สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดสร้างร้านกาแฟขึ้นและพระราชทานชื่อว่า “ร้านกาแฟชายทุ่ง”

สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ทำความรู้จัก ร้านกาแฟชายทุ่ง สู่โครงการพระราชดำริ

 

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดสร้างร้านกาแฟขึ้นและพระราชทานชื่อว่า “ร้านกาแฟชายทุ่ง” ซึ่งตั้งอยู่ ภายในพื้นที่โครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรชุมชนเมือง ในพื้นที่ดินเปรี้ยวถนนรังสิต-นครนายก คลอง 4 ต.บึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โดยได้เปิด ให้บริการอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2561 มีพระเทพรัตนสุธี เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต (พระอารามหลวง) เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำบุญเปิดร้านกาแฟชายทุ่ง และรองราชเลขานุการ กองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

 

    เจ้าหน้าที่กองงานร้านกาแฟชายทุ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างอาคารโดยพระราชทานชื่อว่า “ร้านกาแฟชายทุ่ง” บนเนื้อที่ 19 ไร่ โดยจำหน่ายผลิตภัณฑ์กาแฟจากโครงการตามพระราชดำริเพื่อพัฒนาเกษตรที่สูงภูพยัคฆ์ จ.น่าน ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 รวมถึงเครื่องดื่มต่างๆ เบเกอรี่ ขนมหวาน พร้อมที่นั่งสำหรับรับประทาน

 

 

สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ทำความรู้จัก ร้านกาแฟชายทุ่ง สู่โครงการพระราชดำริ

 

    พื้นที่ทั้งหมดแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันประกอบไปด้วย โซนแรกเนื้อที่ 4 ไร่ เป็นสถานที่จอดรถ และร้านกาแฟชายทุ่งซึ่งเป็นอาคารสีขาวชั้นเดียวเป็นร้านกาแฟขนาดกะทัดรัด และบริเวณโดยรอบยังมีบ่อปลา แปลงผักสวนครัว โซนที่สองเนื้อที่ 4 ไร่ เป็นแปลงนาสาธิต โซนที่สามเป็นที่ดินเปล่า 11 ไร่ 

 

 

สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ทำความรู้จัก ร้านกาแฟชายทุ่ง สู่โครงการพระราชดำริ

 

    ทั้งนี้ได้ทำโครงการศูนย์เรียนรู้เกษตรชุมชนเมืองในพื้นที่ดิน ตามพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดในวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2561
 

    ภายในร้านถูกประดับด้วยพระบรมฉายาลักษณ์พระฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ พร้อมกับป้ายสีทองที่ระบุว่า "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดสร้างอาคารนี้ พระราชทานชื่อว่า ร้านกาแฟชายทุ่ง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2561"

 

 

สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ทำความรู้จัก ร้านกาแฟชายทุ่ง สู่โครงการพระราชดำริ

    นอกเหนือกาแฟจากโครงการตามพระราชดำริ ยังมีเครื่องดื่มตามสมัยนิยม เช่น ชาไทย, ชาเขียวมัทฉะ, นมสด, นมชมพู, ชามะนาว พร้อมเสริฟคู่กับของหวานเค้กเบเกอรี่ ทางร้านจะใช้ระบบแจกบัตรคิวเพื่อให้เป็นระเบียบและให้ทุกคนมีโอกาสซื้อกาแฟอย่างทั่วถึง โดยบัตรคิว 1 ใบ สามารถซื้อกาแฟได้ 2 แก้วนม 1 ชิ้น พร้อมของฝากซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค

 

 

สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ทำความรู้จัก ร้านกาแฟชายทุ่ง สู่โครงการพระราชดำริ

 

    จากการลงพื้นที่ของสำนักข่าวทีนิวส์พบว่า “ร้านกาแฟชายทุ่ง" ได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง บางคนออกเดินทางมาแต่เช้าแต่ปรากฏว่าไม่มีบัตรคิว ก็รู้สึกผิดหวัง แต่ยืนยันจะกลับมาใหม่อีกครั้ง ในฐานะที่เป็นประชาชนคนไทยการได้มีโอกาสมาใช้บริการร้านกาแฟแห่งนี้ ก็คล้ายกับเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีทางหนึ่ง 

 

    “ร้านกาแฟชายทุ่ง” เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 7.30 – 17.30 น. หากเดินทางจากกรุงเทพฯ ให้ตรงไปยังจังหวัดปทุมธานี วิ่งเขาไปยังเส้นทางถนนรังสิต-นครนายก จากนั้นขับตรงไปตามป้ายบอกทางที่จะไปโครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรชุมชนเมืองในพื้นที่ดินเปรี้ยว ต.บึงยี่โถ จะอยู่ใกล้กับตลาดสินทรัพย์พลาซ่า

 

 

สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ทำความรู้จัก ร้านกาแฟชายทุ่ง สู่โครงการพระราชดำริ

 

    ทุกโครงการพระราชดำริล้วนมาจาก "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" ที่ทรงพระราชทานทรัพย์เพื่อเป็นประโยชน์และแบบอย่างในการใช้ชีวิตที่ อยู่บนพื้นฐานของความ "พอเพียง"

โดย การจัดการทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ แบ่งทรัพย์สินออกเป็นสองประเภท ได้แก่ 

 

1.ทรัพย์สินส่วนพระองค์ หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และทรัพย์สินที่ทรงได้มาอันเป็นการส่วนพระองค์ รวมทั้งดอกผล  

2.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์

 

แต่จาก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดได้มีข้อแตกต่างที่สำคัญจากกฎหมายเดิม ได้แก่

 

1.ประธานกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 ฉบับที่ถูกแก้ไขในปี 2491 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  แต่กฎหมายใหม่แก้ไขให้ ประธานกรรมการและกรรมการอื่นมาจากการแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย 

2. ยุบ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” รวมกับ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ตามกฎหมายเดิม มีระบบทรัพย์สินประเภทหนึ่ง เรียกว่า “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง แต่กฎหมายใหม่แก้ไขให้ยกเลิกระบบ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” แล้ว และให้พระราชวัง หรือทรัพย์สินอื่นในประเภทนี้ไปรวมกับ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
 
3. เปลี่ยนหลักการเสียภาษี ตามกฎหมายเดิม เขียนว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากร เช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน แต่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ย่อมไม่อยู่ในข่ายแห่งความยกเว้น ซึ่งหมายความว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด แต่ทรัพย์สินส่วนพระองค์โดยหลัก "ต้องเสียภาษี" ยกเว้นจะมีกฎหมายใดมายกเว้นเป็นการเฉพาะ 
 

    แต่กฎหมายใหม่แก้ไขเป็นว่า ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ทุกประเภทจะต้องเสียภาษีอากรหรือได้รับยกเว้นภาษีอากรย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แปลว่า หลักการเดิมที่ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องเสียภาษีเป็นหลัก ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องเสียภาษีเป็นหลัก ถูกยกเลิกไป โดยเรื่องใดจะต้องเสียภาษีหรือไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง