รีเทิร์นศึก “ท่อร้อยสาย” !! ทีโอทีเต้นผาง โดนยึดสิทธิ์ มอบทุนยักษ์กินยาว 30 ปี 6 บริษัทโทรคมนาคม จับมือแน่น..ยอมไม่ได้!??

รีเทิร์นศึก “ท่อร้อยสาย” !! ทีโอทีเต้นผาง โดนยึดสิทธิ์ มอบทุนยักษ์กินยาว 30 ปี 6 บริษัทโทรคมนาคม จับมือแน่น..ยอมไม่ได้!??

กลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกแล้ว  สำหรับโครงการท่อร้อยสายใต้ดิน  ซึ่งเป็นแผนงานเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์กรุงเทพมหานคร หลังจากทีนิวส์เปิดประเด็นนี้ไว้ก่อนหน้า ตั้งแต่ปลายปี 2561 ที่ผ่านมา กรณีดังกล่าว  สืบเนื่องจากมีการร้องเรียน  เรื่อง “การจัดหาโดยวิธีพิเศษเพื่อจ้างเหมาก่อสร้างท่อร้อยสายโทรศัพท์ใต้ดิน”  บริเวณถราชวิถี    ซึ่งพบว่ามีความซ้ำซ้อน ในระบบการทำงาน ระหว่าง บมจ.ทีโอที  กับหน่วยราชการอื่น ๆ  ผลสุดท้ายก็คือความล่าช้า  และเกิดปัญหาตามมา   

 

จนสุดท้ายก็มีการนำประเด็นดังกล่าว  ร้องเรียนต่อ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  เพราะ บมจ.ทีโอที  ได้แสดงเอกสารหลักฐาน ว่า   โครงการในลักษณะนี้ได้รับอนุญาต ดำเนินการอย่างถูกต้อง    แต่มีสัญญาณบ่งชี้โครงการท่อร้อยสายใต้ดินนี้   กำลังจะเปลี่ยนผู้รับผิดชอบเป็นหน่วยงานอื่น   โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร   ซึ่งก็มีการจัดวางให้ บริษัทกรุงเทพธนาคม  จำกัด  ดูแลโครงการทั้งหมด และนี่จึงกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ของ บมจ.ทีโอที  เพราะวันนี้ไม่ใช่แค่เรื่องรายได้ที่ลดน้อยถอยลง  ไม่เหมือนยุคสัมปทานโทรศัพท์มือถือ แต่ภายในก็มีปัญหาหมักหมมมากมาย

 

ไล่เรียงเพื่อความเข้าใจในกรณีดังกล่าว   ต้องเป็นเบื้องต้นย้ำว่าบมจ.ทีโอที โดยสหภาพฯ และพนักงานเองก็เชื่อมั่นว่าตามข้อกฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคม   บมจ.ทีโอที  ต้องมีสิทธิ์โดยตรง  แต่กับกรณีของกรุงเทพมหานคร  ถือว่าอยู่นอกเหนือขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ  ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ตรงนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญ เพราะเมื่อวันที่ 1  กรกฎาคม 2562  ที่ผ่านมา  ทางสหภาพฯ บมจ.ทีโอที  ได้ทำหนังสือยื่นต่อ พล.อ.ประยุทธ์  อีกรอบ  ในประเด็น  คัดค้านมติคณะกรรมการดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  กรณีเห็นชอบให้กทม.เป็นผู้ดำเนินการสร้าง  ท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน  ในพื้นที่กทม.

 

ประเด็นหลักๆ ที่สหภาพฯบมจ.ทีโอที เน้นย้ำ  ก็คือ  การที่บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งได้รับมอบหมายจากกทม.เป็นผู้ดำเนินงา จัดทำท่อร้อยสารทั้งหมดในพื้นที่ กทม. ได้มีการจัดการประมูลหาบริษัทผู้รับเหมา  ดำเนินการขุดท่อและวางสาย Micro  duct และปรากฎว่า มีบริษัทผู้เสนอทำโครงการ 3 ราย ก่อนเปิดโอกาส ให้ผู้บริการโทรคมนาคม เข้าเสนอราคาเหมาซื้อสิทธิ์ในการบริหารจัดการค่าเช่าท่อร้อยสาย   ซึ่งก็มีบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคม  หรือ   Network  Operator  เพียงรายเดียว เข้าร่วมและชนะการประมูล ด้วยมูลค่าโครงการ 25,000  ล้านบาท  ในช่วงอายุสัมปทาน 30 ปี  

 

รีเทิร์นศึก “ท่อร้อยสาย” !! ทีโอทีเต้นผาง โดนยึดสิทธิ์ มอบทุนยักษ์กินยาว 30 ปี 6 บริษัทโทรคมนาคม จับมือแน่น..ยอมไม่ได้!??

ทั้งนี้ข่าวก่อนหน้า บริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทาน ก็คือ บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น  และนี่ก็คือคำถามข้อใหญ่ถึงความเป็นธรรม หน่วยงานแรกที่ต้องพูดถึง ก็คือ  บมจ.ทีโอที  ซึ่งระบุตัวเองว่า เป็นหน่วยงานรัฐ ประเภทรัฐวิสาหกิจ จึงมีสิทธิตามกฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคม ในการสร้างท่อร้อยสายใต้ดิน  เพื่อพาดสายโทรคมนาคมใต้ดิน ในการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม  

 

รีเทิร์นศึก “ท่อร้อยสาย” !! ทีโอทีเต้นผาง โดนยึดสิทธิ์ มอบทุนยักษ์กินยาว 30 ปี 6 บริษัทโทรคมนาคม จับมือแน่น..ยอมไม่ได้!??

 

ดังนั้นการที่กทม.จะมาเป็นผู้สร้างท่อร้อยสาย ทั้ง ๆ ที่มีบมจ.ทีโอที เป็นผู้ดำเนินการแล้ว จึงเป็นการดำเนินการนอกเหนือจากขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ นอกจากนั้นการดำเนินการของกทม.และบริษัทบริษัท กรุงเทพธนาคม  ที่มีลักษณะร่วมลงทุนกับภาคเอกชน  ก็ยังเข้าข่ายขัดต่อกฎหมาย   ตามพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ..2556 และประกาศคณะกรรมการยโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ  เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการให้เอกชนร่วมลงทุน ในโครงการที่มีมีวงเงินมูลค่าต่ำกว่าที่กำหนด และยังอาจขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 56 แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทน พ.ศ. 2560 อีกด้วย เนื่องจากท่อร้อยสายมีลักษณะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ ซึ่งรัฐจะกระทำด้วยประการใด ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละ 51  มิได้

 

สำคัญที่สุดเลย สหภาพฯบมจ.ทีโอที ยังเห็นว่าการให้สิทธิแก่ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ที่ชนะการประมูลใช้ท่อร้อยสาย  ที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดโดยธรรมชาติ  ระยะเวลาถึง 30 ปี  เข้าข่ายการสร้างตลาดผูกขาด ที่ขัดต่อการสร้างตลาดแข่งขันเสรีและเป็นธรรม  ตรงข้ามถ้าเป็นกิจการที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดโดยธรรมชาติ ควรให้หน่วยงานรัฐเป็นผู้ดำเนินการ  มิใช่ให้เอกชนเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์

 

ต้องย้ำว่าทั้งหมดนี้เป็นรายละเอียดบางส่วนที่ปรากฏอยู่ในหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์  ซึ่งในแง่ของภาคเอกชนเองก็ดูเหมือนจะคัดค้านกรณีนี้เช่นกัน ตัวอย่างล่าสุดกับการเคลื่อนไหวของ  6  ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม  ประกอบด้วย 

 

1.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด
2.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด 
3.บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน)
4.บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน)
5.บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด
6.บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน)

 

รีเทิร์นศึก “ท่อร้อยสาย” !! ทีโอทีเต้นผาง โดนยึดสิทธิ์ มอบทุนยักษ์กินยาว 30 ปี 6 บริษัทโทรคมนาคม จับมือแน่น..ยอมไม่ได้!??
 

ที่เข้ายื่นคำร้องถึงพล.อ.ประยุทธ์ เรียกร้องให้มีการตรวจสอบและพิจารณากรณีที่ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นร้อยละ 99.98 ดำเนิน  โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานค   ระยะทาง 2,450 กิโลเมตร แต่ปรากฎว่า บริษัทกรุงเทพธนาคม ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้บริการท่อร้อยสายจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไม่ได้ดำเนินการเองโดยตรง 

 

แล้วใช้การคัดเลือกเอกชนยื่นข้อเสนอ และปรากฎว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวและเอกชนรายนั้นได้รับมอบสิทธิการดำเนินการไป ทำให้เอกชนรายดังกล่าวมีโอกาสจะแสวงหาประโยชน์จากท่อร้อยสาย  อันเป็นทรัพย์สินของรัฐและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ได้ถึงร้อยละ 80 รวมถึงมีสิทธิเรียกเก็บค่าตอบแทนเป็นเวลาถึง 30 ปี ทำให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมรายอื่นต้องมาขอใช้ท่อร้อยสายและชำระค่าตอบแทนให้เอกชนที่ได้รับสัมปทานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้นำสายสื่อสารที่พาดตามเสาลงใต้ดิน  จนท้ายสุดก็จะกลายเป็นเรื่องผูกขาด  ทำลายการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างกลุ่มกิจการโทรคมนาคม  จึงต้องการให้มีการทบทวน พิจารณากรณีอย่างรอบคอบ

 

ก็น่าจะชัดเจนในระดับหนึ่งกับประเด็นว่าด้วยความขัดแย้ง เรื่องโครงการท่อร้อยสาย ซึ่งน้ำหนักของประเด็นนี้ คือการที่จะมีบริษัททุนยักษ์ใหญ่เข้ามาจัดการ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเป็นเอื้อประโยชน์ในลักษณะผูกขาด  ขณะที่บมจ.ทีโอที ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ก็จะสูญเสียโอกาสทำรายได้ในส่วนนี้

 

รีเทิร์นศึก “ท่อร้อยสาย” !! ทีโอทีเต้นผาง โดนยึดสิทธิ์ มอบทุนยักษ์กินยาว 30 ปี 6 บริษัทโทรคมนาคม จับมือแน่น..ยอมไม่ได้!??