กางแผ่กฏหมายพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 92 หนทางสู่ความวิบัติของ "ไทยรักษาชาติ"

สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้มีการพิจารณากรณีการกระทำของพรรคไทยรักษาชาติที่เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

กางแผ่กฏหมายพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 92 หนทางสู่ความวิบัติของ "ไทยรักษาชาติ"

 

สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้มีการพิจารณากรณีการกระทำของพรรคไทยรักษาชาติที่เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ว่าเข้าข่ายผิดมาตรา 92 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 หรือไม่ ซึ่งล่าสุดที่ประชุมได้มีมติให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าสมควรยุบพรรคไทยรักษาชาติหรือไม่

ทั้งนี้ ที่ประชุม กกต.เห็นว่าตามพระราชโองการ ประกาศสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2562 และหนังสือการแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคหรือแบบส.ส.4/29 รวมถึงหนังสือยินยอมให้เสนอชื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หรือแบบส.ส.4/30ซึ่งพรรคไทยรักษาชาติ ยื่นต่อ กกต.ถือเป็นพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคไทยรักษาชาติ กระทำการดังกล่าวเป็นเหตุให้ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสั่งยุบพรรค และขณะนี้ได้ให้ สำนักงานฯยกร่างคำร้อง เพื่อที่จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในวันเดียวกันนี้
 

กางแผ่กฏหมายพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 92 หนทางสู่ความวิบัติของ "ไทยรักษาชาติ"

กางแผ่กฏหมายพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 92 หนทางสู่ความวิบัติของ "ไทยรักษาชาติ"

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ กกต. มีแนวทาง ว่าจะให้มีการตั้งคณะกรรมการไต่สวน ขึ้นมาดำเนินการตรวจสอบ และรวบรวม พยานหลักฐานก่อน แต่ การประชุมพิจารณาในวันนี้ เห็นว่า ตามมาตรา 92 ( 2)พ.ร.ป.พรรคการเมือง ใช้คำว่า "เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองใดกระทำการ ดังกล่าวให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น" ซึ่งหลักฐาน ที่ปรากฏต่อกกต.ในขณะนี้ถือว่าเพียงพอวินิจฉัย ประกอบกับเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญที่ควรจะมีความชัดเจนโดยเร็ว จึงได้มีมติดังกล่าว

ทั้งนี้ มาตรา 92 ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า
เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น
(1) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
(2) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(3) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 20 วรรคสอง มาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 36 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 72 หรือมาตรา 74
(4) มีเหตุอันจะต้องยุบพรรคการเมืองตามที่มีกฎหมายกำหนด
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการไต่สวนแล้ว มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองกระทำการตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น

กางแผ่กฏหมายพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 92 หนทางสู่ความวิบัติของ "ไทยรักษาชาติ"

อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากประเด็นดังกล่าวยังมี ข้อสังเกตที่ กกต. ควรตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อชี้ชัดว่าาใครใน​ ทษช.เป็นผู้ทูลเชิญฯ​ คนในพรรค? หรือ​ คนบงการพรรค? โดยสามารถเรียงลำดับเป็นข้อๆดังต่อไปนี้

(1) 12​ กพ.​ 2562​ กกต.ไม่ประกาศ​ "พระนาม"

(2) เท่ากับ​ กกต.​ ยืนยันว่าการเสนอ​ "พระนาม" ของ​พรรคทษช.​ เป็นการกระทำที่มิบังควร​ ขัดพระราชประเพณี​ ตามพระราชโองการ

(3) 12​ กพ.​ 2562​ กกต.ตั้งกรรมการสอบ "ยุบพรรค" ทษช​ ตามที่มีผู้ร้องเรียน

(4) การสอบสวนของ​ กกต.ต้องให้ประจักษ์ชัดว่าใครในพรรค​ ทษช.? ที่เป็นผู้ทูลเชิญ​ฯ​ และกระทำสิ่งที่ไม่บังควร​ (และน่าจะมีความผิดทางอาญาแผ่นดินด้วยหรือไม่?)​

(5) ตามมาตรา 28  บัญญัติว่า "ห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอมหรือกระทำการใดอันทำให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิก กระทำการอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่า โดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม"

(5) ซึ่ง​รายชื่อ หัวหน้าพรรค​ และ​ กก.บ​ห.พรรค​ ทษช. ก็ล้วนเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่​ ยังไม่น่าจะมีบารมีถึงขึ้นไปทูลเชิญฯ​ได้

(6) ถามว่า​คนที่ไปทูลเชิญฯเป็นคนในพรรค​ ทษช.​ หรือ​เป็นคนนอกพรรคที่เข้ามาควบคุม​ ครอบงำ​ ชี้นำ​ พรรค

(7) ถ้าเป็นคนนอกพรรค​ ก็เข้าข่าย​ผิด​ ม.28​ กกต.​สามารถ​ "ยุบพรรค" ได้

(8) หรือถ้าจะมีใคร​ในพรรค​จะ "สละชีวิต" อาสารับแทนคนบงการ​ ก็ลองทบทวนศึกษากรณีตัวอย่างอย่าง​ "บุญทรง" ให้ถ้วนถี่