สะพรึง! เปิดผลสำรวจ สุ่มตรวจ "เนื้อไก่-ตับไก่" พบยาปฏิชีวนะสารตกค้างอื้อ! หวั่นเกิดเชื้อดื้อยาจากสัตว์สู่คน (รายละเอียด)

เปิดผลสำรวจ สุ่มตรวจ "เนื้อไก่-ตับไก่" พบยาปฏิชีวนะสารตกค้างอื้อ! หวั่นเกิดเชื้อดื้อยาจากสัตว์สู่คน (รายละเอียด)

สะพรึง! เปิดผลสำรวจ สุ่มตรวจ "เนื้อไก่-ตับไก่" พบยาปฏิชีวนะสารตกค้างอื้อ! หวั่นเกิดเชื้อดื้อยาจากสัตว์สู่คน (รายละเอียด)

 

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จากการสุ่มตรวจเนื้อไก่สดและตับไก่สด ทั้งหมด 62 ตัวอย่าง ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากห้างสรรพสินค้า ตลาดสด และห้างออนไลน์ ระหว่างวันที่ 9-15 มิถุนายน 2561 เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ 3 กลุ่ม นำมาตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด จาก 3 กลุ่ม คือ 

กลุ่มที่ 1 กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน(Fluoroquinolone group) คือ เอนโรฟลอคซาซิน(Enrofloxacin)

กลุ่มที่ 2 กลุ่มเตตราไซคลิน(Tetracycline group) คือ ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline)

กลุ่มที่ 3 กลุ่มเบต้า-แลคแทม (Beta-lactam groups) คือ อะม็อกซีซิลลิน(Amoxicillin)

 

 

สะพรึง! เปิดผลสำรวจ สุ่มตรวจ "เนื้อไก่-ตับไก่" พบยาปฏิชีวนะสารตกค้างอื้อ! หวั่นเกิดเชื้อดื้อยาจากสัตว์สู่คน (รายละเอียด)

 

ซึ่งพบการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 26 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 41.93 // พบตกมาตรฐานการใช้ยาปฏิชีวนะ จำนวน 5 ตัวอย่าง ในยาเอนโรฟลอคซาซิน เนื่องจากเป็นยานอกเหนือบัญชีแนบท้ายประกาศ ซึ่ง อย. อนุญาตให้ใช้ยานี้ได้แต่ต้องไม่พบการตกค้างของยานี้ โดยมีความผิดตามมาตรา 60 โทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ของพรบ.อาหาร พ.ศ.2522 ส่วนของยาด็อกซีไซคลิน พบ 21 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 33.87 ส่วนอีก 36 ตัวอย่างไม่พบยาปฏิชีวนะทั้งสามกลุ่ม ขณะที่ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) บอกว่า ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในสัตว์ มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์คือ การดื้อยา แพ้ยา และอาการไม่พึ่งประสงค์ดังนี้

กลุ่ม 1 อันตรายจาก เอนโรฟลอคซาซิน จะทำให้มีอาการอาเจียน ท้องเสียในบางรายที่ใช้ยาตัวนี้สูงกว่าขนาดที่แนะนำ 10 เท่า ทำให้กระดูกอ่อนตามข้อต่างๆ เกิดความเสียหายจากผลของยา

กลุ่ม 2 อันตรายจากยา ด็อกซีไซคลิน จะทำให้ฟันมีสีคล้ำ สามารถพบเห็นในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ / มีอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร และมีผื่นคันบริเวณผิวหนัง

กลุ่ม 3 อะม็อกซีซิลลิน จะทำให้เกิดผื่นคัน ลมพิษ หรือมีอาการหอบหืด หากพบอาการหายใจมีเสียงหวีด (อาการของหอบหืด) 
 

ทั้งนี้ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเสนอว่า ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต้องปรับปรุงมาตรฐานการตกค้างให้ยอมรับได้น้อยที่สุด และต้องเข้มงวดและติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ให้ตกค้างเกินกำหนดเพราะ ส่วนมากตอนนี่ยังมีฟาร์มเลี้ยงไก่ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเจริญเติบโต และ รักษาโรคของไก่ในปริมาณที่มาก ส่วนที่นำไปประกอบอาหารแล้วจะส่งผลต่อผู้บริโภคหรือไม่ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

 

สะพรึง! เปิดผลสำรวจ สุ่มตรวจ "เนื้อไก่-ตับไก่" พบยาปฏิชีวนะสารตกค้างอื้อ! หวั่นเกิดเชื้อดื้อยาจากสัตว์สู่คน (รายละเอียด)

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค , nationtv