ทนายค้านสุดตัว กรมราชทัณฑ์จ่อพักโทษ "เสี่ยเจนภพ" ติดคุกไม่ถึง 1 ปี ซิ่งเบนซ์คร่า 2 ชีวิต นิสิตปริญญาโท

กลายเป็นประเด็นที่ชาวเน็ตต่างให้ความสนใจขึ้นมาอีกครั้ง จากกรณีปรากฎข้อมูลในโลกออนไลน์ว่า กรมราชทัณฑ์ เตรียมพักโทษนายเจนภพ วีรพร จำเลยในคดีเบนซ์ชนฟอร์ด ซึ่งทำให้สองนักศึกษาปริญญาโท นางสาวธันฐภัทร ฮ้อแสงชัย และนายกฤษณะ ถสวร ที่นั่งและขับในรถฟอร์ดเพื่อไปเรียนหนังสือ ถูกรถเบนซ์ซึ่งขับด้วยความเร็วสูง 215-257 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ชนรถฟอร์ดพลิกคว่ำไถลไปตามพื้นถนน 230 เมตร ทำให้ไฟคลอกสองนักศึกษาตายคาซากรถ โดยคดีนี้ ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ให้จำคุกจำเลยฐาน 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา แต่กรมราชทัณฑ์เตรียมปล่อยตัวพักโทษจำเลยนั้น

กลายเป็นประเด็นที่ชาวเน็ตต่างให้ความสนใจขึ้นมาอีกครั้ง จากกรณีปรากฎข้อมูลในโลกออนไลน์ว่า กรมราชทัณฑ์ เตรียมพักโทษนายเจนภพ วีรพร จำเลยในคดีเบนซ์ชนฟอร์ด ซึ่งทำให้สองนักศึกษาปริญญาโท นางสาวธันฐภัทร ฮ้อแสงชัย และนายกฤษณะ ถสวร ที่นั่งและขับในรถฟอร์ดเพื่อไปเรียนหนังสือ ถูกรถเบนซ์ซึ่งขับด้วยความเร็วสูง 215-257 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ชนรถฟอร์ดพลิกคว่ำไถลไปตามพื้นถนน 230 เมตร ทำให้ไฟคลอกสองนักศึกษาตายคาซากรถ โดยคดีนี้ ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ให้จำคุกจำเลยฐาน 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา แต่กรมราชทัณฑ์เตรียมปล่อยตัวพักโทษจำเลยนั้น 

ล่าสุด นาย วิเชียร ชุบไธสง ทนายความผู้เสียหาย เปิดเผยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ถึงกรณีการพักโทษดังกล่าวว่า หลังจากศาลฎีกา ตัดสินคดีนี้ เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 63 ทางฝ่ายผู้เสียหายคือโจทก์ร่วมที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เสียชีวิต ได้รับหนังสือจากสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานครที่ 9 ให้ไปให้ถ้อยคำ ให้ความเห็นเรื่องที่กรมราชทัณฑ์จะปล่อยตัวพักโทษจำเลยในคดีนี้ 

 

 

“โจทก์ร่วมที่ 3-4  เขาก็รู้สึกว่าจำเลยได้รับโทษนิดเดียวเอง จะพักโทษแล้วหรือ และตามหลักยังมีข้อกฎหมายเกี่ยวกับการพักโทษว่าหากต้องโทษจำคุก ต้องรับโทษแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่คดีนี้เพิ่งถึงที่สุด เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2563 ถือว่าขัดกับหลักกฎหมายหรือไม่ ผู้มีอำนาจต้องพิจารณา แต่มุมมองของผม ผมว่ามันขัดระเบียบ และคดีนี้เป็นคดีที่ได้รับความสนใจจากสังคมและประชาชนจำนวนมาก ความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยรุนแรงมาก" ” นายวิเชียรระบุ 

 

 

ทนายค้านสุดตัว กรมราชทัณฑ์จ่อพักโทษ "เสี่ยเจนภพ" ติดคุกไม่ถึง 1 ปี ซิ่งเบนซ์คร่า 2 ชีวิต นิสิตปริญญาโท
 

นาย วิเชียร กล่าวต่อว่า “เนื่องจากในคำพิพากษาศาลฎีกา ขณะที่เกิดเหตุ จำเลยขับรถเร็วไม่น้อยกว่า 215-257 กม.ต่อชั่วโมง แล้วรถฟอร์ดที่นางสาวธันฐภัทร และนายกฤษณะขับและนั่งอยู่ พลิกคว่ำและไถลไปตั้ง 230 เมตร ไฟคลอกเสียชีวิตคารถ ภาพตรงนั้นมันยังติดตาติดใจของสังคมอยู่ ทางผู้เสียหาย คือโจทก์ร่วมที่ 3-4 เขาแจงว่าลูกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม การที่พักโทษให้จำเลยในคดีนี้ แล้วปกติเขาพักโทษให้ทุกคนไหม หรือพักโทษให้เฉพาะบางคน เราก็ตองการคำตอบ”

ทนายความรายนี้ ยังระบุว่า ทำหนังสือทวงถามถึงกรมราชทัณฑ์แล้ว โดยส่งไปทางไปรษณีย์ เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกรมราชทัณฑ์ว่าจะพิจารณาเรื่องการพักโทษอย่างไร

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า  การคุมความประพฤติผู้ได้รับการพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษจำคุก ของกรมคุมประพฤติ ระบุว่า การพักการลงโทษและลดวันต้องโทษจำคุก เป็นมาตรการที่กรมราชทัณฑ์นำมาใช้ในการปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดที่มีความประพฤติดีและอยู่ในระเบียบวินัย มีความอุตสาหะ ตั้งใจศึกษาอบรม ขยันฝึกวิชาชีพและทำความชอบแก่ราชการ ได้ออกไปสู่ครอบครัวและชุมชนก่อนครบกำหนดโทษ ภายใต้เงื่อนไขการคุมประพฤติ

ทั้งนี้ ประเภทของการคุมความประพฤติผู้ได้รับการพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษจำคุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.การพักการลงโทษ (Parole) หมายถึง การปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดออกมาอยู่นอกเรือนจำก่อนครบกำหนดโทษภายใต้เงื่อนไขการคุมความประพฤติ และจะพึงกระทำได้เมื่อนักโทษเด็ดขาดนั้นได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกำหนดโทษตามหมายศาลในขณะนั้น ให้กำหนดไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่ไม่เกินกำหนดโทษที่ยังเหลืออยู่

2.การลดวันต้องโทษ (Good-Time Allowance) หมายถึง การประโยชน์ลดวันต้องโทษจำคุกแก่นักโทษเด็ดขาดที่มีความประพฤติดีในระหว่างต้องโทษในเรือนจำ ซึ่งจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือไม่น้อยกว่าสิบปี ในกรณีที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตที่มีการเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุกมีกำหนดระยะเวลา ซึ่งนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับการลดวันต้องโทษจำคุก ต้องเป็นนักโทษชั้นดีขึ้นไปเท่านั้น

 

ทนายค้านสุดตัว กรมราชทัณฑ์จ่อพักโทษ "เสี่ยเจนภพ" ติดคุกไม่ถึง 1 ปี ซิ่งเบนซ์คร่า 2 ชีวิต นิสิตปริญญาโท