อดีตรองอธิการบดีมธ. แจงชัดๆวิกฤตแผ่นดิน การเมืองก่อเหตุอะไรไว้บ้าง ซัดม็อบอย่าตัดตอนไล่นายกฯ ดันทุรังล้มสถาบันฯ

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไล่เรียงต้นเหตุทุกปัญหาการเมืองอดีต ก่อนถึงยุคพล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจรัฐประหาร ยุติความขัดแย้ง จากผลการกระทำของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังกลุ่มม็อบเลือกตัดตอนพูด โทษวิกฤตบ้านเมืองเกิดจากการรัฐประหาร

สืบเนื่องจากการที่ตัวแทนกลุ่มคณะราษฎร   นำโดย นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน , นายอรรถพล บัวพัฒน์ หรือ ครูใหญ่ กลุ่มขอนแก่นพอกันที ได้ร่วมกันแถลงการณ์อีกครั้งที่สนามหลวง ประกาศจุดยืนไม่ยอมรับ และไม่ขอร่วมสังฆกรรมกับคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น   เพราะมองว่าไม่อาจแก้ปัญหาได้ตามที่กล่าวอ้าง อีกทั้งเห็นว่าการดำรงตำแหน่งของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นอุปสรรคประการใหญ่ที่สุด ที่ขัดขวางการแก้ไขการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงยืนยันจุดยืนเดิม 3 ข้อเรียกร้อง คือ 1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2. แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้ร่างของประชาชน และ 3.ปฏิรูปสถาบัน
 

ล่าสุด  รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  "ในขณะที่รัฐบาลและท่านประธานรัฐสภากำลังเอาจริงเอาจังกับการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ และพรรคเพื่อไทยก็ดูจะมีทีท่าอ่อนลง ยอมเข้าร่วมด้วย แต่กลุ่มคณะราษฎร 2563 ยังคงยืนกระต่ายขาเดียวไม่ยอมเจรจาใดๆ ประกาศยืนยันข้อเรียกร้อง 3 ข้อ เช่นเดิม คือพลเอกประยุทธ์ต้องลาออก แก้รัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. แจงชัดๆวิกฤตแผ่นดิน การเมืองก่อเหตุอะไรไว้บ้าง ซัดม็อบอย่าตัดตอนไล่นายกฯ ดันทุรังล้มสถาบันฯ

ที่กล่าวหาพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าทำผิดร้ายแรง เนื่องจากทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่สู้เป็นธรรมต่อพลเอกประยุทธ์เท่าใดนัก   เพราะเป็นการกล่าวหา โดยเลือกให้ข้อมูลเฉพาะที่สนับสนุนข้อกล่าวหามาบอก แต่ตั้งใจตัดข้อมูลส่วนที่เป็นเหตุผลความจำเป็นของการทำรัฐประหารออกไปเสียทั้งหมด

เพื่อความเป็นธรรม ในที่นี้จะให้ข้อมูลทั้ง 2 ด้าน เราจะย้อนกลับไปดูว่ารัฐบาลที่ว่ามาจากการเลือกตั้ง คือรัฐบาล คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีที่มาอย่างไร การทำรัฐประหารมีเหตุผลสมควรหรือไม่ อย่างไร  รัฐบาลชุดก่อนรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ คือรัฐบาลคุณอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ ซึ่งก็เป็นรัฐบาลที่มาตามครรลองของประชาธิปไตยเช่นกัน  แต่ถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมจนทุกวันนี้ว่าล้อมปราบและเข่นฆ่าประชาชน(เสื้อแดง) ที่เพียงออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ในเดือน พฤษภาคม 2553 

 

ประการแรก การชุมนุมน่าจะไม่ใช่เป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะคุณอภิสิทธิ์ก็ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีในสภาผู้แทนราษฎร แต่ผู้ชุมนุมประท้วง ยื่นคำขาดให้คุณอภิสิทธิ์ยุบสภาภายใน 7 วัน เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพราะทราบดีว่า ผู้ที่กลุ่มนปช. สนับสนุนจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีก 

 

 

 

ประการที่ 2 การพูดว่า “ล้อมปราบ และเข่นฆ่า...”เป็นการพูดที่เกินจริง เพราะไม่ใช่เป็นการล้อมปราบ แต่เป็นการใช้กำลังทหารเข้าสลายชุมนุม เนื่องจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช มีกองกำลังติดอาวุธปะปนอยู่ในที่ชุมนุมด้วย หลังการชุมนุมยุติลง ก็ยังมีการเผาทำลายสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ และมีการเผาศาลากลางในจังหวัดต่างๆหลายจังหวัด แม้สลายการชุมนุมได้ แต่หลังจากนั้นอีก 1 ปี คุณอภิสิทธิ์ ก็ทำตามที่ได้ลั่นวาจาไว้ คือยอมยุบสภาตามข้อเรียกร้องของนปช. เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. แจงชัดๆวิกฤตแผ่นดิน การเมืองก่อเหตุอะไรไว้บ้าง ซัดม็อบอย่าตัดตอนไล่นายกฯ ดันทุรังล้มสถาบันฯ

 

ในการเลือกตั้งหลังยุบสภา คุณทักษิณ ชินวัตร ให้พรรคเพื่อไทย ซึ่งใช้สโลแกนว่า “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” ส่งคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวคุณทักษิณ ซึ่งไม่ประสีประสา และไม่มีความพร้อมแม้แต่น้อย ลงสมัครเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรี  ถึงกระนั้นพรรคเพื่อไทยก็ชนะการเลือกตั้ง เป็นผลให้คุณยิ่งลักษณ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีสมใจคุณทักษิณ 

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. แจงชัดๆวิกฤตแผ่นดิน การเมืองก่อเหตุอะไรไว้บ้าง ซัดม็อบอย่าตัดตอนไล่นายกฯ ดันทุรังล้มสถาบันฯ

 

เมื่อพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง  กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เคยประท้วงขับไล่ระบอบทักษิณก็ไม่กลับมาประท้วงอีก   เพื่อให้โอกาส รัฐบาลพรรคเพื่อไทยทำงานพิสูจน์ตัวเอง รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ เมื่อบริหารประเทศ ก็ยังคงบริหารตามแบบระบอบทักษิณ กล่าวคือ ส่งคนของตัวเองเข้าไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่ทำกำไรทุกรัฐวิสาหกิจ แทรกแซงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แทรกแซงวุฒิสภา และมีการทุจริตคอรัปชั่น ที่เป็นการทุจริตที่ชัดเจนที่สุดคือโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ซึ่งทั้ง TDRI และ ปปช มีหนังสือทักท้วงหลายครั้ง ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น แต่คุณยิ่งลักษณ์ ก็ยังดึงดันทำต่อไป จนสร้างความเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท ยังไม่รวมถึงจำนวนเงินที่มีการทุจริต โดยขายข้าวให้กับพรรคพวกตัวเอง แต่ทำหลักฐานเป็นการขายแบบรัฐต่อรัฐ

 

ฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้มีคนออกมาประท้วงบนท้องถนนเป็นเรือนล้าน คือการที่นายวรชัย เหมะ ส.ส.พรรคเพื่อไทยเสนอร่างพรบ นิรโทษกรรมแบบสุดซอย คือนิรโทษกรรมทั้งหมด ทั้งผู้ที่ต้องคดีการเมือง รวมทั้งคนที่โดนข้อหาทุจริต ก็จะได้อานิสงส์ไปด้วย ซึ่งหากผ่านแล้ว คุณทักษิณ จะสามารถกลับเข้าประเทศได้แบบไม่มีคดีอะไรติดตัวเลย

อดีตรองอธิการบดีมธ. แจงชัดๆวิกฤตแผ่นดิน การเมืองก่อเหตุอะไรไว้บ้าง ซัดม็อบอย่าตัดตอนไล่นายกฯ ดันทุรังล้มสถาบันฯ

 

พรรคเพื่อไทยใช้เสียงข้างมากผ่านพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวในสภาผู้แทนราษฎร อย่างฉลุยในเวลา 02.30 น ทำให้คนออกมาประท้วงชนิดมืดฟ้ามัวดิน เป็นผลให้วุฒิสภาไม่กล้าผ่านให้ พรบ ฉบับนี้จึงตกไปในที่สุด การประท้วงไม่ได้หยุดยั้งลง ยังคงดำเนินต่อไป โดยคราวนี้เป็นการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี คือคุณยิ่งลักษณ์ลาออก แต่จะอย่างไรคุณยิ่งลักษณ์ก็ไม่ยอมลาออก แต่เลี่ยงไปเป็นการยุบสภา เพราะเชื่อว่าภายใต้กติกาเดิม ต้องได้รับเลือกตั้งกลับมาใหม่ 

 

ผู้ชุมนุมประท้วงก็ทราบดีว่า หากคุณยิ่งลักษณ์ได้รับการเลือกตั้งกลับมาใหม่ ผลก็คือรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์จะทำอะไรก็ได้ โดยอ้างความชอบธรรมที่ได้รับเลือกตั้งกลับมาอีกครั้ง การประท้วงจึงเปลี่ยนเป้าหมายมาเป็นการขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้ง 

 

ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เนื่องจากไม่มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งถึง 28 เขตเลือกตั้ง คุณยิ่งลักษณ์ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถอดถอนออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีมีคำสั่งย้ายคุณถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อย่างไม่เป็นธรรม คุณชัยเกษม นิติศิริ ต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการ แต่รัฐบาลก็ยังไม่ยอมออก การประท้วงยังคงยืดเยื้อต่อไป แต่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีรักษาการยังคงยืนกราน ไม่ลาออก

 

สถานการณ์บ้านเมืองจึงมาถึงทางตัน ไม่มีใครยอมใคร รัฐบาลรักษาการก็ไม่มีอำนาจพอที่จะบริหารประเทศตามปกติได้ เช่น กรณีการจำนำข้าว เนื่องจากขาดทุนมหาศาล รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายชาวนา ต้องกู้เงิน แต่รัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจกู้เงินได้ ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินให้กับชาวนาได้ ทำให้มีชาวนาหลายคนถึงกับฆ่าตัวตาย 

 

การประท้วงครั้งนี้ แม้ไม่มีการสลายการชุมนุม แต่ก็มีคนบางกลุ่ม ไม่ชัดเจนว่าเป็นใคร วางระเบิด ขว้างระเบิด และมีการใช้อาวุธสงครามกราดยิงผู้ประท้วงที่ค้างคืนที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นเหตุให้มีบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายคน  รวมทั้งหมดตลอดการประท้วง มีผู้เสียชีวิต 27 ราย บาดเจ็บกว่า 200 ราย นอกจากนี้กลุ่ม นปช ก็จัดการชุมนุมคู่ขนานไปด้วย ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าจะมีการปะทะกัน 


พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก ได้เชิญผู้แทนทั้งฝ่ายประท้วงและฝ่ายรัฐบาลรักษาการ มาเจรจาทำความตกลงกันที่สโมสรทหารบกและขอให้ผู้รักษาการนายกรัฐมนตรี คือคุณชัยเกษม นิติศิริ ลาออก คุณชัยเกษม ปฏิเสธ ทันที แบบไม่มีการลังเล

 

นั่นเป็นจุดแตกหักที่ทำให้เกิดการทำรัฐประหาร จะเห็นว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้ทำรัฐประหารโดยไม่มีเงื่อนไขที่สุกงอม ที่ไม่เหมาะสมคือ  เมื่อทำรัฐประหารแล้ว พลเอกประยุทธ์ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเสียเอง แทนที่จะให้คนกลางที่มีความรู้ความสามารถที่ได้รับการยอมรับ มาเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งยังตั้งนายทหารเข้ามาเป็นรัฐมนตรีในจำนวนที่มากเกินไป ความไม่เหมาะสมอีกประการคือ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์หรือรัฐบาล คสช. ใช้เวลานานถึง 5 ปี กว่าที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่ 

 

โดยใช้เหตุผล ที่ฟังขึ้นว่า ต้องให้มีการปฏิรูปประเทศก่อน แต่แล้ว  แต่การปฏิรูป นอกจากการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยผ่านประชามติ และการจัดทำพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้ว การปฏิรูปด้านอื่นๆ ยังคงอยู่บนแผ่นกระดาษหรือในไฟล์อีเล็คโทรนิค ไม่มีการนำไปปฏิบัติแต่อย่างใด จะเรียกว่าการปฏิรูปประเทศ ตามที่สัญญาไว้หากจะบอกว่านี่เป็นความล้มเหลวของรัฐบาล คสช. ก็คงไม่ผิดความจริงแต่อย่างใด

 

ความไม่เหมาะสมประการสุดท้ายคือการที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ ด้วยเกรงว่า เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว พรรคการเมืองของคุณทักษิณจะชนะเลือกตั้งอีก จึงพยายามสืบทอดอำนาจด้วยการตั้งพรรคการเมืองใหม่ของตัวเอง ลงสู้ในสนามเลือกตั้ง โดยซึ่งก็ทำให้พลเอกประยุทธ์ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มาตามครรลองของประชาธิปไตย มิได้มาจากการยึดอำนาจ 

 

รัฐธรรมนูญที่ว่าเขียนขึ้นโดยเอื้อให้มีการสืบทอดอำนาจได้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับ แต่ที่มีเนื้อความที่ทำให้คสช.ได้เปรียบ ก็อยู่ในบทเฉพาะกาล เหลืออีก 2 ปีกว่าๆ ก็จะสิ้นสภาพไปเอง และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีการถามประชาชน ตามคำถามแนบท้าย และได้ผ่านประชามติมาแล้ว

 

หากถามว่าพลเอกประยุทธ์ควรลาออกหรือไม่ ว่ากันตามจริงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ชุดนี้ ก็ใช่ว่าจะไม่มีผลงานเสียทีเดียว นอกจากความล้มเหลวในการปฏิรูปประเทศแล้ว ผลงานที่เป็นรูปธรรมให้เห็นมีอยู่ไม่น้อย ทั้งการสร้างระบบคมนาคมต่างๆ การจัดระเบียบสถานที่ที่อยู่ริมคลอง จนสะอาด เป็นระเบียบ การผ่านกฎหมายสำคัญ เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และภาษีมรดก เรื่องเศรษฐกิจ จะโทษรัฐบาลเสียทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะเป็นปัญหากันทั้งโลก 

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. แจงชัดๆวิกฤตแผ่นดิน การเมืองก่อเหตุอะไรไว้บ้าง ซัดม็อบอย่าตัดตอนไล่นายกฯ ดันทุรังล้มสถาบันฯ

 

ที่สำคัญคือรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ ยังไม่มีการทุจริตคอรัปชั่นให้เห็นอย่างเด่นชัดเหมือนรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ หากพลเอก ประยุทธ์ลาออก การเมืองก็จะมีความวุ่นวาย วิ่งเต้นจับขั้วกันใหม่ กว่าจะตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็ใช้เวลาไม่น้อย และยังอาจได้นายกรัฐมนตรีคนเดิมกลับมาอีกก็เป็นได้ เพราะหากไม่มีการเจรจาจนบรรลุข้อตกลงกันทุกฝ่าย การที่จะให้วุฒิสมาชิกทุกคนงดออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นความเพ้อฝันที่เป็นจริงได้ยากมาก

 

ทางเลือกที่ดีที่สุดของม็อบ และเป็นผลดีต่อบ้านเมืองด้วย คือหยุดการชุมนุม ยอมเข้าสู่โหมดเจรจา และมุ่งกดดันข้อเรียกร้องข้อที่ 2 นั่นคือให้มีการแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยเร็ว และเรียกร้องให้ยุบสภาและเลือกคั้งใหม่โดยเร็วเช่นกัน  เช่นนี้จะเป็นการเห็นแก่บ้านเมือง อย่าลืมว่า พลังเงียบใส่เสื้อเหลืองออกมาแสดงพลังมากขึ้นทุกวัน และมีจำนวนมากกว่าม็อบคณะราษฎรแล้ว  เลิกหวังที่จะล้มสถาบันพระมหากษัตริย์เสียเถิด เพราะไม่มีโอกาสเป็นไปได้เลย 

 

หากยังดันทุรังกันไม่เลิก สุดท้ายแกนนำทั้งหลายนั่นแหละ จะลำบาก  ส่วนคนที่อยู่เบื้องหลังจะอยู่รอดปลอดภัย แต่จะนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับว่าผลกรรมที่ก่อไว้ จะตามทันเมื่อใด ต้องคอยดู..."

 

อดีตรองอธิการบดีมธ. แจงชัดๆวิกฤตแผ่นดิน การเมืองก่อเหตุอะไรไว้บ้าง ซัดม็อบอย่าตัดตอนไล่นายกฯ ดันทุรังล้มสถาบันฯ

อดีตรองอธิการบดีมธ. แจงชัดๆวิกฤตแผ่นดิน การเมืองก่อเหตุอะไรไว้บ้าง ซัดม็อบอย่าตัดตอนไล่นายกฯ ดันทุรังล้มสถาบันฯ

>> Lazada ลดแหลก แจกกระจาย ถูกสุดในรอบปี! 11.11 ฟรีจัดส่ง ลดสูงสุด 90% <<