ซึมเศร้า ไม่ใช่ โรคจิต  คนสนิทใกล้ชิด ต้องใส่ใจ พบ จิตแพทย์ รักษาหายได้

ซึมเศร้า ไม่ใช่ โรคจิต คนสนิทใกล้ชิด ต้องใส่ใจ พบ จิตแพทย์ รักษาหายได้

โรคซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้า ปัจจุบันมีผู้คนทั่วไปทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ป่วยด้วยโรคนี้กันเพิ่มมากขึ้น จนเป็นสาเหตุหนึ่งของการนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ช่วงที่ผ่านมามีข่าวการฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นกับนิสิต นักศึกษา กันค่อนข้างถี่ จะขอยก บทความ อ้างอิง โดย "ผศ. นพ. พนม เกตุมาน" จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่เขียนถึง อาการของโรคซึมเศร้า 1. อารมณ์ไม่สนุกสนาน ไม่ร่าเริงเหมือนเดิม ไม่มีความสุข เบื่อ ท้อแท้ เครียด หงุดหงิด และเศร้า 2. หมดความสนใจในสิ่งต่างๆ เบื่อสิ่งที่เคยทำแล้วสนุก มีความสุข ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากเจอใคร 3. เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก (หรือบางคนกินมากเพื่อให้หายเครียด จนน้ำหนักเพิ่มขึ้น) 4. นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ หรือตื่นเร็วกว่าเดิม 2-3 ชั่วโมงแล้วนอนต่อไปไม่ได้ (แต่บางคนนอนมากขึ้นเนื่องจากไม่อยากทำอะไร นอนแต่ก็ไม่หลับ)5. เหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร6. ความคิดช้า การเคลื่อนไหวช้า7. สมาธิความจำเสีย ตั้งใจทำงานไม่ได้ ลังเลตัดสินใจลำบาก8. คิดว่าตัวเองไร้ค่า ทำผิด ทำไม่ดี คิดต่อตัวเองไม่ดี 9.คิดอยากตายและฆ่าตัวตาย

ถ้าสงสัยว่าคนใกล้ชิดมีอาการของโรคซึมเศร้า ควรถามอาการ 9 ข้อนี้ ถ้ามี 5 ข้อขึ้นไป หรือมีข้อท้ายๆ คือรู้สึกผิด ไร้ค่า เบื่อชีวิต ให้สงสัยว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า และควรแนะนำให้มาบจิตแพทย์โดยเร็ว  อาการของโรคมักเริ่มจากเป็นน้อยๆ แต่อาจมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยมีหรือไม่มีสาเหตุจากการสูญเสียหรือความเครียดทางจิตใจก็ได้ ถ้ามีสาเหตุทางจิตใจ มักเป็นความเครียดในชีวิต เช่น ปัญหาการเรียน การทำงาน หรือความสูญเสียในชีวิต( เช่น สอบตก อกหัก คนรักเสียชีวิต หย่าร้าง ตกงาน)โรคซึมเศร้าพบได้บ่อย อาจเกิดหรือคนใกล้ชิดกับตัวเองก็ได้ ใครมีอาการหลายๆข้อของโรคซึมเศร้า เป็นหลายวันติดต่อกันหรืออาการมากขึ้นเรื่อยๆ ควรปรึกษาจิตแพทย์ที่ใกล้ที่สุดถ้าสงสัยว่าคนใกล้ชิดมีอาการโรคซึมเศร้า เช่น ซึมเฉย เงียบ ไม่พูดไม่จา เฉื่อยชา ช้า ทำอะไรผิดไปจากเดิมมากๆเรียนหรือทำงานไม่ได้ อารมณ์หวั่นไหวง่าย ควรสอบถามถึงอาการของโรคซึมเศร้า คนที่ซึมเศร้าจะรู้สึกดี อบอุ่นใจที่มีคนห่วงใย มีที่พึ่งพาได้ในยามรู้สึกทุกข์ใจ 

ซึมเศร้า ไม่ใช่ โรคจิต  คนสนิทใกล้ชิด ต้องใส่ใจ พบ จิตแพทย์ รักษาหายได้

คำแนะนำท้ายสุดคือการให้มาพบจิตแพทย์เพื่อรักษา การรักษาเร็วได้ผลดีกว่าการรักษาช้า โดยเฉพาะผู้ที่มีความคิดอยากตาย หรือคิดฆ่าตัวตาย การแนะนำให้รักษาจะเป็นเหมือนการช่วยชีวิตทีเดียวคนที่กำลังคิดฆ่าตัวตายนั้น บางทีแสดงออกเป็นพฤติกรรมบางอย่าง เหมือนการส่งสัญญาณเตือน เช่น 
กังวลง่าย และมากกว่าเดิม เครียดกับเรื่องเล็กน้อยถอดใจ ไม่สู้ ขอลาออก คิดว่าตนเองทำไม่ได้ เปรยๆให้คนใกล้ชิดฟัง เช่น “รู้สึกเบื่อจัง ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม” พูดเป็นเชิงฝากฝัง สั่งเสีย ลาออก ใครมีพฤติกรรมเหล่านี้ ควรสอบถามอาการของโรคซึมเศร้า ไปจนถึงข้อสุดท้าย คือ "ความคิดอยากตาย"ถ้าสงสัยว่ามีคิดฆ่าตัวตาย ควรถามเรื่องการฆ่าตัวตายหรือไม่ บางคนกลัวว่าการถามเรื่องการฆ่าตัวตาย จะไปกระตุ้นให้คนคิดฆ่าตัวตาย หรือเป็นการกระตุ้นคนที่คิดอยากตายอยู่แล้วให้ทำจริงๆ แต่ความจริงแล้วการถามอย่างถูกวิธี ไม่ได้กระตุ้นให้คิด หรือทำ และถ้าคนนั้นคิดจะทำอยู่แล้ว จะรู้สึกดีขึ้นจนไม่ฆ่าตัวตาย ถ้าสงสัยว่าจะมีความคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย ให้ถามนำเป็นขั้นบันได ดังนี้ เริ่มจากอาการเบื่อ ถ้ามีอาการเบื่อ ให้ถามต่อว่าอาการเบื่อนั้น มีมั้ยที่ถึงกับเบื่อชีวิต ถ้ามีเบื่อชีวิต เคยมีความคิดว่า ตนเองผิด ไร้ค่า ไม่เป็นประโยชน์ หรือเป็นภาระแก่คนอื่นมั้ย ถ้ามี ถามต่อว่า เคยเบื่อมากจนคิดอยากตายมั้ย
ถ้ามี เคยคิดฆ่าตัวตายมั้ย ถ้ามี ถามต่อว่าเคยทำบ้างมั้ย เมื่อไร ทำอย่างไร  คำถามท้าย ควรถามว่า อะไรที่ทำให้คุณยับยั้งใจ จนไม่ได้ทำ คำถามนี้จะแสดงปัจจัยป้องกันของคนนั้น เช่น คิดถึงพ่อแม่ คนสำคัญ ศาสนา ควรชมที่เขายั้งคิดได้ ถ้ามีความคิดอยากตายขึ้นมาอีก จะได้ใช้ความคิดนี้อีก
คนที่เป็นโรคซึมเศร้าบางคนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ จึงไม่ได้รักษา บางคนกลัวว่าการมาพบจิตแพทย์แสดงว่าเป็นโรคจิตโรคประสาท คนไทยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 100 คน มีน้อยกว่า 10 คนที่พบแพทย์และได้รับการรักษาด้วยยาอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายขึ้น แต่ถ้าได้รับการรักษา อาการซึมเศร้าลดลง ความคิดเรื่องการฆ่าตัวตายจะหายไป การรักษาจึงเป็นการป้องกันการฆ่าตัวตาย 
ซึมเศร้า ไม่ใช่ โรคจิต  คนสนิทใกล้ชิด ต้องใส่ใจ พบ จิตแพทย์ รักษาหายได้

โรคซึมเศร้ารักษาไม่ยาก เนื่องจากสาเหตุของโรคนี้เกิดจากการทำงานน้อยลง ของสารสื่อประสาท serotonin และ/หรือ norepinephrine รักษาหายได้ด้วยยา จนเป็นปกติ โรคซึมเศร้ามิใช่โรคจิต โรคประสาท เป็นโรคทางอารมณ์ ที่รักษาหายได้เหมือนเดิม เมื่อหายแล้วสามารถหยุดยาได้คนที่เป็นโรคซึมเศร้าแล้วรักษาหาย อาจกลับเป็นซ้ำได้อีก คนใกล้ชิดควรเฝ้าระวัง ถ้ามีอาการอีกให้รีบกลับไปรักษาเหมือนเดิม อย่าประมาทเพราะอาจเป็นมากจนคิดฆ่าตัวตายได้ การป้องกันการเป็นซ้ำทำได้โดยการกินยาป้องกันในการรักษาครั้งแรกให้นานพอควร อย่ารีบหยุดยาก่อนแพทย์สั่งให้หยุด ตอนหยุดยาควรลดขนาดลงช้าๆ การไม่กินยาสม่ำเสมอทำให้อาการซึมเศร้ากลับไปกลับมาและรักษายากขึ้น กรณีที่ผู้ป่วยยังอยู่ในวัยเรียน วัยศึกษา "ในส่วนของบทบาทอาจารย์" ก็สำคัญ 1. เตรียมอาจารย์ ให้รับทราบ และจัดอาจารย์ ที่เข้าใจ มีระบบดูแลจิตใจในภาควิชา 2. สังเกตพฤติกรรม การเขียนรายงาน การปฏิบัติงาน ถ้าเริ่มมีปัญหา หรือมีอาการให้สอบถาม รับฟัง ประเมิน 3. ใช้การสื่อสารด้านบวก รับฟัง เข้าใจ สะท้อนความรู้สึก การตำหนิ ยิ่งทำให้ รู้สึกผิด และอาการเศร้ามากขึ้น4. ประสานภายในภาควิชา ที่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 5. การจัดกิจกรรมและประเมินผล ให้เหมือนนักศึกษาอื่นๆ อาจยืดหยุ่น แต่ไม่ลดมาตรฐาน ช่วยแบบมีขอบเขต 6. ถ้ามีอาการมาก ให้หยุดการทำงาน และรีบส่งปรึกษาจิตแพทย์ 7. สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา นึกถึงโรคซีมเศร้าเสมอ เพื่อค้นหาผู้ที่เริ่มเป็นใหม่ ถ้าพบควรให้คำแนะนำเบื้องต้น และส่งปรึกษา เน้น ไม่ใช่โรคจิตประสาท รักษาได้ หายเหมือนเดิม และ การเก็บความลับ 8. ส่งปรึกษาจิตแพทย์ในระบบการช่วยเหลือ

ซึมเศร้า ไม่ใช่ โรคจิต  คนสนิทใกล้ชิด ต้องใส่ใจ พบ จิตแพทย์ รักษาหายได้

โรคซึมเศร้าพบบ่อย และเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการฆ่าตัวตาย เราทุกคนมีส่วนร่วมในการป้องกันได้ โดยสังเกตตนเองและคนใกล้ชิดว่ามีอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่ และแนะนำว่าโรคนี้ไม่ใช่โรคจิตโรคประสาท รักษาหายจนเป็นปกติได้เหมือนเดิม ถ้าพบผู้ป่วยซึมเศร้าแนะนำให้มาพบจิตแพทย์เพื่อการรักษาโดยเร็ว

(ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย)

123คนดีมีน้ำใจ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : นศ.สาว มหาลัยดังย่านขอนแก่น ป่วยโรคซึมเศร้า ตัดสินใจลาโลก บนอาคารเรียนสูง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : นิสิตสาวปี 3 โดดอาคารเรียนมหาลัยดังเสียชีวิต เขียนข้อความเศร้าสั่งลาถึงพ่อแม่ #รักที่สุด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : นศ.สาวมหาลัยดังเครียดปิดห้องเผารมควันปลิดชีวิต ทิ้งข้อความฝาก..น่าสะเทือนใจ

 

ติดตามข่าวที่น่าสนใจอื่นๆได้ใน www.Tnews.co.th