ดร.ธรณ์ ให้ความรู้ที่มาของ "อ้วกวาฬหรืออำพันทะเล" ราคาแพงและพบเจอได้ยากมาก!

ดร.ธรณ์ ให้ความรู้ที่มาของ "อ้วกวาฬหรืออำพันทะเล" ราคาแพงและพบเจอได้ยากมาก!

จากกรณีข่าวฮือฮา นายบุญยศ ตาละอุปะระ เจ้าของร้านเบริลบาร์ เปิดเผยว่า ตัวเองพบวัตถุปริศนาบริเวณอ่าวกากี เขาแหลมใหญ่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี คาดว่าน่าจะเป็นอ้วกวาฬ ซึ่งวัตถุดังกล่าวมีขนาดใหญ่และหนักกว่า 10 กิโลกรัม 

การค้นพบที่เกิดขึ้นนี้สร้างความฮือฮาให้กับสังคม เนื่องจากมีข้อมูลรายงานว่าหากเป็นอ้วกวาฬหรืออำพันทะเล มูลค่าของมันสูงถึงหลักล้านบาทเลยทีเดียว

 

ดร.ธรณ์ ให้ความรู้ที่มาของ "อ้วกวาฬหรืออำพันทะเล" ราคาแพงและพบเจอได้ยากมาก!

 

ล่าสุดวันที่ 1 มี.ค. 2562 บนเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ซึึ่งเป็นของ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับอ้วกวาฬเอาไว้ ระบุ

เช้านี้เราคุยกันเรื่องอำพันทะเล (อ้วกวาฬ) เผอิญมีพี่ที่เกาะสมุยเจอบนชายหาด เลยสงสัยว่าราคาแพงจริงหรือเปล่า 

อำพันทะเลเกิดจากวาฬชนิดเดียวคือวาฬสเปิร์ม (วาฬหัวทุย) วาฬชนิดนี้มีรายงานว่าพบในเมืองไทยบ้าง แต่น้อย วาฬสเปิร์มกินหมึกกล้วยยักษ์เป็นอาหาร แต่ย่อยปากหมึกไม่ได้วาฬสเปิร์มบางตัวจึงปล่อยสารไขมันบางอย่างมาเคลือบไว้ เมื่อเวลาผ่านไปก้อนอำพันในท้องใหญ่ขึ้น จนอาจมีขนาดถึง 50 กิโล

 

ดร.ธรณ์ ให้ความรู้ที่มาของ "อ้วกวาฬหรืออำพันทะเล" ราคาแพงและพบเจอได้ยากมาก!

 

สังเกตคำว่าบางตัว เพราะไม่ใช่ทุกตัวที่มีอำพันทะเล ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ระบุว่าวาฬสเปิร์มแค่ 1% ที่มีก้อนอำพันจะอยู่ในตัววาฬจนตาย เมื่อวาฬเน่า จะหลุดออกมาเนื่องจากเป็นก้อนไขมัน จะลอยน้ำไปเรื่อยๆ อาจลอยได้เป็นปี จึงไม่จำเป็นว่าอำพันก้อนนี้ต้องเป็นของวาฬในไทย อาจเป็นวาฬในทะเลจีนใต้หรือในมหาสมุทร

ช่วงแรกจะมีสีคล้ำและมีกลิ่นเน่าทั่วไปแต่เมื่อโดนแดดโดนลมมานาน กลิ่นจะเริ่มเปลี่ยน ก้อนอำพันจะกลายเป็นสีเหลืองหรือสีเทา กลิ่นเหม็นจะหายไป อำพันทะเลมีองค์ประกอบทางเคมีที่สามารถนำมาใช้ในวงการน้ำหอม ทำให้น้ำหอมติดนาน สมัยก่อนราคาแพงมาก ปัจจุบันมีการสังเคราะห์สารขึ้นมาแทน อย่างไรก็ตาม อำพันทะเลก็ยังแพงอยู่ดี

 

มีการประมูลขายจากผู้เจอ ก้อนขนาดหนึ่งกิโล ขายได้หลายแสนบาท ปกติเราจะเจอตามชายหาด แต่ต้องฟลุ๊คเจอไม่ใช่เรื่องง่าย

การพิสูจน์ทำได้โดยดูจากเศษปากหมึกในก้อนหรือวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี แน่นอนว่าก่อนขายคงต้องมีการพิสูจน์ แต่ดูจากภาพกับสิ่งที่พี่เขาบอกก็มีความเป็นไปได้ สำหรับข้อกฎหมาย วาฬสเปิร์มหรือวาฬหัวทุยเป็นสัตว์คุ้มครอง รวมทั้งซากด้วย ผมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแล้ว ซากในที่นี้ไม่น่าจะรวมถึงอำพันทะเล

สำหรับเพื่อนธรณ์ผู้อยากไปเดินหาอำพันทะเล พบได้ทั่วโลกครับ เพราะมันจะลอยไปเรื่อย ก่อนหน้านี้เมืองไทยก็เคยเจอ ผมจำได้ว่าน่าจะเป็แถวอันดามัน เคยให้สัมภาษณ์ไปแล้ว เมื่อข่าวออกไปคงมีบริษัทน้ำหอมติดต่อมาและเจรจากันครับ สำหรับเพื่อนธรณ์ที่เดินอยู่ริมทะเล อยากฟลุ๊คบ้าง ขอให้โชคดีนะจ๊ะ (ไม่มีคำแนะนำ เพราะถ้าหาง่าย อาจารย์ธรณ์ไปหาเองแล้วครับ)

 

ดร.ธรณ์ ให้ความรู้ที่มาของ "อ้วกวาฬหรืออำพันทะเล" ราคาแพงและพบเจอได้ยากมาก!

 

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับวาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหัวใหญ่และยาวมากเกือบร้อยละ 40 ของลำตัว ลำตัวสีเทาดำผิวหนังเป็นรอยย่นตลอดลำตัว ส่วนหน้าผากตั้งฉากตรงขึ้นจากปลายปากบน และเป็นแนวหักลาดไปทางส่วนหลัง ท่อหายใจรูเดียว อยู่ส่วนบนเยื้องไปด้านซ้ายของหัวครีบหลัง มีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาตั้งอยู่ค่อนไปทางท้ายลำตัว และมีสันเป็นลอน ๆ ไปจนเกือบถึงโคนหาง ครีบข้างค่อนข้างเล็กปลายมนเหมือนใบพาย ไม่มีครีบหลัง ขากรรไกรล่างแคบยาวและเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนหัว ฟันเป็นเขี้ยวจำนวน 16-30 คู่ บนขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบนไม่มีฟัน แต่จะมีช่องสำหรับรองรับฟันล่างเวลาหุบปากเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาจพบฟัน 10-16 คู่ ในกระดูกขากรรไกรบนของวาฬที่มีอายุมาก ๆ

นอกจากนี้แล้วบริเวณรอบ ๆ ปากจะเป็นสีขาว ซึ่งเชื่อกันว่าในที่ ๆ น้ำลึกสีขาวนี้จะเรืองแสงในความมืด ใช้เป็นเครื่องล่อเหยื่อต่าง ๆ ของวาฬสเปิร์ม

วาฬสเปิร์มตัวผู้มีขนาดโตเต็มวัยยาวประมาณ15เมตรถึง18เมตร วาฬสเปิร์มตัวเมียจะยาวประมาณ12เมตรถึง14เมตร ส่วนลูกแรกเกิดยาว 3.5-4.5 เมตร แม่วาฬใช้เวลาตั้งท้องนาน 16-17 เดือน ลูกจะอาศัยอยู่กับแม่เป็นเวลาประมาณ 13 เดือนเศษๆจึงแยกออกหากินอิสระ มีน้ำหนักประมาณ 28 ตัน อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และเป็นวาฬชนิดที่ดำน้ำได้ลึกที่สุด นอกจากนี้แล้ววาฬสเปิร์มยังเป็นวาฬชนิดที่ชอบกินหมึกเป็นอาหารมากที่สุด

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
    
-"นักดำน้ำ" โชคดี เจอ"ฉลามวาฬ"ยาว6เมตร กลางทะเลอันดามัน
-นิวซีแลนด์เจอฝูง ‘วาฬ’ เกยตื้น 51 ตัว หมดทางช่วย
-จนท.เกาะปิดะในดำน้ำทำงาน ฉลามวาฬตัวใหญ่โผล่ว่ายมาหากินแพลงตอนใกล้ๆ

 

ขอบคุณ Thon Thamrongnawasawat และ วิกิพีเดีย