กำหนดการ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" เปิดที่มา "น้ำอภิเษก" ใช้น้ำจากสถานที่ต่างกันกว่า 18 แห่ง

วันนี้ 4 ม.ค. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีชี้แจง รายละเอียด ก่อนการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 4-6 พ.ค. 2562 ช่วงการพระราชพิธี และ หลังพระราชพิธี ว่าก่อนการพระราชพิธี คำที่ถูกต้องจะต้องมีพระราชพิธีในการเสกน้ำ อาจเป็นช่วงวันที่ 24 เม.ย.

กำหนดการ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" เปิดที่มา "น้ำอภิเษก" ใช้น้ำจากสถานที่ต่างกันกว่า 18 แห่ง

 

วันนี้ 4 ม.ค. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีชี้แจง รายละเอียด ก่อนการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 4-6 พ.ค. 2562 ช่วงการพระราชพิธี และ หลังพระราชพิธี ว่าก่อนการพระราชพิธี คำที่ถูกต้องจะต้องมีพระราชพิธีในการเสกน้ำ อาจเป็นช่วงวันที่ 24 เม.ย. แต่ก่อนจะเสกน้ำ "น้ำอภิเษก" ไม่ใช่น้ำอะไรก็ได้ จะต้องมีการได้มาซึ่งน้ำ มีขั้นตอน 76 จังหวัด และจึงมีพระราชพิธีเสกน้ำที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และจะต้องมีพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ หมายถึงชื่อพระเจ้าอยู่หัว เขียนลงในแผ่นทองคำถ้ามีการสถาปนาพระราชวงศ์พระองค์อื่น ก็ต้องจารึกในสุพรรณบัฏด้วย

ซึ่งต้องปฏิบัติที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเช่นกัน เป็นพิธีเสด็จพระราชดำเนิน หรือ ผู้แทนพระองค์ ใช้เวลา 3 วัน จากนั้น จะมีพิธีอัญเชิญพระสุพรรณบัฏ เข้าไปสู่พระที่นั่งฯ และจะมีพระราชพิธีถวายสักการะพระบรมอัฐิ พระบรมราชบุพการี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 และอีก 1 วัน เป็นพระราชพิธีประกาศการพระบรมราชาภิเษก เป็นพระราชพิธีที่จะเสด็จพระราชดำเนิน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดก่อนวันที่ 4 พ.ค.

กำหนดการ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" เปิดที่มา "น้ำอภิเษก" ใช้น้ำจากสถานที่ต่างกันกว่า 18 แห่ง

 

สำหรับวันที่ 4 พ.ค. เป็นวันบรมราชาภิเษก อธิบายให้เข้าใจง่ายคือวันสวมมงกุฎ ต่อมาวันที่ 5 พ.ค. เป็นวันพระราชพิธีในการสถาปนา พระราชวงศ์ และเสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค ส่วนการเลียบพระนครคือการขึ้นประทับบนพระราชญาณ มีริ้วขบวนเสด็จแห่ไปยังพระอุโบสถเพื่อทรงสักการะ ส่วนจะเป็นวัดใด ต้องรอประกาศ และวันที่ 6 พ.ค. จะมีพิธีเสด็จออกสีหบัญชร ให้ประชาชนเฝ้าฯ คล้ายกับที่เคยเห็นรัชกาลที่ 9 เสด็จออกพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วจึงเสด็จเข้าไปสู่พระที่นั่งจักกรีมหาปราสาทให้คณะทูตเฝ้าฯ ส่วนวันที่ 7 – 11 พ.ค. เป็นพิธีของประชาชนและรัฐบาล ส่วนจะจัดอะไรบ้าง รอคณะกรรมการ ที่นายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้ตั้งขึ้น ประชุมหารือก่อน และวันที่15 – 18 พ.ค. จะมีกิจกรรมจิตอาสาน้อมถวายทั่วประเทศ

ทั้งนี้การบรมราชาภิเษกทุกครั้งที่ผ่านมา จะมี 3 ขั้นตอน คือขั้นตอนก่อนมีพระราชพิธี พระราชพิธี และหลังพระราชพิธี ส่วนการเสด็จทางชลมารค จะมีขึ้นเมื่อถวายพระกฐิน ซึ่งจะอยู่ในขั้นตอนหลังงานพระราชพิธี สำหรับคณะกรรมการจะประชุมอาทิตย์หน้าก่อนจะกราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานคณะจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อไป

"น้ำอภิเษก" นั้น นับแต่รัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนอกจากจะใช้น้ำจากแหล่งเดียวกันกับในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ยังมีการนำจากแม่น้ำสายสำคัญอีก 5 สายด้วยกัน ที่เรียกกันว่า "เบญจสุทธิคงคา" ซึ่งตักมาจากเมืองต่างๆ ดังนี้

กำหนดการ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" เปิดที่มา "น้ำอภิเษก" ใช้น้ำจากสถานที่ต่างกันกว่า 18 แห่ง

1. น้ำในแม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าไชย จังหวัดเพชรบุรี
2. น้ำในแม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดาวดึงส์ จังหวัดสมุทรสงคราม
3. น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่บางแก้ว จังหวัดอ่างทอง
4. น้ำในแม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ จังหวัดสระบุรี
5. น้ำในแม่น้ำบางประกง ตักที่ตำบลพระอาจารย์ จังหวัดนครนาย

โดยน้ำแต่ละแห่งจะตั้งพิธีเสก ณ ปูชนียสถานสำคัญแห่งเมืองนั้น เมื่อเสร็จพิธีแล้วจึงจัดส่งเข้ามาทำพิธีการต่อที่พระนคร กระทั่งล่วงเลยเข้าสู่รัชสมับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ยังได้ตักน้ำจากแหล่งอื่นๆ และแม่น้ำตามมณฑลต่างๆ ที่ถือว่าเป็นแหล่งสำคัญและเป็นสิริมงคล มาตั้งทำพิธีเสกน้ำพุทธมนต์ ณ พระมหาเจดียสถานที่เป็นหลักพระมหานครโบราณ 7 แห่ง และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ตั้งพิธีทำน้ำอภิเษกที่หัวเมืองมณฑลต่างๆ รวม 18 แห่ง ซึ่งสถานที่ตั้งทำน้ำอภิเษกในรัชกาลนี้ใช้สถานที่เดียวกันกับในสมัยรัชกาลที่ 6

 

กำหนดการ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" เปิดที่มา "น้ำอภิเษก" ใช้น้ำจากสถานที่ต่างกันกว่า 18 แห่ง

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้นำน้ำตามมณฑลต่างๆ 18 แห่ง เช่นเดียวกันกับในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่เปลี่ยนสถานที่จากพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ มาตักน้ำบ่อแก้ว และทำพิธีเสกน้ำที่พระธาตุแช่แห้ง ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญในจังหวัดน่านแทน ทั้งนี้น้ำอภิเษกส่วนหนึ่งมาเจือกับน้ำสำหรับสรงมูรธาภิเษก ซึ่งเป็นน้ำที่เจือด้วยน้ำจากปัญจมหานทีในอินเดีย ได้แก่แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี สรภู มหิ และจากปัญจสุทธคงคาซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญทั้ง 5 ของไทย คือแม่น้ำเจ้าพระยา (ตักที่ตำบลบางแก้ว จังหวัดอ่างทอง), แม่น้ำเพชรบุรี (ตักที่ตำบลท่าชัย จังหวัดเพชรบุรี), แม่น้ำราชบุรี (ตักที่ตำบลดาวดึงส์ จังหวัดสมุทรสงคราม), แม่น้ำป่าสัก (ตักที่ตำบลท่าราบ จังหวัดสระบุรี) และแม่น้ำบางปะกง (ตักที่ตำบลบึงพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก)