ต้นกำเนิด "มะเมียะ" คำพูดติดปากชาวไทย !!! แท้จริง คือ ตำนานรักแสนเศร้าที่สุด ในประวัติศาสตร์ล้านนา !!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

มีใครหลายคนมากมายในปัจจุบันติดปากเรียกพม่าผู้หญิงว่า มะเมียะ แต่เคยรู้กันหรือไม่ว่า มะเมียะ นั้นมีตัวตนจริง คือ ชื่อของหญิงสาวสามัญชน ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งเรื่องราวรักที่ขื่นขมทรมาณใจ กับ เจ้าฟ้าแห่งล้านนาผู้สูงศักดิ์ เป็นเรื่องเล่าที่อิงมาจากความจริง ทุกสถานที่และตัวตนนั้นมีอยู่จริง เป็นรักที่น่าเศร้ายิ่งนัก วันนี้จะพาคุณผู้อ่านมารู้จักกับรักแสนเศร้าครั้งนี้กันครับ

ต้นกำเนิด "มะเมียะ" คำพูดติดปากชาวไทย !!! แท้จริง คือ ตำนานรักแสนเศร้าที่สุด ในประวัติศาสตร์ล้านนา !!!

เรื่องราวตำนานครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2445 - 2505 ในขณะที่ ร้อยตรี เจ้าอุตรการโกศล (สุขเกษม ณ เชียงใหม่) หรือ เจ้าน้อยศุขเกษม ราชโอรสองค์โตในเจ้าแก้วนวรัฐ กับแม่เจ้าจามรีมหาเทวี แห่งนครเชียงใหม่ เมื่อครั้งอายุได้ 15 ปี ได้ถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์แพทริค ในเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า เมื่อครั้งเจ้านายน้อยมีอายุได้ 19 ปี ก็ได้ออกเดินเที่ยวในตลาดและสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เจ้านายน้อย ได้เจอกับ มะเมียะ หญิงสาวชาวพม่า ซึ่งเป็นแม่ค้าขายบุหรี่สาวน้อยวัยเพียง 15 และเมื่อได้เจอกันทั้งคู่ก็เหมือนรักแรกพบตกหลุมรักซึ่งกันและกัน และคบกันมาจนได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา โดยทั้งสองได้สาบานต่อกัน ณ ลานหน้าพระธาตุใจ้ตะหลั่นว่า จะรักกันตลอดไปและจะไม่ทอดทิ้งกันและกัน หากผู้ใดทรยศต่อความรักที่มีให้กัน ก็ขอให้ผู้นั้นอายุสั้น

เมื่อเจ้านายน้อยอายุได้ 20 ปี เป็นเวลาที่ต้องกลับนครเชียงใหม่ จึงแอบพามะเมียะกลับมาด้วย และเมื่อทั้งคู่กลับมา นครเชียงใหม่ เจ้านายน้อย จึงได้รู้ว่าตนได้ถูกหมั้นหมายกับหญิงอื่นไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อรู้เช่นนั้นเจ้านายน้อยจึงได้เล่าเรื่องมะเมียะ ให้กับพระบิดา และพระมารดาฟัง แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับ เพราะช่วงนั้นพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ที่กำลังมีคดีความกับสยามอยู่ มะเมียะจึงได้ถูกส่งตัวกลับพม่าทันที

เมื่อถึงวันที่มะเมียะต้องเดินทางกลับ ดูบรรยากาศเหมือนกับว่าเป็นการจากลากันชั่วนิรันดร์ เจ้านายน้อย พูดภาษาพม่ากับมะเมียะได้เพียงไม่กี่คำ มะเมียะก็ร่ำไห้โศรกเศร้าด้วยความอัดอั้นตันใจในอ้อมแขนที่ยากจะแยกกันได้ เจ้านายน้อย ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะกลับไปหามะเมียะให้จงได้ นางจึงคุกเข่าลงกับพื้น ก้มหน้า และเช็ดเท้าให้นายน้อยผู้ซึ่งเป็นสามี ด้วยความอาลัยก่อนที่นางจะลุกขึ้นหันหลังกลับประเทศไป

วันเวลาผ่านไป มะเมียะ ได้แต่เฝ้ารอคอยเจ้านายน้อยผู้ซึ่งเป็นสามี ซึ่งเชื่อมั่นในคำสัญญา แต่เวลาผ่านไปนานเข้าๆก็ไร้วี่แววใดๆ ไม่มีแม้สัญญาณเพียงเล็กน้อยให้ มะเมียะได้ชื่นใจ นางจึงตัดสินใจครองตนเป็นแม่ชี เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ว่านางยังคงซื่อสัตย์ ต่อความรักที่มีต่อเจ้านายน้อยจากนครเชียงใหม่ผู้ซึ่งเป็นสามี

ผ่านไประยะเวลาหนึ่ง เจ้านายน้อย ได้แต่งงานกับ เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ หญิงสูงศักดิ์ เมื่อทราบข่าวแม่ชีมะเมียะจึงเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่ และขอเข้าพบเจ้านายน้อย เป็นครั้งสุดท้าย แต่เจ้านายน้อยไม่สามารถหักห้ามความสงสารที่มีต่อแม่ชีมะเมียะได้ จึงเลือกที่จะไม่ลงไปหาแม่ชีมะเมียะตามคำขอ เพียงแต่มอบหมายให้พี่เลี้ยงคนสนิทนำถุงเงินไปให้ 1 กำปั่น ไปมอบให้กับแม่ชีมะเมียะเพื่อเป็นเงินในการทำบุญ พร้อมกับมอบแหวนทับทิมประจำกายอีกวงหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนของเจ้านายน้อยให้แก่แม่ชีมะเมียะเก็บไว้

ต้นกำเนิด "มะเมียะ" คำพูดติดปากชาวไทย !!! แท้จริง คือ ตำนานรักแสนเศร้าที่สุด ในประวัติศาสตร์ล้านนา !!!

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สร้างความสะเทือนใจให้กับทั้งคู่อย่างหาที่สุดไม่ได้ เจ้านายน้อยที่ต้องทำตามกฎบ้านกฎเมือง ไม่สามารถอยู่คู่ครองเรือนกับชาวพม่าได้ เพราะอาจจะทำให้บ้านเมืองต้องมีปัญหาหากสยามรู้เข้า เจ้านายน้อยคิดเพียงต้องทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อคนหมู่มาก มิใช่เพียงความสุขส่วนตนแม้ว่าจะเจ็บปวดเพียงใดก็ต้องอดทน ผ่านไปไม่นานเจ้นายน้อยกินเหล้าอย่างหนัก บ่นถึงแต่เรื่องที่ไปอยู่พม่าที่ได้อยู่ฉันสามีภรรยากับมะเมียะ เจ้านายน้อยไม่เคยลืมเลย จนวันๆกินแต่เหล้าไม่กินข้าวกินอาหารและตรอมใจสิ้นชีพิตักษัยในไม่กี่ปีต่อมานับจากวันที่ตัดขาดกับแม่ชีมะเมียะด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง ส่วนทางด้านแม่ชีมะเมียะ ได้ครองบวชเป็นแม่ชี จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2505 รวมอายุได้ 75 ปี

จากบทความที่ยกมา ได้นำมาจาก ผู้เขียนคุณปราณี ได้เคยเผยแพร่บทความเกี่ยวกับเรื่องมะเมี๊ยะ ที่ต่อมาได้กลายมาเป็นตำนานเพลงรักอมตะ ของจรัญ มโนเพชร จนคนไทยรู้จักกันแพร่หลาย แต่อีกด้านหนึ่ง ทายาทของ "เจ้าบัวชุม" ได้เล่าเรื่องราวดังกล่าวเอาไว้ว่า

ประเด็นถกเถียงมายถึงตัวตนจากตำนานว่ามะเมียะเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์หรือไม่เพราะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนและเป็นคำบอกเล่าสืบๆต่อกันมา ทำให้มีผู้คนเกิดความสนใจตามหาข้อเท็จจริงดังนี้

1. การสืบทอดตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองล้านนาจึงมักจะเป็นการสืบทอดจากพี่ไปน้อง ดังนั้นที่อ้างกันว่าเจ้าศุขเกษมจะได้ครองเมืองเชียงใหม่ต่อนั้นก็ไม่จริงถ้าหากเรียงตามลำดับศักดิ์ ประกอบกับชีวิตที่ไม่ได้เรื่องของเจ้าน้อยฯจากคำบอกเล่าของเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่
 
2. เรื่องจริงปนนิยายจาก จากคำให้การของ เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ กล่าวในฐานะคนในว่า “เรื่องมันไม่ได้เป็นนิยายอย่างนั้น มันไม่ได้ใหญ่โตจนกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เพียงแต่มันไม่เหมาะสม เพราะตามตำแหน่ง เจ้าน้อยฯ ต้องเป็นเจ้าหลวงในอนาคต หลายคนคงลำบากใจที่ได้เมียเป็นชาวพม่า และที่สำคัญ อุตส่าห์ส่งไปเรียนหนังสือ กลับได้เมียมา เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ต้องไม่พอใจ คงเหมือนสมัยนี้แหละ บางคนก็ต่อว่าเจ้าปู่เรา (เจ้าหลวงแก้วนวรัฐ) ว่าแบ่งขีดแบ่งชั้นกีดกันความรัก ความจริงอีกอย่างคือเจ้าอาว์ (เจ้าน้อยศุขเกษม) ก็รูปหล่อ เป็นลูกเจ้าอุปราชฯ ท่านก็เป็นคนสำราญตามประสาเจ้าชายหนุ่ม และตามที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ท่านมิได้หมกมุ่นตรอมใจจนตายอย่างนิยายว่า เรื่องเพิ่งจะมาเศร้าโศกปวดร้าวเมื่อคุณปราณี ขยายให้เป็นนิยายนี่เอง และถ้าเรื่องนี้เป็นไปตามนั้น ไม่มีทางจะปิดชาวเชียงใหม่ได้มิดหรอก”
 
3. เหนือฟ้า ปัญญาดี เคยสัมภาษณ์กับปราณีว่าแท้จริงแล้ว ชื่อของมะเมียะมีที่มาจากชื่อหญิงไทใหญ่ที่อยู่บ้านระแวกเดียวกันในย่านวัดป่าเป้าอันเป็นชุมชนชาวไทใหญ่ในเชียงใหม่ หญิงไทใหญ่ มีชื่อจริงว่า "แม่นางเมียะ" การใช้คำว่า "มะ" ที่ภาษาเป็นพม่าใช้นำหน้าชื่อผู้หญิงตั้งแต่เด็กจนเป็นสาว ส่วนข้อสันนิษฐานที่พบมะเมียะในพม่า ชื่อว่า "แม่ชีด่อนางเหลียน" โดย"ด่อ" จะใช้นำหน้าชื่อผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือมีอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้น ด่อนางเหลียนจึงอาจไม่ใช่ตัวจริง
 
4. เรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมนั้นน่าจะเป็นเรื่องจริงของเจ้าราชบุตรเสียมากกว่า และเป็นเรื่องจริงที่นำเหตุการณ์จริงหลายเรื่องมาปะติดปะต่อจึงทำให้พบข้อสันนิษฐานหรือข้อพิรุดอยู่หลายจุด คือ
4.1 เรื่องเจ้าน้อยฯ ไปเรียนที่มะละแหม่ง คุณปราณีเล่าว่าเจ้าน้อยอายุ 15 ปี แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลเรื่องอายุแล้ว ปีที่อ่างว่าไปเรียนนั้นเจ้าน้อยมีอายุจริงได้ 19 ปี ซึ่งน่าจะเลยเวลาเล่าเรียนไปแล้ว
4.2 เรื่องเจ้าน้อยฯ ไปส่งมะเมียะขึ้นช้างกลับมะละแหม่งที่ประตูหายยา เรื่องนี้ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นจริง เพราะการเดินทางไปมะละแหม่งนั้น จะต้องล่องเรือตามลำน้ำปิงไปเมืองระแหงหรือเมืองตาก แล้วเดินบกไปมะละแหม่ง การเดินทางจากเชียงใหม่ไปเมืองตากโดยทางบกนั้นไม่มีใครทำกัน
4.3 คุณปราณีว่า เจ้าแก้วนวรัฐฯ และเจ้าน้อยฯ มอบเงินให้มะเมียะติดตัวกลับไปเป็นเงิน 800 และ 80 บาท ข้อนี้ก็พิรุธเพราะสมัยนั้นทางล้านนาไม่มีการใช้เงินบาท แต่ใช้เงินรูเปียอินเดียที่อังกฤษเอามาใช้ที่พม่า ที่เรียกกันว่า "เงินแถบ" เงินบาทเพิ่งจะขนขึ้นไปใช้จนแพร่หลายในช่วงหลัง พ.ศ. 2459 หรือในช่วงกลางรัชกาลที่ 6 มาแล้ว
4.4 "ประตูหายยา" ที่เจ้าน้อยศุขเกษมไปส่งมะเมียะ และชาวเมืองเชียงใหม่จำนวนมากไปเฝ้ารอดูว่าเธอสวยเพียงใดนั้นเป็นเรื่องผิดวิสัย ตามความเชื่อของคนเชียงใหม่ ประตูหายยาเป็น "ประตูผี" สำหรับส่งศพออกนอกเมือง ยิ่งเป็นการเดินทางไปเมืองมะละแหม่ง ควรเลือกใช้ "ประตูท่าแพ" เพื่อลงเรือแม่ปะตามแม่น้ำปิงไปเมืองระแหง แล้วเปลี่ยนไปใช้ทางบก ใช้ช้างเดินทางไปด่านแม่สอดสู่เมืองมะละแหม่ง เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด (นักวิชาการท้องถิ่นบางคนสันนิษฐานว่าการเดินทางของมะเมียใช้เส้นทางจากสันป่าตองสู่บ้านกาดถึงเมืองวินต่อไปที่แม่นาจรจนถึงขุนยวมแล้วลงเรือบ้านต่อแพเพื่อออกแม่น้ำสาละวิน)
4.5 เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) ลงมาเล่าเรียนที่โรงเรียนราชวิทยาลัยเมื่ออายุ 14 ปี เป็นปีเดียวกับที่คุณปราณีระบุว่าเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนที่มะละแหม่ง
4.6 ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ ยังพบความ "เรื่องประหลาด" ในพระราชบันทึกส่วนพระองค์ ที่ทรงกล่าวถึงเจ้าราชบุตรจะสมรสกับหญิงคนหนึ่งที่เป็นธิดานอกสมรสของพระบรมวงศ์พระองค์หนึ่ง โดยในชั้นต้นเข้าใจกันว่าเป็นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์ จึงมีพระราชดำริที่จะจัดการสมรสพระราชทาน แต่เมื่อตรวจสอบแล้วสตรีนั้นเป็นบุคคลที่บิดาไม่รับเป็นบุตร จึงมิได้เป็นหม่อมเจ้า ในเมือมิได้เป็นเจ้าจึงต้องทรงวางเฉยในเรื่องนี้ และไม่ปรากฏว่าเจ้าราชบุตรได้สมรสกับหญิงคนนี้
4.7 เหตุการณ์การสยายผมของมะเมียะเหมือนกับเหตุการณ์ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้สยายพระเกษาเช็ดพระบาทให้กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ก่อนที่จะเสด็จกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนครเชียงใหม่
 
5. รายการทางช่องยูทูป Mr.Hotsia ได้เดินทางไปตามหาเรื่องราวของมะเมียะและไปสัมภาษณ์แม่ชีที่เป็นลูกศิษยแม่ชีมะเมียะ (เชื่อกันว่าเป็นมะเมียะ)จนได้พบรูปถ่ายที่เชื่อว่าเป็นภาพของมะเมียะตอนอายุ 20 ปีซึ่ง ผู้หญิงในรูปมีประวัติว่าเคยมีสามีเป็นคนไทยและก่อนมาบวชเคยมีลูกและนำทารกไปให้ผู้อื่นเลี้ยงและทารกได้เสียชีวิตเพียงอายุ 9 เดือน ข้อเท็จจริงจากภาพถ่ายพบความคลาดเคลื่อนว่า มะเมียะในรูปเกิดปี พ.ศ. 2445 (ไม่ตรงกับเรื่องเล่าว่ามะเมียเกิดปี พ.ศ. 2430) แต่เจ้าน้อยฯเดินทางไปเรียนพม่าเมื่อ ปี พ.ศ. 2445 จึงไม่มีทางเป็นไปได้ที่มะเมียและเจ้าน้อยจะได้พบกันในช่วงเวลาดังกล่าว

ต้นกำเนิด "มะเมียะ" คำพูดติดปากชาวไทย !!! แท้จริง คือ ตำนานรักแสนเศร้าที่สุด ในประวัติศาสตร์ล้านนา !!!

อ้างอิงข้อมูลจาก - th.wikipedia.org และ www.pantip.com