รพ. มหาราชเมืองคอน ร่วม มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ จัดโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยการผ่าตัด

รพ. มหาราชเมืองคอน ร่วม มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จัดโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยการผ่าตัดและใช้สายสวนหัวใจ

วันที่ 9 ส.ค.  2561 นายแพทย์ไพศาล เกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชและนายแพทย์วันชัย ขจรวัฒนากุล รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชร่วมต้อนรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ธนะรัตน์ ลยางกูร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และคณะออกหน่วยตรวจเด็กโรคหัวใจ   ตามโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ด้วยการผ่าตัดและใช้สายสวนหัวใจ ณ ห้องประชุมยุคลฑิฆัมพร  ชั้น5   อาคารเฉลิมพระบารมี โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

รพ. มหาราชเมืองคอน ร่วม มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ จัดโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยการผ่าตัด

ในปีหนึ่งๆ ประเทศไทยมีเด็กเกิดเป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดกว่า 7,000-8,000 คน (ร้อยละ 0.8 – 1.0 ของการเกิดมีชีวิต มีโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด) และโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ที่สามารถป้องกันได้ เช่น เกิดจากมารดาที่มีเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ในช่วง 3- 4 เดือนแรก อีกร้อยละ 95 ไม่ทราบสาเหตุ จำนวนเด็กเกิดใหม่ที่เป็นโรคหัวใจร้อยละ 50 หรือกว่า 3,500 คน ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด หรือ ใช้สายสวนหัวใจ ร้อยละ 20 ต้องได้รับการผ่าตัดภายในอายุ 1 ปี หรือบางรายภายใน 1 เดือน มิฉะนั้นจะเสียชีวิตหรือผ่าตัดไม่ได้

รพ. มหาราชเมืองคอน ร่วม มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ จัดโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยการผ่าตัด

รพ. มหาราชเมืองคอน ร่วม มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ จัดโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยการผ่าตัด

รพ. มหาราชเมืองคอน ร่วม มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ จัดโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยการผ่าตัด

 

ปัจจุบันสถาบันที่ผ่าตัดเด็กโรคหัวใจมีจำนวนจำกัด ได้แก่ คณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งต้องทำการผ่าตัดทั้งผู้ใหญ่และเด็ก และโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขรวมทั้งโรงพยาบาลเอกชน ทั้งประเทศสามารถผ่าตัดเด็กได้ปีละไม่เกิน 2,500 คน เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงกับเด็กเล็กและเด็กเกิดใหม่ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ ทำให้ต้องรอคอยการผ่าตัดเป็นเวลานาน และมีส่วนหนึ่งได้เสียชีวิตไป ส่วนที่รอคอยก็ยิ่งมีจำนวนสะสมเพิ่มขึ้นทุกปี ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของเด็กผู้ป่วยโรคหัวใจ คือ ร้อยละ 20 เป็นผู้พิการซ้ำซ้อน จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีเด็กโรคหัวใจในชนบทอีกมากที่ยังไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษา บางรายยังไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจ จากปัญหาดังกล่าว  มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลและสถาบันต่างๆ ที่สามารถผ่าตัดเด็กโรคหัวใจได้ ดำเนินโครงการผ่าตัดเด็กโรคหัวใจนอกเวลาราชการขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในครั้งนี้มีเด็กเข้าร่วมกิจกรรมที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชจำนวนทั้งสิ้น 100 ราย นายแพทย์วันชัย ขจรวัฒนากุล รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

   รพ. มหาราชเมืองคอน ร่วม มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ จัดโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยการผ่าตัด

รพ. มหาราชเมืองคอน ร่วม มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ จัดโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยการผ่าตัด

ขอบคุณภาพ/งานประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลมหาราชมหาราชนครศรีธรรมราช   

ภาพ/ข่าว  นรศักดิ์  สานุจิตต์   ผู้สื่อข่าวภูมิภาค  สำนักข่าวทีนิวส์ จ.นครศรีธรรมราช