ตำแหน่งสุดท้ายในวงการบันเทิงของ ต้อย เศรษฐา สิ้นศิลปินแห่งชาติระดับตำนาน

อาลัยการจากไปของ อาต้อย เศรษฐา ศิระฉายา สิ้นศิลปินแห่งชาติ-ศิลปินระดับตำนาน เผยตำแหน่งสุดท้ายในวงการบันเทิง

 กรณีข่าวเศร้าวงการบันเทิง "อาต้อย เศรษฐา" เศรษฐา ศิระฉายา เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งปอดเมื่อเวลา 04.42 น . ของวันอาทิตย์ที่20 กุมภาพันธ์ 2565 ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สิริอายุ77 ปี โดยจะตั้งสวดอภิธรรม ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 17.30 น. ณ ศาลา 1วัดเทพศิรินทราวาสกำหนดสวดพระอภิธรรมศพ ระหว่างวันที่ 21-27 กุมภาพันธ์ เวลา 19.00 น.    ซึ่งจะเก็บร่างไว้บำเพ็ญกุศล 100วัน และจะดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพต่อไป


 เปิดประวัติ ต้อยเศรษฐา ศิระฉายา (เกิด 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 -) ชื่อเล่น ต้อย เป็นพิธีกร นักแสดง และอดีตนักร้องนำวงดิอิมพอสซิเบิ้ล วงสตริงคอมโบที่ประสบความสำเร็จและยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับวงดนตรีหลายวงที่กำเนิดขึ้นในยุคต่อมา ในปี พ.ศ. 2554 เศรษฐาได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล)

 

ตำแหน่งสุดท้ายในวงการบันเทิงของ ต้อย เศรษฐา สิ้นศิลปินแห่งชาติระดับตำนาน
ตำแหน่งสุดท้ายในวงการบันเทิง ประธานมูลนิธิสวัสดิการนักแสดงอาวุโส  โดย เศรษฐา ศิระฉายา เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 จังหวัดพระนคร จบมัธยมปลายจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ เข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุประมาณ 16 ปี ด้วยการขนเครื่องดนตรีในวงดนตรีตามคำชักชวนของน้าชายของเขา สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ชื่อดังในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ต่อมาเศรษฐาได้ฝึกหัดทักษะด้านดนตรีแบบครูพักลักจำ จนกระทั่งได้ก้าวขึ้นมาเป็นนักร้องตามสถานบันเทิงต่าง ๆ เช่น ตั้งวงหลุยส์กีต้าร์เกิร์ล กระทั่งได้รวมตัวกับเพื่อน ๆ นักดนตรีตั้งวงดนตรี Holiday J-3 ร่วมกับวินัย พันธุรักษ์, พิชัย ทองเนียม, อนุสรณ์ พัฒนกุล และสุเมธ อินทรสูต ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น Joint Reaction และเปลี่ยนอีกครั้งในชื่อ ดิอิมพอสซิเบิ้ล (The Impossibles)

ตำแหน่งสุดท้ายในวงการบันเทิงของ ต้อย เศรษฐา สิ้นศิลปินแห่งชาติระดับตำนาน

ซึ่งเป็นชื่อการ์ตูนชื่อดังของอเมริกาในสมัยนั้น โดยเขารับบทบาทเป็นนักร้องนำ ปี พ.ศ. 2512 ดิอิมพอสซิเบิ้ลสามารถคว้าถ้วยพระราชทานรางวัลชนะเลิศการประกวดวงสตริงคอมโบ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งผลให้เริ่มเป็นที่นิยมและเป็นจุดเปลี่ยนให้เศรษฐาได้เข้ามาสัมผัสโลกภาพยนตร์เป็นครั้งแรก เมื่อเขาและเพื่อน ๆ ได้รับการทาบทามจาก เปี๊ยก โปสเตอร์ ให้มาร่วมบรรเลงเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง โทน (2513)


เศรษฐา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรโครงการพิเศษ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีและปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

 

ตำแหน่งสุดท้ายในวงการบันเทิงของ ต้อย เศรษฐา สิ้นศิลปินแห่งชาติระดับตำนาน
ดิอิมพอสซิเบิ้ลยังคงชนะเลิศการประกวดวงสตริงคอมโบอีก 2 ครั้งติดต่อกัน หลังจากนั้นและได้บรรเลงเพลงประกอบภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง อาทิ ดวง (2514), สวนสน (2514), ระเริงชล (2515), ตัดเหลี่ยมเพชร (2518) ฯลฯ กลายเป็นวงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ปี พ.ศ. 2518 หลังกลับมาจากการไปทัวร์ที่ต่างประเทศ เศรษฐาก็ได้รับการชักชวนจาก จุรี โอศิริ ให้มาแสดงภาพยนตร์อย่างจริงจังครั้งแรกคือเรื่อง ฝ้ายแกมแพร (2518) แต่ก็ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมมาครองจากผลงานดังกล่าวได้ทันที

ตำแหน่งสุดท้ายในวงการบันเทิงของ ต้อย เศรษฐา สิ้นศิลปินแห่งชาติระดับตำนาน
ปี พ.ศ. 2519 ดิอิมพอสซิเบิ้ลประกาศยุบวงอย่างเป็นทางการ เศรษฐาจึงก้าวเข้าสู่โลกมายาอย่างเต็มตัว มีบทบาทโดดเด่นทั้งการเป็นพิธีกรและนักแสดง นับเป็นดารายอดฝีมือคนหนึ่งซึ่งสามารถรับบทบาทได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นบทดี บทร้าย บทตลก ส่งผลให้มีผลงานออกมามากมายจวบจนปัจจุบัน โดยเรื่องที่โดดเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งคือ ชื่นรัก (2522) ซึ่งเขาได้รับบทพระเอกประกบคู่กับ อรัญญา นามวงศ์ นางเอกชื่อดัง เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ให้ทั้งคู่กลายเป็นคู่ชีวิตกันในเวลาต่อมา


ปี พ.ศ. 2554 เศรษฐา ศิระฉายา ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)


สมรสกับ อรัญญา นามวงศ์ มีบุตรสาว 1 คน ชื่อ พุทธิดา ศิระฉายา หรือน้องอิ๊ฟ แต่งงานสมรสกับหนุ่มนักธุรกิจ ต้น - เติมศักดิ์ ศักดาพร เคยทำธุรกิจร้านขายหอยทอดร่วมกับภรรยา ที่ศูนย์อาหาร ศูนย์การค้ามาบุญครองตั้งแต่ศูนย์การค้าเริ่มเปิดดำเนินการใหม่ ๆ ปัจจุบันเป็นผู้สร้างละครโทรทัศน์ในสังกัดช่อง 3 และช่อง 7


รางวัลที่ได้รับ
* พ.ศ. 2553 : รางวัลพระราชทานบันเทิงเทิดธรรม (พ.ศ. 2553) จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
* พ.ศ. 2553 :รางวัลการเชิดชูบุคคล ทางด้านผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2553
* พ.ศ. 2554 : รางวัลศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
* พ.ศ. 2551 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)
* พ.ศ. 2552 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
* พ.ศ. 2555เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)

 

ขอบคุณ
ดาราภาพยนตร์
thaimovieposter