เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม

โดยล่าสุดในเพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา ได้โพสต์เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระที่นั่งทรงธรรม

ถือเป็นการสูญเสียสำคัญของประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากที่ในเฟซบุ๊ก “Wassana Nanuam” ของ “วาสนา นาน่วม” ผู้สื่อข่าวสายทหาร ได้โพสต์ข้อความ..รำลึก..... “พลเอกเปรม” ประธานองคมนตรี 2 แผ่นดิน ... กับรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และการพูดถึง การจากลา พลเอกเปรม จากลา ไปอย่างสงบ  

 

แม้พาส่ง รพ. ก็ไม่อาจ ยื้อ ป๋าท่าน กลับมาได้ ป๋า ท่าน 98 จะ 99 แล้ว. ท่านเหนื่อยมาเยอะแล้ว ขอให้ป๋าไปสู่ สรวงสวรรค์ Rest in Peace ค่ะป๋า ต่อมาวาสนา นาน่วม ยังได้โพสต์ข้อความอีกว่า หลังเสร็จภารกิจสำคัญ ในชีวิตของการเป็นประธานองคมนตรี 2 แผ่นดินแล้ว.. “ป๋าเปรม” ก็จากลาไปอย่างสงบ รุ่งเช้าวันที่ 26 พค.62 RIP.

เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม

 

ทั้งนี้ในเฟซบุ๊กของ วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายทหาร ที่ใช้ชื่อว่า Wassana Nanuam ได้โพสต์เล่าถึงเรื่องบ้านสี่เสาเทเวศร์ บ้านพักของพล.อ.เปรม ระบุว่า "“บ้านสี่เสาเทเวศร์” เศร้าสิ้น “ป๋าเปรม” บ้านสี่เสาเทเวศร์ที่พำนักของป๋าเปรม พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ มายาวนาน ..เงียบเหงา!! หลังป๋าถูกนำส่งรพ.พระมงกุฎฯเมื่อเช้านี้ เพราะการหายใจและหัวใจจนที่สุดป๋า ก็ลาจากไปอย่างสงบ

 

สำหรับบ้านพักของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มีด้วยกัน 3 แห่ง คือบ้านสี่เสาเทเวศร์  บ้านพักที่ จ.นครราชสีมา และสงขลา ซึ่งบ้านสี่เสาเทเวศร์ เป็นบ้านพักที่ พล.อ.เปรม พำนักยาวนานที่สุด ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก นายกรัฐมนตรี องคมนตรี และประธานองคมนตรีซึ่งบ้านสี่เสาเทเวศร์ ตั้งอยู่บนที่ดินของกองทัพบกไทย ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ใกล้กับสี่แยกสี่เสาเทเวศร์ (จุดตัดระหว่างถนนศรีอยุธยากับถนนสามเสน) มีหอสมุดแห่งชาติ สโมสรกองทัพบก และตลาดเทเวศร์เป็นสถานที่ใกล้เคียง

 

ในอดีตเป็นบ้านพักของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ปัจจุบันพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ และอดีตนายกรัฐมนตรี ใช้เป็นบ้านพักมาตั้งแต่สมัยที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก เมื่อพ.ศ. 2521 จนเกษียณอายุราชการ  เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2523  และคณะรัฐมนตรีได้มีมติต่ออายุราชการอีก 1 ปี 26 สิงหาคม 2524 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้อำลาการรับราชการทหาร หากนับเวลาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2521-2562 พล.อ.เปรมได้พำนักอยู่ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์นานถึง 41 ปี 

เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม

 


อ่านข่าว :  เรียบง่าย พอเพียง... กว่า 40 ปี ชีวิต "ป๋าเปรม" ในบ้านสี่เสาเทเวศร์

 

ขณะที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา  ประจำวันที่ ๒๖  พฤษภาคม ๒๕๖๒  ได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี  เรื่องพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ถึงแก่อสัญกรรม  มีรายละเอียดดังนี้  ตามที่ได้มีประกาศสำนักพระราชวัง เรื่องพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ถึงแก่อสัญกรรม ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ นั้น รัฐบาลได้รับทราบด้วยความเสียใจอย่างยิ่ง และเพื่อเป็นการแสดง ความคารวะและไว้อาลัย จึงเห็นสมควรประกาศ ดังต่อไปนี้
 
๑. ให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๒ รวม ๗ วัน

 

 ๒. ให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ทุกข์ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒๗  พฤษภาคม ๒๕๖๒ ถึงวันจันทร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ (ยกเว้นวันจันทร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๒)รวม ๒๑ วัน สำหรับประชาชนทั่วไป ขอให้พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม

 

เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม

 

อ่านข่าว : ประกาศสำนักนายกฯ เนื่องด้วย พล.อ.เปรม ถึงแก่อสัญกรรม กำหนดให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ ลดธงครึ่งเสา พร้อมแต่งกายไว้ทุกข์ 

และเนื่องด้วยโอกาสการสูญเสียครั้งสำคัญนี้ เจ้าพนักงานเตรียมการจัดสถานที่บริเวณพระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ แทนพระองค์ ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ณ พระที่นั่งทรงธรรม ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เวลา 18.00 น.

เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม

 

โดยล่าสุดในเพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา ได้โพสต์เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระที่นั่งทรงธรรม ระบุว่า "พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงสร้างอุทิศแก่สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดีเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ผู้เป็นพระราชโอรส เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะทรงใช้พระที่นั่งทรงธรรมแห่งนี้ เป็นที่ประทับแรมเมื่อเสด็จพระราชดำเนินมาทรงธรรมรักษาอุโบสถศีล ต่อมา ได้ใช้เป็นที่ประชุมสังฆมนตรี ที่ศึกษาพระปริยัติธรรม และจัดงานประจำปีของวัด เป็นต้น

เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม

 

 

นอกจากนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ตั้งพระศพและศพบุคคลสำคัญ เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลอีกด้วย ดังเช่น เมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ สิ้นพระชนม์ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพ ถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณี ณ พระที่นั่งทรงธรรมแห่งนี้เช่นเดียวกัน"

 

เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม

 

อีกทั้งในเพจเฟซบุ๊ก เรื่องเล่าของรอยใบลาน ยังโพสต์เล่าถึงเรื่องของธรรมเนียมการพระบรมศพและพระศพเจ้านาย ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร ดังนี้ 

เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม

 


พระศพเจ้านายที่เคยประดิษฐานและศพบุคคลสามัญที่เคยตั้ง ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มีจำนวนทั้งหมด 14 พระองค์ และ 4 ท่าน ตามลำดับ ดังนี้

พ.ศ. 2479 พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

พ.ศ.2493 พระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

พ.ศ.2494 พระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

พ.ศ.2496 พระศพพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันบุรีสุรนาถ

พ.ศ.2505 พระศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตติโสภโณ) พระราชอนุศาสนาจารย์

พ.ศ.2506 พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา

 

 

พ.ศ.2506 ศพจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี

พ.ศ.2515 พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี

พ.ศ.2517 พระศพพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี

พ.ศ.2518 ศพหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ประธานองคมนตรี

พ.ศ.2519 พระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

พ.ศ.2520 พระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต

พ.ศ.2525 พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร

พ.ศ.2528 พระศพพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6

พ.ศ.2538 พระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล

พ.ศ.2541 พระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ

พ.ศ.2545 ศพนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี

พ.ศ.2550 ศพหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ อดีตองคมนตรี

 

 

เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม

 

เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม


อย่างไรก็ตามพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์  ถือเป็นองคมนตรี ที่ปฎิบัติหน้าที่อย่างยาวนาน หรือเรียกว่า องคมนตรี 2 แผ่นดิน สร้างคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติ และจงรักภักดีกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และจะมีการสวดบำเพ็ญกุศลศพที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ด้วยเช่นกัน 
 

เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม

 

เปิดประวัติพระที่นั่งทรงธรรม สถานที่บำเพ็ญกุศล พล.อ.เปรม

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก :  เรื่องเล่าของรอยใบลาน  , มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา