สะเทือนวงการ "บรูซ วิลลิส" ยุติอาชีพนักแสดง หลังป่วยโรคอะเฟเซีย

สะเทือนวงการ "บรูซ วิลลิส" นักแสดงฮอลลีวูดชื่อดัง ยุติอาชีพนักแสดง หลังป่วยโรคอะเฟเซีย หรือภาวะสูญเสียการสื่อความ

วันที่ 31 มี.ค. 2565 มีรายงานข่าวว่า ครอบครัวของ บรูซ วิลลิส นักแสดงรุ่นใหญ่ วัย 67 ปี  ซึ่งรวมถึงนาง เอ็มมา เฮมมิง-วิลลิส ภรรยา และ เดมี มัวร์ อดีตภรรยา ได้ออกแถลงการณ์ร่วมผ่านอินสตาแกรมในวันที่ 30 มี.ค. 2565 เกี่ยวกับเรื่องที่ บรูซ วิลลิส กำลังป่วยเป็น "โรคอะเฟเซีย" (Aphasia) ซึ่งเป็นในกลุ่มอาการผิดปกติทางสมอง ส่งผลให้เกิดความบกพร่องด้านการสื่อสาร จำเป็นต้องตัดสินใจอำลาอาชีพนักแสดง โดยระบุว่า

 

สะเทือนวงการ "บรูซ วิลลิส" ยุติอาชีพนักแสดง หลังป่วยโรคอะเฟเซีย

"สำหรับแฟนๆของ บรูซ เราในฐานะครอบครัวอยากจะแจ้งข่าวว่าขณะนี้ บรูซ กำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพ เพิ่งจะตรวจพบว่าเขามีภาวะอะเฟเซีย ซึ่งจะมีผลต่อกลไกทางการรับรู้ ด้วยผลของโรค บรูซ ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ว่าเขาจำเป็นต้องยุติบทบาทอาชีพนักแสดง ซึ่งมีความหมายต่อเขามากเหลือเกิน โดยอะเฟเซีย เป็นภาวะสมองเสียหาย ที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการสื่อสารทั้งการพูด เขียน และทำความเข้าใจในภาษาต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะกระทบกับการทำงานแสดงโดยตรง ซึ่งอาการดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยมีภาวะเส้นเลือดในสมองแตก หรือ ศีรษะได้รับความ กระทบกระเทือนอย่างรุนแรง นี่เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับครอบครัวของเราจริงๆ และเราขอบคุณอย่างยิ่งในความรัก, ความเห็นใจ และการสนับสนุนของพวกคุณจนถึงตอนนี้"

 

สะเทือนวงการ "บรูซ วิลลิส" ยุติอาชีพนักแสดง หลังป่วยโรคอะเฟเซีย

ทั้งนี้ บรูซ วิลลิส เริ่มต้นอาชีพนักแสดงในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 จากการแสดงเป็นตัวประกอบเล็กๆ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักกระทั่ง 10 ปีให้หลัง จากการรับบทเป็น "ไซบิล เชเพิร์ด" ในซีรีส์ Moonlighting ของช่อง ABC TV และโด่งดังสุดขีดจากบทบาท "จอห์น แมกเคน" ในภาพยนตร์เรื่อง Die Hard หรือ "คนอึดตายยาก" ภาคแรกในปี ค.ศ. 1988 นับจากนั้นเขาก็ยังคงเป็นพระเอกในดวงใจแฟนๆโดยฝากผลงานการแสดงอย่างต่อเนื่อง  และเขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ 5 ครั้ง โดยชนะรางวัล 1 ครั้ง จากเรื่อง Moonlighting รวมถึงได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอมมี่ 3 ครั้ง และชนะรางวัล 2 ครั้ง

 

สะเทือนวงการ "บรูซ วิลลิส" ยุติอาชีพนักแสดง หลังป่วยโรคอะเฟเซีย


ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ของสหราชอาณาจักร ภาวะสูญเสียการสื่อความ มักมีสาเหตุจากความเสียหายในสมองซีกซ้าย ทำให้นึกภาษาหรือคำพูดได้ลำบาก กระทบต่อการ อ่าน, ฟัง, พูด, พิมพ์ หรือเขียน ของผู้ป่วย โดยอาการที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ปัญหาทางการพูด รวมถึงการประสมคำไม่ถูกต้อง

 

สะเทือนวงการ "บรูซ วิลลิส" ยุติอาชีพนักแสดง หลังป่วยโรคอะเฟเซีย

 

ขอบคุณ IG : demimoore