ชำแหละความเป็นไปได้ - จุดยืนทางการเมือง ว่าที่ หัวหน้า"ประชาธิปัตย์"คนใหม่!? หลังเผชิญทาง 3 แพร่ง

ชำแหละความเป็นไปได้ - จุดยืนทางการเมือง ว่าที่ หัวหน้า"ประชาธิปัตย์"คนใหม่!? หลังเผชิญทาง 3 แพร่ง


พลันที่สิ้นสุดการนับคะแนนเลือกกตั้งอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 24 มี.ค. จากความผกผันของสภาพการเมืองไทยได้นำมาซึ่งปรากฏการณ์ ที่อยู่เหนือความคาดหมาย ของใครหลายคน เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ ที่อยู่ในโคจรของอำนาจทางการเมืองมาอย่างยาวนาน แทบจะถึงคราวสิ้นกำลัง เมื่อถูกช่วงชิงคะแนนเสียงที่หมายมั่นว่าจะได้ถึง 100 เก้าอี้ ส.ส ไปอย่างชอกช้ำระกำใจ

 

หากทั้งนี้อาจรวมถึงการแสดงออกถึงจุดยืนของอดีตหัวหน้าพรรค 'นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' โดยที่หารู้ไม่ว่าจะเป็นการขุดหลุมฝังตัวเองและพรรค  ชนิดที่ไม่น่าให้อภัย ดีแต่ว่า นายอภิสิทธิ์ที่สวมใจสิงห์ ถือสัจจะวาจาอย่างบุรุษเพศ ด้วยการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อคำพูดของตน แม้ว่าจะช่วยฟื้นคืนศรัทธาของกลุ่มผู้สนับสนุนในตัวนายอภิสิทธิ์ได้ในระดับหนึ่ง

 

แต่การกระทำดังกล่าว กลับส่งผลกระทบโดยตรงต่อเสถียรภาพภายในพรรค ทั้งยังตามมาด้วยคลื่นอีกหลายระลอกที่พร้อมกระหน่ำซัดสาดพรรคที่มีสถานะไร้หัว...และยังไร้ความชัดเจน ว่าท้ายสุดแล้วพรรคประชาธิปัตย์จะนั่งอยู่แห่งหนใด และมีบทบาทในสภาฯ อย่างไรต่อไปในอนาคต ? 

 

ชำแหละความเป็นไปได้ - จุดยืนทางการเมือง ว่าที่ หัวหน้า"ประชาธิปัตย์"คนใหม่!? หลังเผชิญทาง 3 แพร่ง

 

อย่างไรก็ดี แม้ยังไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการ แต่นาทีนี้ประการแรกที่ยังเป็นข้อถกเถียงในสังคม ตลอดจนเสียงที่แตกภายในพรรค ถึงการเลือก 'หัวหน้าพรรคคนใหม่' ประเด็นดังกล่าวได้ถูกจับตามองอีกครั้งด้วยเพราะ ทัศนะอันแตกแยกของแกนนำพรรคที่มีอิทธิพลในระดับที่สามารถกำหนดทิศทางของพรรค เริ่มไม่ลงรอยต่อกัน

 

จากตามรายงานก่อนหน้าระบุว่า โดยนายถาวร พร้อมว่าที่ ส.ส. กว่า35คน และ ยืนยันว่าจะมาร่วม-พร้อมสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แต่จะไม่มายกพรรค เนื่องจากสมาชิกทางฝั่งนายชวน หลีกภัย และกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือ 'Newdem' ในพรรคไม่เห็นด้วย และหวังจะทำหน้าที่เป็น 'ฝ่ายค้านอิสระ' ในสภามากกว่าที่จะขึ้นตรงหรือยอมอยู่ใต้อาณัติของพรรคใดพรรคหนึ่ง

 

ชำแหละความเป็นไปได้ - จุดยืนทางการเมือง ว่าที่ หัวหน้า"ประชาธิปัตย์"คนใหม่!? หลังเผชิญทาง 3 แพร่ง

 

ขณะที่ยังปรากฏมีส่วนเสี้ยวแว่วเสียงมาว่า มีกลุ่มก้อนที่อาจยอมสละทิ้งต่ออุดมการณ์ของพรรค ยอมจำนนต่อ 'ระบอบทักษิณ' พร้อมลงเรือกับพรรคคู่อาฆาตอย่างพรรคเพื่อไทย อย่างไม่ตระหนักสำคัญว่าจะถึงคราวอัปปางอย่างที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมือง หากผู้กุมหัวเรือคือ 'คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์' ?

แต่นั่นก็ชัดเจนเพียงพอว่า 3 ทัศนะเสมือนทาง 3 แพร่งที่ ไม่มีวันบรรจบในเส้นทางเดียวกันได้ ระหว่างร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ หรือร่วมกับพรรคเพื่อไทย หรือกระทั่งยอมเป็นฝ่ายค้านอิสระย่อมกระทบต่อการเลือกหัวหน้าพรรคอย่างไม่ต้องสงสัย

 

ชำแหละความเป็นไปได้ - จุดยืนทางการเมือง ว่าที่ หัวหน้า"ประชาธิปัตย์"คนใหม่!? หลังเผชิญทาง 3 แพร่ง  

 

อย่างไรก็ตาม จากรายงานก่อนหน้าเมื่อวันที่ 9 เม.ย. มีการเปิดเผยว่า จากเดิมที่ระบุว่าทางพรรคจะมีแคนดิเดตเข้าชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ 4 คน คือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ที่ปัจจุบันทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค นายกรณ์ จาติกวณิช รักษาการรองหัวหน้า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และ นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์

แต่แล้วการตั้งข้อสังเกตอาจมีอันต้องตกไป สถานการณ์ล่าสุด ขณะนี้เหลือผู้ท้าชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น คือ นายจุรินทร์ ที่มีผู้มากบารมีอย่างนายหัวชวนพร้อมให้การสนับสนุน  และนายกรณ์ ผู้มีสัมพันธ์อันดีกับนายอภิสิทธิ์ มาโดยตลอด ขณะที่รายอื่นๆ ได้ขอถอนตัว  เมื่อเกมการเมืองคือศิลปะของการคาดเดา และความไม่แน่นอน นั่นจึงมิอาจฟันธงได้ว่า จะเป็นเช่นว่านี้จริงจนกว่าจะปรากฏความชัดเจนต่อสาธารณะ

 

ท่ามกลางการเฝ้ารอคอยอย่างใจจดใจจ่อของกลุ่มผู้สนับสนุนและคอการเมือง  คล้อยมาคืนวานนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค(กก.บห.) ว่า วันนี้ที่ประชุมพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ ที่มีนายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นด้วยทั้งหมด  

 

ชำแหละความเป็นไปได้ - จุดยืนทางการเมือง ว่าที่ หัวหน้า"ประชาธิปัตย์"คนใหม่!? หลังเผชิญทาง 3 แพร่ง

 

ทั้งนี้ ทางพรรคจะจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ ในวันที่ 15 พ.ค. เวลา 09.00 น. ส่วนสถานที่กำลังให้รักษาการเลขาธิการพรรคเป็นผู้พิจารณา สำหรับวิธีการเลือกหัวหน้าพรรคนั้นจะไม่มีการทำหยั่งเสียงเบื้องต้นตามข้อบังคับพรรค เพราะจำกัดด้วยเวลาและสถานการณ์ โดยจะให้เสนอชื่อในที่ประชุม จากนั้นให้แสดงวิสัยทัศน์คนละ 15 นาที

นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับองค์ประชุมในการโหวตเลือกจะมีทั้งหมด 307 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก คือ ส.ส.ชุดใหม่ที่กำลังรอคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ประกาศรับรองผล ซึ่งมีน้ำหนักคะแนนอยู่ร้อยละ 70 ส่วนอีกร้อยละ 30 ประกอบด้วย กก.บห.ชุดรักษาการ อดีตส.ส.ที่ยังเป็นสมาชิกพรรค อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรี อดีตเลขาธิการพรรค หัวหน้าสาขาพรรคหรือตัวแทนประจำจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่นที่ลงสมัครในนามพรรค ตัวแทนผู้สมัครส.ส.ทั้งแบบเขตและบัญชีรายชื่อ ปี 62
 

ชำแหละความเป็นไปได้ - จุดยืนทางการเมือง ว่าที่ หัวหน้า"ประชาธิปัตย์"คนใหม่!? หลังเผชิญทาง 3 แพร่ง

 


อย่างไรก็ตาม จำนวนกก.บห. จำนวน 41 คนเท่าเดิมตามข้อบังคับพรรค โดยรองหัวหน้าพรรคยังคงแบ่งเป็นตามภารกิจ 8 คน และตามรายภาค 5 คน
เมื่อถามว่าในวันที่ 15 พ.ค. จะมีมติแสดงจุดยืนทางการเมืองของพรรคหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของกก.บห.ชุดใหม่และส.ส.ชุดใหม่ ที่จะต้องประชุมร่วมกัน แต่ตนตอบล่วงหน้าไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับสถานการณ์.


กระทั่งล่าสุดวันนี้ 24 เม.ย. มีความเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญบางประการ เมื่อผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศภายในพรรคประชาธิปัตย์ในการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี โดยมีกำหนดเริ่มประชุมในเวลา 09.30 น. เพื่อจะพิจารณารับรองงบดุลของพรรค ค่อนจะอึมครึม

เมื่อปรากฏเวลาล่วงเลยจนถึง 11.30 น. ก็ยังไม่สามารถเปิดประชุมได้  เนื่องจากองค์ประกอบไม่ครบ ซึ่งตามข้อบังคับจะต้องมีองค์ประชุม 250 คน จาก 308 คน แต่สมาชิกมาเพียง 221 คน เพราะฉนั้นคณะกรรมการบริหารพรรคชุดรักษาการ โดยหารือกันเพื่อยกเว้นข้อบังคับเกี่ยวกับองค์ประชุม และเริ่มประชุมในเวลา 12.00น.

 

โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  ได้เป็นประธานในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ครั้งที่ 1/2562 เพื่อรับรองงบดุล ปี 2561 และรับทราบเกณฑ์การคัดเลือกหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ที่จะมีกำหนดการเลือกในวันที่ 15 พ.ค. ที่จะถึงนี้

ทางด้านของ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ได้ทำหนังสือขอบคุณมอบสมาชิกพรรคทุกคนที่เป็นสมาชิกแบบตลอดชีพ โดยระบุข้อความว่า ด้วยความศรัทธาเชื่อมั่นในอุดมการณ์ของพรรค และมีส่วนร่วมในการรณรงค์สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งที่ผ่านมา แม้ผลการเลือกตั้งจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายของพรรค แต่ทุกการสนับสนุนของสมาชิกพรรคทุกคนล้วนมีคุณค่ายิ่ง

 

ชำแหละความเป็นไปได้ - จุดยืนทางการเมือง ว่าที่ หัวหน้า"ประชาธิปัตย์"คนใหม่!? หลังเผชิญทาง 3 แพร่ง

 

จึงขอเชิญชวนสมาชิกทุกคนร่วมกันเป็นพลังขับเคลื่อนพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นสถาบันการเมืองให้เจริญก้าวหน้าเป็นพรรคการเมืองหลักที่ทำงานการเมืองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ตามแนวทางและอุดมการณ์ของพรรคที่มั่นคงสืบไป

และนี่อาจเป็นสัญญาณที่รับรู้โดยทั่วกันได้ว่า ทางพรรคอาจต้องการให้ทาง กกต. ประกาศรายชื่อ ส.ส. เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา คล้ายเป็นการประวิงเวลา เพื่อมิให้เกิดเป็นความผิดพลาดซ้ำซ้อนจากการตัดสินใจอันไม่รอบคอบอย่างที่ผ่านมา

 

สภาวะการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและดำเนินอยู่ภายในพรรคประชาธิปัตย์ในเวลานี้ ประหนึ่งการแตกขั้ว 3 ขั้ว ที่ส่งผลโดยตรงต่อว่าที่หัวหน้าพรรคคนใหม่ในอนาคต เมื่อนำองค์ประกอบมาประเมินและพินิจถึงความเป็นไปได้ในอนาคต หากนายกรณ์ ได้รับการสนับสนุนเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป ย่อมมีโอกาสอยู่ไม่น้อยที่จะรับไม้ผลัดจากจุดยืนของนายอภิสิทธิ์ นั่นคือปฏิเสธในตัวพล.อ.ประยุทธ์ และพรรคพลังประชารัฐ ด้วยเพราะสัมพันไมตรีที่ดีต่อกัน ทั้งยังมีทัศนะทางการเมืองที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันมาโดยตลอด นับแต่เริ่มต้นชีวิตในเส้นทางการเมือง 

 

ชำแหละความเป็นไปได้ - จุดยืนทางการเมือง ว่าที่ หัวหน้า"ประชาธิปัตย์"คนใหม่!? หลังเผชิญทาง 3 แพร่ง

 

ถัดมากับนายจุรินทร์ จากกระแสลือที่ระบุว่า อาจเป็นคู่แข่งที่พร้อมขนาบข้าง กับนายกรณ์ ด้วยดีกรีเป็นถึงอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และจะมีภาษีที่อาจได้เปรียบแคนดิเดตรายอื่นอยู่ไม่น้อย หากได้รับการสนับสนุนจากนายชวน

ท้ายสุดกับนายถาวร ที่แสดงออกถึงความชัดเจนอย่างตรงไปตรงมาตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งเพียงไม่กี่วัน ด้วยการกล่าวว่า ส่วนตัวยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ ควรไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ เพราะเป็นพรรคที่ได้คะแนนเสียงจากประชาชนมากที่สุดกว่า 8.4 ล้านเสียง เหนืออื่นใดนายภาวรยังเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับหมอวรงค์ อีกหนึ่งผู้มากบารมีและได้รับการยอมรับภายในพรรคประชาธิปัตย์มาอย่างยาวนาน

 

แม้ว่าจะมีรายงานว่าผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ประกอบด้วย นายกรณ์ จาติกวณิช , นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ส่วนนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มนายถาวร เสนเนียม ซึ่งมีความใกล้ชิดกับกลุ่ม กปปส. แสดงท่าทีสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าพรรคนั้น

ได้ยืนยันกับผู้ใหญ่ในพรรคว่าจะไม่เข้าชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เนื่องจากเกรงว่าจะยิ่งสร้างปัญหาในพรรคมากขึ้น โดยในขณะนี้แม้มีความเห็นทางการเมืองต่างกันในพรรค แต่ก็มีการย้ำจากผู้ใหญ่ในพรรคขอให้งดแสดงความเห็นผ่านสื่อ และให้ตัดสินในที่ประชุมใหญ่วันที่ 15 พ.ค. แทน

 

ชำแหละความเป็นไปได้ - จุดยืนทางการเมือง ว่าที่ หัวหน้า"ประชาธิปัตย์"คนใหม่!? หลังเผชิญทาง 3 แพร่ง

 

อย่างไรก็ตาม จากข้องเท็จจริงทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าทั้งรอยร้าวและความต่างด้านทัศนะภายในพรรคประชาธิปัตย์ และด้วยยังคงความเป็นตัวแปรสำคัญในเกมการเมือง ทำให้แทบทุกสายตาต่างจับจ้องในทุกความเคลื่อนไหวว่าท้ายสุดแล้วบทสรุปของการได้มาซึ่งหัวหน้าพรรคคนใหม่นั้นจะเป็นใคร!?

 

ชำแหละความเป็นไปได้ - จุดยืนทางการเมือง ว่าที่ หัวหน้า"ประชาธิปัตย์"คนใหม่!? หลังเผชิญทาง 3 แพร่ง