อดีตรองอธิการบดีมธ. จวกม็อบเพนกวิน เจตนาคุกคามเบื้องสูง เห็นใจสุดธรรมศาสตร์ถูกกดดัน

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่เหล่าแกนนำพยายามที่จะหาทางในการจัดชุมนุมที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อยื่นข้อเสนอ 3 ข้อให้กับทางรัฐบาลเพื่อให้เกิดการปฏิรูปการปกครองประเทศเสียใหม่ เนื่องจากพวกเขามาองที่เป็นอยู่นี้มีหลายบุคคลที่ไม่ได้รับความเสมอภาคเท่าที่ควร แต่แล้วกิจกรรมนี้ก็ต้องถูกเบรกอย่างเร่งด่วนเนื่องจากเกรงว่า หากมีการชุมนุมเกิดขึ้น เหล่าแกนนำจะไม่ได้จี้รัฐบาลเพียงแค่การปรับปรุงประเทศ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่เหล่าแกนนำพยายามที่จะหาทางในการจัดชุมนุมที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อยื่นข้อเสนอ 3 ข้อให้กับทางรัฐบาลเพื่อให้เกิดการปฏิรูปการปกครองประเทศเสียใหม่ เนื่องจากพวกเขามาองที่เป็นอยู่นี้มีหลายบุคคลที่ไม่ได้รับความเสมอภาคเท่าที่ควร แต่แล้วกิจกรรมนี้ก็ต้องถูกเบรกอย่างเร่งด่วนเนื่องจากเกรงว่า หากมีการชุมนุมเกิดขึ้น เหล่าแกนนำจะไม่ได้จี้รัฐบาลเพียงแค่การปรับปรุงประเทศ

ล่าสุดรศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความแสดงความเห็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "ใครก็ตามที่เห็นว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ควรอนุญาตให้กลุ่ม แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จัดชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันเสาร์ที่ 19 กันยายน นี้ ทั้งที่ทราบว่าแกนนำการชุมนุมประกาศอย่างชัดแจ้งว่า วัตถุประสงค์ของการชุมนุมคือต้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และจะมีการพูดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์แบบ เบิ้มๆ ทั้งยังประกาศจะยึดสนามหลวง และเคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดความวุ่นวายที่คุมไม่ได้อย่างยิ่ง


เหตุผลที่เห็นด้วยกับการชุมนุมการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือ นักศึกษาควรมีเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง และการพูดเรื่องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งที่ทำได้ ไม่ผิดอะไร และยังมีความปลอดภัยต่อผู้ชุมนุมมากกว่า หากชุมนุมกันภายในมหาวิทยาลัย ถามจริงๆเถอะว่า ผู้ที่เห็นด้วย เคยอ่านหน้าแรกของเอกสารข้อเรียกร้อง 10 ข้อซึ่งเป็นข้อกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไม่เป็นธรรมหรือไม่ เคยได้ฟังการปราศรัยจของ นาย อานนท์ นำภา นาย ภานุพงศ์ จาดนอก นางสาว ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง และนาย พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิ้น ปราศรัยในการชุมนุมในที่ต่างๆ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ซึ่งเต็มไปด้วยการดูหมิ่น เย้ยหยัน ประชดประชันเสียดสี และข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรม ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือไม่

 

หากไม่เคยได้อ่าน ได้ฟังเลย ยังพออนุมานได้ว่า ความคิดเห็นดังกล่าวมีความจริงใจ  หากเคยอ่าน เคยฟังมาแล้ว มีคำอธิบายได้อย่างเดียวคือ
ผู้ที่สนับสนุนทราบดีว่า ในการชุมนุมวันที่ 19 กันยายน แกนนำการชุมนุมเหล่านี้จะมีการ จาบจ้วง เย้ยหยัน ดูหมิ่น และตั้งข้อกล่าวหาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างแน่นอน แต่ตั้งใจมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป เพราะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน หรืออาจมีผลประโยชน์ร่วมกัน ผู้ที่ยังไม่อ่าน ไม่เคยฟัง ขอแนะนำว่าให้ไปอ่าน ไปฟังเสีย บางทีอาจจะตาสว่างขึ้นได้ ส่วนผู้ที่เคยอ่าน เคยฟัง แต่ยังมีความเห็นสนับสนุนการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คงต้องปล่อยไป เพราะไม่สามารถใช้เหตุผลมาพูดกันได้แล้ว น่าเห็นใจผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่กำลังถูกกดดันจากทั้งผู้สนับสนุน และผู้คัดค้าน เชื่อว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะทำในสิ่งที่ถูก ที่ควร และเหมาะสม และประคับประคอง ไม่ให้เกิดเหตุรุนแรงจนมีการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายใด  เอาใจช่วยนะครับ

 

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. จวกม็อบเพนกวิน เจตนาคุกคามเบื้องสูง เห็นใจสุดธรรมศาสตร์ถูกกดดัน

โดยก่อนหน้านั้น อดีตรองอธิการบดีมธ. ยังได้โพสต์ข้อความอีกว่า "การประกาศไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อจัดชุมนุมทางการเมือง ในวันที่ 19 กันยายนนี้ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำเป็นต้องทำ ไม่ใช่เพราะใครบังคับ แต่เป็นเพราะไม่มีทางเลือกอื่นอีก  การที่แกนนำประกาศชัดว่าการชุมนุมในวันดังกล่าว เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งยังบอกด้วยว่าจะพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์แบบ “เบิ้มๆ” ดังนั้นการพูดจาบจ้วง กล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน หากมหาวิทยาลัยอนุญาต ก็เท่ากับเป็นผู้สนับสนุนให้มีการทำผิดกฎหมายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย เมื่อได้ทราบว่า มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ ไม่อนุญาตให้จัดการชุมชุม แกนนำจึงได้แถลงข่าว ด้วยความไม่พอใจ และยืนยันจะเดินหน้าจัดการชุมนุมเช่นเดิม โดยอ้างเหตุผลว่า


1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ชื่อว่า ภายในมหาวิทยาลัยมีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว การไม่อนุญาตให้จัดการชุมนุมครั้งนี้เป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของนักศึกษา
2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นของประชาชน ไม่ใช่เป็นของผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เป็นขี้ข้าเผด็จการ
เหตุผลข้อที่ 1 ไม่ว่าจะพูดกันกี่ครั้งก็ไม่ยอมฟังว่า เสรีภาพต้องอยู่ในขอบเขตของกฏหมายเสมอ 


จากประสบการณ์ของผม ในฐานะที่เคยรับผิดชอบดูแลกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในยุคที่ประโยค “มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว” กำลังแพร่หลาย ผมต้องคอยตรวจตรา ดูแลไม่ให้นักศึกษา ซึ่งในสมัยนั้นนิยมเล่นหมากรุกจีน ที่เรียกว่า
” เลี๊ยบตุ่ย “ ใช้ หมากรุกจีนบังหน้า แต่แท้ที่จริงแล้ว เอาตัวหมากเลี๊ยบตุ่ยมาเล่นแทนไพ่กินเงินกัน ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
มหาวิทยาลัยจึงปล่อยให้นักศึกษาเล่นการพนันในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยไม่ได้
ฉันใดก็ฉันนั้น


เหตุผลข้อที่ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นของประชาชน ไม่ใช่ของผู้บริหารที่เป็นขี้ข้าเผด็จการ
ก็ต้องยอมรับว่า มหาวิทยาลัยของรัฐ ต้องมีเงินสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งมาจากภาษีของประชาชน แต่มหาวิทยาลัย เป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ มีกฎข้อบังคับ และระเบียบต่างๆที่ใช้บังคับในการดำเนินงานต่างๆของมหาวิทยาลัย อธิการบดีและทีมงาน เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ให้ทำหน้าที่บริหาร และกำกับดูแลมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับเหล่านั้น


ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงมีอำนาจ และความชอบธรรม และจะต้องทำตามหน้าที่ที่ควรจะทำ หาใช่เป็นขี้ข้าหรือรับใช้ใครแต่อย่างใดไม่ เพียงแต่การทำหน้าที่ที่ควรจะทำของผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการกระทำที่ไม่ถูกใจแกนนำการชุมนุมเท่านั้น
คำกล่าวหาข้างต้น จึงเป็นคำกล่าวหาที่ไร้เหตุผลและไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง นอกจากนี้ การใช้คำว่า “ประชาชน”มา กล่าวอ้าง พึงทราบด้วยว่า ประชาชนไทย มีทั้งหมดกว่า 66 ล้านคน หากจะบอกว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นของประชาชน ก็จะต้องเป็นของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ของประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  แน่ใจได้อย่างไรว่าประชาชนทั้งประเทศ เห็นดีเห็นงามกับการกระทำของ “กลุ่มปลดแอก”ที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แน่นอนว่า การใช้วาจาจาบจ้วง ลบหลู่ และกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างรุนแรง ของแกนนำในการชุมนุมแต่ละครั้งที่ผ่านมา ได้สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนที่ยังคงมีความจงรัก ภักดีและเห็นความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และน่าจะเป็นส่วนใหญ่ของประเทศเสียด้วย

 

ดังนั้น ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ความแตกแยก ที่ร้าวลึก แบ่งฝ่าย ของสังคมไทยในอีกรูปแบบ ได้เกิดขึ้นแล้ว และกำลังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
การชุมนุมในวันที่ 19 กันยายน นี้ หากมีขึ้นจริง จึงมีความเสี่ยงไม่น้อยว่าจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้นจนคุมไม่อยู่ โปรดอย่าได้อ้างว่า สามารถรับประกันความปลอดภัยของผู้ร่วมชุมนุมได้ 100 % ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่การนองเลือด เช่นเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 จะเกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง หากการชุมนุมมีความยืดเยื้อ ดังที่มีหลายคนเป็นห่วงกัน  ขณะนี้ก็เริ่มมีกลุ่มอื่นๆ ที่เขาไม่เห็นด้วย เคลื่อนไหวกันหลายกลุ่มแล้ว ควรแล้วหรือ ที่จะให้ลูกหลาน ของประเทศ ออกไปรับความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น ในขณะที่สถานการณ์จริงยังไม่ได้สุกงอม ถึงขนาดจะต้องมีการ “พลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน” อย่างที่โฆษนากัน  ขอให้ไตร่ตรองกันให้ดี ก่อนตัดสินใจ อย่าลืมคำว่า “เสียใจ” เป็นคำที่กล่าวที่เกิดขึ้นในเวลาที่สายเกินไปแล้วทุกครั้ง"

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. จวกม็อบเพนกวิน เจตนาคุกคามเบื้องสูง เห็นใจสุดธรรมศาสตร์ถูกกดดัน

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. จวกม็อบเพนกวิน เจตนาคุกคามเบื้องสูง เห็นใจสุดธรรมศาสตร์ถูกกดดัน

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. จวกม็อบเพนกวิน เจตนาคุกคามเบื้องสูง เห็นใจสุดธรรมศาสตร์ถูกกดดัน

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. จวกม็อบเพนกวิน เจตนาคุกคามเบื้องสูง เห็นใจสุดธรรมศาสตร์ถูกกดดัน

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. จวกม็อบเพนกวิน เจตนาคุกคามเบื้องสูง เห็นใจสุดธรรมศาสตร์ถูกกดดัน

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. จวกม็อบเพนกวิน เจตนาคุกคามเบื้องสูง เห็นใจสุดธรรมศาสตร์ถูกกดดัน