ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย

 

     จากกรณี “เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย” ที่ประเทศลาวในแขวงอัตตะปือแตก เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 ก.ค. 2561 ทำให้ชาวลาวในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ซึ่งเหตุการณ์เขื่อนแตกในประเทศลาวครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก สำนักข่าวทีนิวส์ได้สืบค้นข้อมูลย้อนหลังดูประวัติศาสตร์เขื่อนแตกที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในโลกใบนี้ ซึ่งก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าเขื่อน และลักษณะของเขื่อนกันก่อน

เขื่อน คือสิ่งก่อสร้างที่สร้างขวางแนวการเคลื่อนที่ของน้ำ เช่น แม่น้ำ เพื่อทำให้น้ำไหลช้าลง ซึ่งมักจะก่อให้เกิดแหล่งเก็บน้ำ หรือ ทะเลสาบ เขื่อนส่วนมากมักจะมีส่วนที่เรียกว่า “ช่องทางระบายน้ำ” หรือ “ประตูระบายน้ำ” เพื่อปล่อยให้น้ำไหลผ่านเป็นช่วงๆ หรืออย่างต่อเนื่อง และหลายๆ เขื่อนก็มักจะมีการติดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำอีกด้วย

เขื่อนถูกพิจารณาว่า เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีปัจจัยอันตรายโดย กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการทำลายล้างชีวิตพลเรือนและสิ่งแวดล้อมเมื่อเขื่อนแตก เหตุการณ์เขื่อนแตกนั้น เมื่อเทียบกับเหตุอื่นๆ แล้ว จัดได้ว่าเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่เมื่อเกิดแล้วก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง


โดยเหตุการณ์เขื่อนแตกครั้งใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในแถบเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเหตุเขื่อนแตกที่สร้างความเสียหายมากที่สุด คือ เหตุเขื่อนปั่นเฉียวและเขื่อนชิมานตันแตก ที่มณฑลเหอหนาน ทางตอนกลางของจีน ในเดือน สิงหาคม ปี 1975 ส่งผลให้ประชาชนกว่า 1 แสน 7 หมื่นคนเสียชีวิตและประชาชนกว่า 11 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัยโศกนาฏกรรมดังกล่าวเพิ่งได้รับการเปิดเผย โดยหนังสือพิมพ์ China Daily เมื่อปี 1999 เท่านั้น ทั้งที่เกิดเหตุมานานถึง 24 ปีแล้วก็ตาม

เดือนสิงหาคม ปี 1998 ที่มณฑลเหอเป่ย์ ติดกับมณฑลเหอหนาน เขื่อนที่ ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำแยงซี ความยาวกว่า 700 เมตรได้แตก น้ำท่วมทะลัก ประชาชน รวมถึงทหาร เสียชีวิตรวม 500 คน

สิงหาคม ปี 1979 ในประเทศอินเดีย ฝนที่ตกลงมาต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วรัฐคุชราต ทางตะวันตกของประเทศ ส่งผลให้เขื่อนในเมืองมอร์วีแตก ทำให้ประชาชนราว 1 พัน 3 ร้อยคนเสียชีวิต แต่อันที่จริง ยอดอย่างไม่เป็นทางการสูงถึง 2 หมื่น 5 พันคน

ชาติตะวันตกเอง ก็เคยเผชิญกับเหตุเขื่อนแตกรุนแรงเช่นกันเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2005 ที่เมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา ของสหรัฐฯ พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา พัดถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนาของสหรัฐฯ ซึ่งนอกจากจะสร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง 233,000 ตารางกิโลเมตร หรือเทียบเท่าเกาะบริเวนใหญ่ทั้งเกาะ แต่ยังทำให้เขื่อนกั้นน้ำแม่น้ำมิสซิสซิปปีแตกอีกด้วย มวลน้ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ไหลท่วมบ้านเรือน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,100 คน
 

 

 

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย

 

 

นอกจากนั้นเหตุการณ์เขื่อนแตกยังเคยเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง โดยจะได้หยิบยกมาพูดถึงอีก10 รายชื่อ ดังนี้

1. ปี 1864 เขื่อน Dale Dike Reservoir ที่ เซาท์ยอร์คเชียร์ ประเทศอังกฤษ สาเหตุเกิดจากความผิดพลาดในขั้นตอนการก่อสร้าง จุดรั่วเล็กๆ ในผนังเขื่อนขยายขนาดจนเขื่อนแตก

 

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย

ที่มาภาพ en.wikipedia.org/wiki/Dale_Dike_Reservoir

 

2. ปี 1889 เขื่อน South Fork Dam ที่ จอห์นสทาวน์  เพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา สาเหตุประชาชนในท้องถิ่นเชื่อว่าเกิดจากการซ่อมบำรุงที่แย่ ในขณะที่ศาลตัดสินว่าเป็นเหตุสุดวิสัยทางธรรมชาติประกอบด้วยการที่ฝนตกอย่างหนักเกินกว่าที่ได้คาดการณ์เอาไว้

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย


ที่มาภาพ en.wikipedia.org/wiki/South_Fork_Dam

 

3. ปี 1890 เขื่อน Walnut Grove Dam ที่ วิกเกนเบิร์ก แอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา สาเหตุหิมะและฝนที่ตกอย่างหนัก ตามด้วยการร้องขอให้มีการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างฝั่งตะวันออกของหัวหน้าวิศวกรของเขื่อน

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย

ที่มาภาพ apcrp.org

4. ปี 1916 เขื่อน Desn? Dam ที่ เดสนา, ออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐเช็ก) สาเหตุความผิดพลาดของการก่อสร้างจนทำให้เขื่อนแตก

 

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย

ที่มาภาพ www.fi.muni.cz

 

5. ปี 1928 เขื่อน St. Francis Dam ที่วาเลนเซีย, แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา สาเหตุความไม่มีเสถียรภาพเชิงภูมิศาสตร์ของแนวฝาซึ่งตรวจสอบไม่พบ เพราะการขาดแคลนวิทยาการในยุคนั้น รวมถึงความผิดพลาดของผู้สำรวจในการประเมินว่าการขยายตัวของรอยแตกนั้นเป็นระดับ “ธรรมดา” สำหรับเขื่อนชนิดนั้น

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย


ที่มาภาพ wikipedia.org/wiki/St._Francis_Dam


 

6. ปี 1959 เขื่อน Malpasset ที่ โกตดาซูร์ ประเทศฝรั่งเศส สาเหตุมีความเป็นไปได้ว่ามาจากความล้มเหลวเชิงภูมิศาสตร์ที่เกิดจากการใช้ระเบิดในระหว่างการก่อสร้าง

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย


ที่มาภาพ wikipedia.org/wiki/Malpasset_Dam

 

7. ปี 1963 เขื่อน Baldwin Hills Reservoir ที่ สหรัฐอเมริกา สาเหตุการยุบตัวของพื้นดินอันเนื่องมาจากการขุดเจาะน้ำมันในบริเวณใกล้เคียง

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย


ที่มาภาพ wikipedia.org/wiki/Baldwin_Hills_Dam_disaster

 

8. ปี 1963 เขื่อน Vajont Dam ที่ ประเทศอิตาลี สาเหตุการเติมน้ำลงเขื่อนก่อให้เกิดภูเขาถล่มลงแห่งน้ำและก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดยักษ์ อันมีเหตุมาจากการประเมินเสถียรภาพเชิงภูมิศาสตร์ที่ผิดพลาด

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย

 

ที่มาภาพ wikipedia.org/wiki/Vajont_Dam

 

9. ปี 1972 เขื่อน Buffalo Creek Flood  ที่ เวสท์เวอร์จิเนีย, สหรัฐอเมริกา สาเหตุเขื่อนที่บริษัทเหมืองถ่านหินในพื้นที่สร้างขึ้นนั้นไม่เสถียรเพียงพอและพังทลายเมื่อเกิดฝนตกหนัก

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย


ที่มาภาพ wikipedia.org/wiki/Buffalo_Creek_flood

 

10. ปี 1976 เขื่อน Teton Dam ที่ไอดาโฮ, สหรัฐอเมริกา สาเหตุการรั่วไหลของน้ำบริเวณแนวกำแพงตะวันออก ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลาย

 

ย้อนประวัติศาสตร์ 10 เขื่อนแตกจากทั่วมุมโลก วินาศสันตะโรตายนับแสน บทเรียน เซเปียน-เซน้ำน้อย
ที่มาภาพ wikipedia.org/wiki/Teton_Dam