เปิดประวัติ "พระเจ้าเสือ" เป็นโอรสลับของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช" จริงหรือ

ไขทุกความลับ เปิดประวัติ "สมเด็จพระเจ้าเสือ" เป็น "พระราชโอรสลับ" ของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช" จริงหรือไม่?

เปิดประวัติ "พระเจ้าเสือ" เป็นโอรสลับของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช" จริงหรือ : ร้อนแรงตั้งแต่ EP.แรกแบบทำลายทุกสถิติเลยจริงๆ สำหรับ พรหมลิขิต ภาคต่อ บุพเพสันนิวาส ที่ว่าด้วยเรื่องราวของ พุดตาน ตัวละครที่เป็นหลานห่างๆ ของสิตางค์ (แม่ของเกศสุรางค์) ในวัย 20 ปีที่มีอาชีพนักจัดสวน ได้เจอหีบโบราณและสมุดข่อยจากคนงานที่ขุดได้ ซึ่งเป็นมนต์กฤษณะกาลีที่ถูกฝังเอาไว้ เมื่อเธอแตะมันทำให้เธอได้ย้อนเวลากลับไปในอดีต

 

 


อ่านข่าวที่เกี่ยว : EP.แรก ทำลายทุกสถิติ เรื่องย่อละคร พรหมลิขิต เฉลยดราม่าใช้พระ - นางคุ้มเกิน
 

เปิดประวัติ "พระเจ้าเสือ" เป็นโอรสลับของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช" จริงหรือ

 

 

และอีกหนึ่งตัวละครที่หลายคนสนใจก็คือ ท้าวทองกีบม้า หรือ มารีอา กียูมาร์ เดอ ปีญา (Maria Guyomar de Pinha) แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ มารี กีมาร์ หรือ มารี ตองกีมาร์ ราชินีขนมไทยใน "บุพเพสันนิวาส" ที่แม่การะเกดเรียกติดปากว่า "แม่มะลิ" ซึ่งรับบทโดยนักแสดงสาวลูกครึ่ง ไทย จีน อังกฤษ "ซูซี่-สุษิรา แน่นหนา" ที่ในเนื้อหาละครระบุว่าเธอเป็นที่หมายปองของ พระเจ้าเสือ ที่รับบทโดย ก๊อต จิรายุ ตันตระกูล 

 

 

นั่นทำให้แฟนละครสนใจก็คือ ประวัติสมเด็จพระเจ้าเสือ ที่บางคนอาจจะยังสงสัยอยู่บ้างว่า เป็นพระราชโอรสใคร? ซึ่งการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในโรงเรียนส่วนใหญ่ และหลักฐานจำนวนมากของไทยมักเสนอไปในทางเดียวกันว่า พระองค์เป็นโอรสลับของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช" 

เปิดประวัติ "พระเจ้าเสือ" เป็นโอรสลับของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช" จริงหรือ

 


ทว่า รศ.(พิเศษ) นพ. เอกชัย โควาวิสารัช คุณหมอนักเขียนผู้สนใจประวัติศาสตร์เสนอว่า "สมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระราชโอรสจริงของสมเด็จพระเพทราชา" ในผลงานที่ชื่อว่า ชันสูตรประวัติศาสตร์ ไขปริศนาพระนารายณ์ ซึ่งที่ผ่านมา สมมติฐานเรื่องสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระราชโอรสใคร จำแนกเป็น 3 แนวทางคือ 
1. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช-พระราชบิดา , นางลาว พระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่-พระราชมารดา 
2. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช-พระราชบิดา เจ้าจอมบุญ-พระราชมารดา 
3. สมเด็จพระเพทราชา-พระราชบิดา ส่วนพระราชมารดา ไม่ปรากฏนาม

 

ทีนี้มาดูการวิเคราะห์ของ นพ.เอกชัย ที่มีข้อมูลเอกสารต่างๆ เป็นที่อ้างอิงกันในแต่ละสมมติฐานที่เราสรุปย่อมากัน
เริ่มจากสมมติฐานยอดนิยม สมมติฐานที่ 1. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช-พระราชบิดา นางลาว พระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่-พระราชมารดา

 

เปิดประวัติ "พระเจ้าเสือ" เป็นโอรสลับของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช" จริงหรือ

 

แม้พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล บันทึกเรื่องนี้ไว้ว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่ทรงรับนางลาวที่ทรงครรภ์กับพระองค์เป็นพระสนมเพราะทรงละอายต่อพระสนมทั้งปวง แต่พระราชทานให้พระเพทราชาไปเลี้ยงดู และครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระชินราช พระชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก นางลาวที่มีครรภ์ก็ตามเสด็จและคลอดบุตรชายชื่อ เดื่อ ซึ่งก็คือสมเด็จพระเจ้าเสือในเวลาต่อมา

 


นพ.เอกชัย วิเคราะห์ว่า "สมเด็จพระนารายณ์พระราชทานนางลาวแก่พระเพทราชา เพราะทรงละอายต่อพระสนมทั้งปวง" เป็นเรื่องไม่สมเหตุผล เพราะพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าชีวิต เป็นกฎหมาย ไม่ว่าพระสนมจะเป็นชาวต่างชาติใด ๆ จึงไม่ใช่เรื่องน่าละอาย นอกจากนี้ นางลาวที่ครรภ์แก่ ไม่น่าจะได้ติดตามการเสด็จดังกล่าว เพราะถ้ามีการคลอดระหว่างทางจะทำให้กระบวนเสด็จวุ่นวาย

 


นอกจากนี้ หลักฐานของนายแพทย์ประจำคณะราชทูตเยอรมันที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี เมื่อ พ.ศ. 2233 ต้นรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาเขียนว่า สมเด็จพระเจ้าเสือพระมหาอุปราชมีพระชนม์ 20 พรรษา แสดงว่าพระองค์ประสูติ พ.ศ. 2213 แต่เมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2205 หากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีสัมพันธ์กับพระธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่จริง สมเด็จพระเจ้าเสือก็ควรทรงพระราชสมภพในช่วง พ.ศ. 2205-06 ไม่น่าจะเลยไปถึง พ.ศ. 2213

 

เปิดประวัติ "พระเจ้าเสือ" เป็นโอรสลับของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช" จริงหรือ


ส่วนที่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล บันทึกว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเคยรับสั่งกับสมเด็จพระเจ้าเสือครั้งเป็นนายเดื่อมหาดเล็ก เมื่อประทับหน้าพระฉาย (กระจก) คู่กับพระองค์ว่าเห็นเป็นอย่างไร นายเดื่อกราบทูลว่ารูปพรรณทั้งสองมีความคล้ายคลึงกัน สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงเมตตาพระราชทานเงินทองและข้าวของจำนวนมาก ฯลฯ

 


ประเด็นนี้เป็นรูปลักษณ์ภายนอก และคงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงหรือไม่ เพราะพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่เราเคยเห็นกันนั้น ก็เป็นการเขียนในหลายวาระ ส่วนพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าเสือกลับไม่เคยปรากฏเลย

 


สมมติฐานที่ 2 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช-พระราชบิดา เจ้าจอมบุญ-พระราชมารดา คำให้การขุนหลวงหาวัด บันทึกว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงไม่ยอมรับเจ้าจอมสมบุญซึ่งเป็นคนโปรดของพระองค์ที่มีครรภ์อยู่ โดยทรงยกให้พระเพทราชา (เมื่อครั้งทรงเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์) แต่ไม่ทำลายครรภ์ เพราะเหตุที่พระศรีศิลป์กุมารซึ่งเป็นพระโอรสของเชษฐา (ที่ไม่ได้เกิดจากพระมเหสี) เคยเป็นขบถต่อพระองค์ และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงขอให้ได้พระราชโอรสอันเกิดในพระครรภ์ของพระมเหสี ทั้งตรัสกับพระสนมทั้งปวงว่าใครมีครรภ์จะทำลาย

 


นพ.เอกชัยอธิบายว่า ปกติการสืบราชสมบัติในสมัยอยุธยา จะสืบต่อทางพระราชอนุชาก่อน หากไม่มีจึงสืบทางพระราชโอรส และก็ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระมเหสีเท่านั้นจึงมีสิทธิในราชบัลลังก์ เช่น รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาทองก็ทรงมอบราชสมบัติให้เจ้าฟ้าชัยซึ่งมิได้ประสูติแต่พระมเหสี การทำลายครรภ์อันเกิดแต่พระสนมจึงไม่มีเหตุผลที่สมควร นอกจากนี้ยังอาจเป็นความคลาดเคลื่อนจาก คำให้การขุนหลวงหาวัด เพราะเป็นการแปลจากภาษารามัญ จึงอาจเกิดความเข้าใจผิดระหว่างภาษาได้

 


และสมมติฐานที่ 3. สมเด็จพระเพทราชา-พระราชบิดา ส่วนพระราชมารดา ไม่ปรากฏนาม เป็นสมมติฐานที่อ้างอิงจากเอกสารชั้นต้นของชาวต่างชาติที่เดินทางมากรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซ ถึงผู้อำนวยการคณะกรรมการต่างประเทศ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1703, จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ฯลฯ โดยบันทึกไปในแนวทางเดียวกันว่า "สมเด็จพระเจ้าเสือทรงเป็นพระราชโอรสจริงของสมเด็จพระเพทราชา"

 

เปิดประวัติ "พระเจ้าเสือ" เป็นโอรสลับของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช" จริงหรือ
นอกจากนี้หากพิจารณา พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล ตอนหนึ่งบันทึกเหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระประชวรหนัก พระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์ไปเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลว่า ถ้าพระองค์สวรรคตจะถวายราชสมบัติให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมพระราชวังหลัง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชกริ้วมาก ถึงกับตรัสว่าขอให้พระองค์มีพระชนมชีพอีก 7 วัน จะขอดูหน้ากบฏสองคนพ่อลูก นพ.เอกชัยท้วงว่า หากสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์ พระองค์น่าจะทรงตัดพ้อ หรือตำหนิว่าเป็นทรพีที่ฆ่าทรพาผู้เป็นพ่อเช่นในรามเกียรติ์มากกว่า

 


ส่วนที่มีข้อคัดค้านว่า พระเพทราชามิใช่พระราชบิดาของสมเด็จพระเจ้าเสือ เพราะเมื่อสมเด็จพระเพทราชาทรงพระประชวรใกล้สวรรคต มิได้ทรงยกราชสมบัติให้สมเด็จพระเจ้าเสือที่เป็นพระราชโอรสพระองค์โต แต่กลับทรงยกให้เจ้าฟ้าพระยอดขวัญ ซึ่งเป็นพระราชโอรสซึ่งประสูติแต่กรมหลวงโยธาทิพ

เปิดประวัติ "พระเจ้าเสือ" เป็นโอรสลับของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช" จริงหรือ


ประเด็นนี้ นพ.เอกชัยอธิบายว่า สมัยกรุงศรีอยุธยามีอยู่หลายครั้งที่พระราชสมบัติมิได้แก่พระราชโอรสพระองค์โต เช่น สมเด็จพระเจ้าท้ายสระทรงยกราชสมบัติให้เจ้าฟ้าอภัย แทนที่จะเป็นเจ้าฟ้านเรนทรพระราชโอรสองค์โต, สมเด็จพระเจ้าบรมโกศก็ทรงตั้งกรมขุนพรพินิต พระราชโอรสองค์เล็กสุดเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเพื่อเป็นองค์รัชทายาท นอกจากนี้เจ้าฟ้าพระยอดขวัญยังเป็นพระราชโอรสที่ประสูติภายใต้พระเศวตฉัตร (พระราชบิดาทรงเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว) หรือเป็นความเสน่หาที่สมเด็จพระเพทราชามีต่อเจ้าฟ้าพระยอดขวัญ

 

อย่างไรก็ตาม กรณีคลาสสิกที่เคยเชื่อกันว่า สมเด็จพระเจ้าเสือ เป็นพระราชโอรสลับของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มานานก็เริ่มถูกท้าทายว่า พระองค์เป็นพระราชโอรสจริงของ สมเด็จพระเพทราชา และอาจมีประเด็นอื่นต่อไปในอนาคต เมื่อมีการค้นคว้าใหม่ทางวิชาการเกิดขึ้น

เปิดประวัติ "พระเจ้าเสือ" เป็นโอรสลับของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช" จริงหรือ


ข้อมูลจาก ศิลปวัฒนธรรม