เผยบันทึก "พ่อแตงโม" เซ็นหย่าขาดคุณแม่ เลี้ยงดูลูกคนเดียวตั้งแต่ 5 ขวบ

เผยบันทึก "พ่อแตงโม" เซ็นหย่าขาดคุณแม่ เลี้ยงดูลูกคนเดียวตั้งแต่ 5 ขวบ ย้ำ "ลูกต้องอยู่กับเรา" เสียอะไรก็ยอม

เผยบันทึกพ่อแตงโม เซ็นหย่าเลี้ยงดูตั้งแต่ 5 ขวบ ย้ำ "ลูกต้องอยู่กับเรา" เสียบ้านทั้งหลังก็ยอม โดยทางเพจ ณ บ้านวรรณกรรม ได้โพสต์ข้อความทั้งหมด ระบุไว้ว่า

จากบันทึกข้อเขียนโดย #โสภณ_พัชรวีระพงษ์
ในหนังสือ #เล่าถึงลูก #แตงโม_ภัทรธิดา #ตามประสาพ่อ
บรรณาธิการโดย รักชนก นามทอน 
สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม @ พุทธศักราช 2548
...........................................................................
คำพูดนี้ที่ว่า #รักกันจนตายแทนกันได้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะเคยได้ยินกันมา เมื่อก่อนคุณพ่อนึกภาพไม่ออกว่า...การตายแทนกันได้มันเกิดขึ้นได้จริงหรือ?  ชีวิตใครใครก็รัก แถมแต่ละคนก็มีญาติพี่น้องลูกหลานผูกพันกันไว้อีก
มันน่าจะเป็นคำพูดในเชิงอุปมาอุปไมยมากกว่า

เผยบันทึก "พ่อแตงโม" เซ็นหย่าขาดคุณแม่ เลี้ยงดูลูกคนเดียวตั้งแต่ 5 ขวบ

มีอยู่วันหนึ่ง เวลาตอนเย็น ขณะนั่งกินข้าวที่โต๊ะหินหน้าบ้าน น้องโมปีนขึ้นลงอีท่าไหนไม่รู้ เหยียบเท้าพลาด หัวกระแทกขอบโต๊ะหินเลือดอาบ ต้องรีบนำส่งคลินิกบริเวณปากทางเข้าหมู่บ้าน พอไปถึงคลินิกดังกล่าวมีหมอกับพยาบาลอยู่อย่างละคน คุณหมอดูอาการแล้วบอกว่าเป็นแผลค่อนข้างกว้าง ต้องเย็บแผลกันเดี๋ยวนั้น และที่สำคัญเป็นการเย็บแผลแบบสด ๆ
 

ปัญหาคือแผลอยู่บริเวณหลังท้ายทอย เลือดออกเยอะ น้องโมเจ็บมากร้องไห้ดังลั่น เจ้าหน้าที่บุคลากรมีอยู่เพียงสองคน คือคุณหมอกับพยาบาล แต่เวลาคุณหมอจะเย็บแผล ต้องจับน้องโมนอนคว่ำ พยาบาลช่วยจับแขน คุณพ่อต้องช่วยจับขาทั้งสองข้างไว้ไม่ให้แกดิ้น การเย็บแผลสด ๆ มันเจ็บมาก แต่เราคนเป็นพ่อจำต้องจับตัวเขาไว้เพื่อให้เขาต้องเผชิญความเจ็บปวดนั้นด้วยตัวเอง
เผยบันทึก "พ่อแตงโม" เซ็นหย่าขาดคุณแม่ เลี้ยงดูลูกคนเดียวตั้งแต่ 5 ขวบ

รู้ทั้งรู้ว่าความเจ็บปวดนั้นคือการรักษาให้เขาหาย แต่ในนาทีนั้นเรารู้สึกเจ็บปวดยิ่งกว่าลูกเสียอีกไม่รู้เป็นกี่ร้อยเท่า เราอยากจะเจ็บแทนเขา อยากให้เป็นตัวเราไม่ใช่เขา
#น้ำตาลูกไหล #น้ำตาคุณพ่อก็ไหลไปด้วย

วินาทีนั้น ความรู้ซึ้งถึงคำที่พ่อแม่เคยบอกเราว่า...
#เขารักเราจนตายแทนเราได้ นั้น หมายความว่าอะไร
เป็นคำพูดที่หมายถึงอย่างที่พูดจริง ๆ 
และที่สำคัญทำได้จริง ๆ หากได้ทำหรือทำแทนกันได้

เผยบันทึก "พ่อแตงโม" เซ็นหย่าขาดคุณแม่ เลี้ยงดูลูกคนเดียวตั้งแต่ 5 ขวบ

เข้าใจซึ้งถึงกฎเกณฑ์อีกอย่างของวงการแพทย์ ทำไมเขาถึงไม่ให้แพทย์ผ่าตัดให้ลูกเมีย พ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิด ก็เพราะความรู้สึกอย่างนี้นี่เอง คุณพ่อเชื่อว่าในวันนั้น หากเด็กที่ต้องจับไว้ให้คุณหมอท่านนั้นเย็บแผลสด ๆ เป็นลูกคุณหมอ ท่านก็คงจะทำไม่ได้ลงคอ หรือ หากทำได้ คุณหมอก็คงจะต้องทำไปร้องไห้ไปเหมือนกันกับเรา

กฎเกณฑ์บางอย่างหรือคำสอนของคนสมัยก่อน ที่สอนกันไว้หรือห้ามเอาไว้ คุณพ่อพยายามสอนน้องโมไว้ว่า ห้ามไปฝืน ห้ามไปมองข้ามหรือละเลย เพราะในบางครั้งจะถึงแก่ชีวิตหรือได้รับความเสียหายร้ายแรงได้ เพราะไอ้ที่เราคิดว่าเราทำได้ เราสามารถพอ เอาเข้าจริง ๆ มันทำไม่ได้ ไม่ใช่เพราะไม่มีความสามารถ แต่บางเรื่องเป็นเรื่องของใจ เป็นเรื่องต้องใช้องค์ประกอบอย่างอื่น 
เผยบันทึก "พ่อแตงโม" เซ็นหย่าขาดคุณแม่ เลี้ยงดูลูกคนเดียวตั้งแต่ 5 ขวบ

คนโบราณท่านเจอมาก่อนเรา ท่านจึงสอนไว้ ห้ามไว้ ไม่ให้คนรุ่นหลังต้องไปประสบด้วยตัวเองเหมือนคนรุ่นท่านที่เจอมาแล้ว จนมีข้อสรุปแล้ว คนรุ่นหลังอย่างเราจึงควรเชื่อฟัง ไม่ต้องไปเสียค่าเล่าเรียนด้วยราคาแพง

หลาย ๆ เรื่องที่สอนน้องโมไว้ในการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ใช้หลักความรู้และความเข้าใจในลักษณะนี้ให้กับเขา เช่นอะไรก็ตามที่เป็น Axiom หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า ‘สิ่งซึ่งไม่ต้องพิสูจน์’ แล้วนั้น ขอให้ยึดถือด้วยความเคร่งครัดไว้ก่อน อย่าไปประมาทกับมันเป็นอันขาด เช่น การขับรถ การที่เขาห้ามไม่ให้แซงทางโค้ง เขามีเหตุผลว่ามันหลอกตา ระยะทางที่เราคิดว่ายังพอแซงแล้วหลบได้นั้น มันไม่ได้เป็นอย่างที่ตาเรามองเห็น เป็นต้น
 

เผยบันทึก "พ่อแตงโม" เซ็นหย่าขาดคุณแม่ เลี้ยงดูลูกคนเดียวตั้งแต่ 5 ขวบ

เวลาสอนลูก คุณพ่อจะคุยกันถึงที่มาที่ไป หลักทฤษฎี หลักปฏิบัติ หรืออะไรที่ชาวบ้านชอบปฏิบัติด้วยเหตุผลอะไร...บางอย่างที่ทำ ๆ กันอยู่ ทำอย่างผิด ๆ ก็มี ทำกันด้วยความเข้าใจก็มี ทำไปด้วยความไม่รู้ก็มี 

เราต้องแยกแยะวิเคราะห์ให้ออกให้ถูกต้อง คำพูดที่ว่า ‘คนอื่นก็ทำกันอย่างนี้’ ...ไม่เพียงพอในครอบครัวคุณพ่อกับน้องโม มันต้องมีคำอธิบายต่อว่าทำไมเขาจึงทำกันอย่างนั้น แล้วก็จะเห็นเองว่า ที่เขาทำ ๆ กันนั้น มันทำด้วยความรู้หรือไม่รู้ ถูกหรือผิด ต้องโต้เถียงกันด้วยเหตุผลกันก่อน จึงยอมให้นำไปปฏิบัติได้

เผยบันทึก "พ่อแตงโม" เซ็นหย่าขาดคุณแม่ เลี้ยงดูลูกคนเดียวตั้งแต่ 5 ขวบ

หากเราทำอะไรด้วยเหตุด้วยผล ทำอะไรด้วยความรู้ตัว ก็น่าจะส่งผลดีต่อตัวเราเองและคนใกล้เคียง อย่างน้อยที่สุด เวลาผลมันไม่เกิดตามที่เราคาดหวัง เราก็สามารถมีคำตอบหรืออธิบายได้ว่ามันเป็นเพราะอะไร แล้ววิธีแก้ไขเป็นอย่างไร มันก็จะรู้ได้เองโดยอัตโนมัติ
 

น้องโมถูกสอนให้ ‘รู้ตัว’ อยู่เสมอว่า...กำลังทำอะไรอยู่ 
และกำลังทำอะไรเพื่ออะไร ทุกอย่างต้องชัดเจน

คุณพ่อสอนน้องโมมาในหลักการนี้ตั้งแต่เขาอายุห้าขวบ ถึงแม้จะรู้ดีว่าในบางช่วงของอายุ เขาอาจไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่ามันคืออะไร ถูกต้องจริงหรือไม่ แต่พอโตขึ้นก็จะเริ่มเข้าใจมากขึ้น ๆ

วิธีสอนลูกผิด ๆ โดยยึดเอาความสะดวกของผู้ใหญ่เป็นหลัก เช่น การหลอกผี การหลอกให้กลัวตำรวจ เพื่อให้เด็กเข้านอน หรือละเว้นการละเล่นอะไรบางอย่าง #ไม่เคยมีในการสอนลูกตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา และจะไม่มีตลอดไป...

ขอบคุณที่มา : ณ บ้านวรรณกรรม