ปิยบุตรอีกแล้ว เลือกโพสต์เหตุการณ์ฝรั่งเศสฮือโค่นล้ม เปลี่ยนระบอบใหม่กษัตริย์ปกครอง

ปิยบุตรโหมแนวคิดปฏิวัติฝรั่งเศส เจตนาอะไรเลือกขยายความคิด ช่วงวโรกาสสำคัญคนไทย


ยังเป็นนักวิชาการ  นักการเมือง ที่พยายามอย่างมากในการชี้นำแนวทางการเมืองต่างประเทศเทศมาเปรียบเทียบ  สำหรับ นายปิยบุตร  แสงกนกกุล  แกนนนำคณะก้าวหน้า และอดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่  จนหลายครั้งถูกวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามถึงเจตนาซ่อนเร้น  โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่มีการก้าวล่วง โจมตรี สถาบันเบื้องสูง  แพร่กระจายในหมู่ม็อบเยาวชนปลดแอก  กระทั่ง   นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแหง่ชาติ  โพสต์ความเห็นถึงสถานการณ์การเมือง ผ่านการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาอีกครั้ง ท้าทายผู้อยู่เบื้องหลังการปลกระดมชุมนุม ให้ออกมายืนนำหน้าคณะนักเรียน นักศึกษา ว่า  "จะปฏิวัติ​ :ก็ออกมาถือธงนำ"

ปิยบุตรอีกแล้ว เลือกโพสต์เหตุการณ์ฝรั่งเศสฮือโค่นล้ม เปลี่ยนระบอบใหม่กษัตริย์ปกครอง

(คลิกอ่านข่าวประกอบ  :  อดีตรองผอ.สำนักข่าวกรองฯ ท้าตรงๆปิยบุตร ถ้าคิดจะปฏิวัติ​ ก็ถือธงนำเลย

ประเด็นหนึ่งที่ สนข.ทีนิวส์ นำเสนอไปก่อนหน้า  ย้อนภาพเวลาชี้ให้เห็นว่า    ภายใต้บทบาทนักวิชาการ และนักการเมืองในนามคณะก้าวหน้า  ปฏิเสธไม่ได้ว่า  นายปิยบุตร   มีจุดยืนชัดเจนด้วยการแสดงทัศนคติ  ที่มีความล่อแหลมยิ่งต่อแนวคิดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการปกครอง  นับตั้งแต่ช่วงที่มีสถานะเคลื่อนไหวใน  คณะนิติราษฎร์  ซึ่งเคยนำเสนอชุดความคิด เมื่อวันที่ 27 มี.ค.2554 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท  


โดยเฉพาะมาตรา 112  ซึ่ง คณะนิติราษฎร์ ในขณะนั้น ได้เรียกร้องใน 7  ประเด็นสำคัญ  อาทิ การเพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์   พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์   และ การเพิ่มเหตุว่าด้วยการยกเว้นความผิดกรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต  รวมถึงกรณีข้อความที่กล่าวหานั้น ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความ จริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ


ขณะเดัยวกันระยะหลัง  นายปิยบุตร  ก็โพสต์อ้างประวัติศาสตร์การปกครองของฝรั่งเศส โดยการยึดโยงไปถึงรูปแบบการบริหารประเทศในลักษณะของสาธารณรัฐ  และ การเปลี่ยนแปลงระบอบกษัตริย์อย่างมีนัยสำคัญ  กระทั่งเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กลับ เชิงสงสัยในเจตนาที่แท้จริงของนายปิยบุตร  

 

ปิยบุตรอีกแล้ว เลือกโพสต์เหตุการณ์ฝรั่งเศสฮือโค่นล้ม เปลี่ยนระบอบใหม่กษัตริย์ปกครอง


(คลิกอ่านข่าวประกอบ  :   เปลือยครหา ปิยบุตร ลึกสัมพันธ์ขบวนการล้มเจ้า ยืนเป้าหมายลดทอนความสำคัญสถาบันฯ )  


อย่างไรก็ตามในช่วงที่คนไทยเข้าช่วงสู่ช่วงบรรยากาศวันสำคัญของชาติ  ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา   ล่าสุด นายปิยบุตร  เลือกจะโพสต์ความเห็นทางการเมือง โดยการเริ่มต้นด้วยคำว่า "27-29 กรกฎาคม 1830 : 3 วันอันยิ่งใหญ่ของประชาชนในการลุกขึ้นสู้โค่นล้ม Charles X เปลี่ยนเป็นระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ)


ส่วนเนื้อหาใจความที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองในฝรั่งเศส  บางช่วงตอน ระบุว่า  ภาพเขียนที่คนรู้จักกันมากและถูกนำมาเผยแพร่ ดัดแปลง ประยุกต์ใช้กับการต่อสู้ทางการเมืองมากที่สุดภาพหนึ่ง คือ ภาพ La Liberté guidant le peuple ซึ่ง Eugène Delacroix วาดขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ปฏิวัติ 3 วันอันรุ่งโรจน์ในเดือนกรกฎาคม 1830


การปฏิวัติ 27-29 กรกฎาคม 1830 คือ การผนึกกำลังระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐนิยม ฝ่ายกษัตริย์นิยมสายเสรีนิยม-ปฏิรูป ฝ่ายกระฎุมพี ฝ่ายชนชั้นล่าง กรรมกร ฝ่ายปัญญาชน เพื่อโค่นล้มกษัตริย์ Charles X ที่มีแนวนโยบายนำพาฝรั่งเศสกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก่อน 1789 ภายใต้การสนับสนุนของปีก Ultra-Royalist

 

16 กันยายน 1824 หลุยส์ที่ 18 เสียชีวิต กลุ่ม Ultra-royaliste ได้ผลักดันน้องชายของหลุยส์ที่ 18 ขึ้นครองราชย์แทนในนามชาร์ลส์ที่ 10 กลุ่ม Ultra-royaliste และชาร์ลส์ที่ 10 ร่วมมือกันสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบเก่าด้วยการรื้อฟื้นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ก่อนปฏิวัติ 1789 กลับมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพิธีราชาภิเษก การก่อสร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งโดนคณะปฏิวัติประหารด้วยเครื่องกีโยติน การออกกฎหมายชดเชยค่าเสียหายให้แก่เจ้าและขุนนางที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 ซึ่งคำนวณกันว่าต้องใช้งบประมาณถึง 630 ล้านฟรังค์ ตลอดจนการออกกฎหมายกำหนดโทษแก่ผู้หลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะผู้ที่ขโมยหรือทำลายสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมีโทษถึงประหารชีวิต นอกจากนี้ยังเพิ่มความเข้มงวดการเซ็นเซอร์สื่อและการจำกัดเสรีภาพการพิมพ์อีกด้วย

 

ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจบีบบังคับให้ชาร์ลส์ที่ 10 ต้องยุบสภา ผลการเลือกตั้งทำให้ได้สภาที่มีสมาชิกสายปฏิรูปมากขึ้น ชาร์ลส์ที่ 10 จึงจำใจต้องตั้ง Martignac นักการเมืองนิยมเจ้าสายปฏิรูปเป็นนายกรัฐมนตรี การดำเนินนโยบายของรัฐบาลไม่เป็นที่สบอารมณ์ของชาร์ลส์ที่ 10 และกลุ่ม Ultra-royaliste ที่เห็นว่ารัฐบาลโน้มเอียงไปทางเสรีนิยม ในขณะที่กลุ่มเสรีนิยมก็มองว่ารัฐบาลดำเนินนโยบายปฏิรูปแบบกระมิดกระเมี้ยน ในที่สุด Martignac จึงลาออกจากตำแหน่ง ชาร์ลส์ที่ ๑๐ ตัดสินใจตั้ง Prince de Polignac นักการเมืองกลุ่ม Ultra-royaliste ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน

 

สมาชิกสภาประท้วงและไม่พอใจกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 10 เพราะ พระองค์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามอำเภอใจ โดยไม่ให้สมาชิกสภาลงมติให้ความเห็นชอบเสียก่อน แต่ก็ไม่เป็นผล  Prince de Polignac บริหารประเทศด้วยนโยบายแข็งกร้าวตามบัญชาของชาร์ลส์ที่ 10 ทำให้สมาชิกสภาและประชาชนต่อต้านจำนวนมาก ในท้ายที่สุดชาร์ลส์ที่ 10 จึงตัดสินใจยุบสภาเพื่อผ่าทางตัน

 

ปิยบุตรอีกแล้ว เลือกโพสต์เหตุการณ์ฝรั่งเศสฮือโค่นล้ม เปลี่ยนระบอบใหม่กษัตริย์ปกครอง

 

อย่างไรก็ตาม ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าฝ่ายค้านได้สมาชิกสภาเพิ่มเป็น 270 ที่นั่งจากเดิม 221 ที่นั่ง ในขณะที่รัฐบาลเก่าได้เสียงลดลงเหลือ 145 ที่นั่ง จากเดิม 181 ที่นั่ง ผลการเลือกตั้งเช่นนี้ คือ การแสดงออกถึงความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลของชาร์ลส์ที่ 10 อย่างชัดเจน แต่แทนที่ชาร์ลส์ที่ 10 จะโอนอ่อนหรือประนีประนอมตามเสียงของประชาชน กลับกลายเป็นว่า พระองค์ตัดสินใจเปิดหน้าสู้กับประชาชน ด้วยการออกประกาศพระบรมราชโองการ Saint-Cloud รวม 4 ฉบับในวันที่ 25 กรกฎาคม 1830

 

ในที่สุดนักหนังสือพิมพ์ ปัญญาชน กรรมกร ชนชั้นกระฎุมพี ฝ่ายสาธารณรัฐนิยม ฝ่ายกษัตริย์นิยมสายปฏิรูป จึงรวมตัวกันโค่นล้มชาร์ลส์ที่ 10 โดยใช้เวลาเพียง 3 วันตั้งแต่ 27 – 29 กรกฎาคม 1830


ชาร์ลส์ที่ 10 และครอบครัวลี้ภัยไปประเทศอังกฤษ เกิดข้อถกเถียงกันว่าฝรั่งเศสจะยังคงมีกษัตริย์ต่อไปหรือเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐอีกครั้ง ในท้ายที่สุด นักการเมืองปีกเสรีนิยมนำโดย Adolphe Thiers, François Guizot, Talleyrand, Lafayette รีบเข้าช่วงชิงการนำจากฝ่ายสาธารณรัฐนิยม พวกเขาสนับสนุนให้มีกษัตริย์ต่อไป 

 

เพราะเกรงว่าหากก่อตั้งสาธารณรัฐขึ้นมาทันที อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งรุนแรง และกลายพันธุ์เป็นเผด็จการอำนาจนิยมเหมือนสมัย Bonaparte ได้ รวมทั้งอาจถูกประเทศมหาอำนาจอื่นในยุโรปที่ยังมีกษัตริย์อยู่เข้าโจมตีได้อีก


เราเรียกระบอบนี้ว่า “ Monarchie de Juillet” เพราะเหตุการณ์ที่ประชาชนร่วมกันขับไล่ชาร์ลส์ที่ ๑๐ เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม (Juillet) โดย Thiers ยืนยันลักษณะกษัตริย์ของระบอบใหม่นี้ด้วยประโยคที่นิยมใช้แพร่หลายกันจนถึงทุกวันนี้ว่า  "กษัตริย์ปกเกล้า แต่ไม่ปกครอง" หรือ "กษัตริย์ครองราชย์ แต่ไม่ครองรัฐ"