ปี อยู่ในสมณเพศ ๖๔ พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ ๒๐ ปี

 

 

อ่านเพิ่มเติม...ปลุกเสกพระจนลอยเคว้งในอากาศ"หลวงพ่อสว่าง วัดท่าพุทรา"เกจิดังกำแพงเพชร 

 

 

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพและเจ้าของบทความ ที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

หนังสือศิษย์สมเด็จ โดย เรืองวิทยาคม

Cr.SaRAN WiKi

คาถาครูพักลักจำ

https://th.wikipedia.org/