สืบสานสัมพันธไมตรี ไทย เบลเยี่ยม "ในหลวงรัชกาลที่ ๙"กับ "สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง" แห่งเบลเยี่ยม เป็นพระสหายสนิท สมัยเรียนที่สวิตเซอร์แลนด์

การเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างราชวงศ์ไทยกับเบลเยียมมีความแนบแน่นยาวนานมาตั้งแต่ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเบลเยียมนั้นย้อนรำลึกไปถึงปี 2411 เมื่อทั้งสองประเ

      การเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างราชวงศ์ไทยกับเบลเยียมมีความแนบแน่นยาวนานมาตั้งแต่
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเบลเยียมนั้นย้อนรำลึกไปถึงปี 2411 เมื่อทั้งสองประเทศลงนามร่วมกันในสนธิสัญญาสถาปนาสันถวไมตรีและความร่วมมือทางการค้า ต่อมาในปี 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกุสตาฟว์ อ็องรี อ็องฌ์ อีปอลิต รอแล็ง-ฌักแม็ง ( Gustave Henri Ange Hippolyte Rolin-Jacquemyns ) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของเบลเยียมให้เข้ารับราชการที่ราชอาณาจักรสยาม ในตำแหน่งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไป และพระราชทานนามพร้อมบรรดาศักดิ์เป็นภาษาไทยให้ว่า "เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ" เ

 

    จ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจทุ่มเทความสามารถทั้งหมดในการถวายงานด้านการพัฒนาระบบมหาดไทยของราชอาณาจักรสยามให้มีความเจริญและเป็นระบบมากขึ้นอย่างชัดเจน ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจ เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจเดินทางกลับไปยังเบลเยียม และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2445 รวมอายุได้ 66 ปี อย่างไรก็ตาม ทายาทของเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจยังคงมีส่วนช่วยเหลือกิจการต่างประเทศของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองลิเอล ( Liege )

 

สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ไทยกับราชวงศ์เบลเยียมนั้นมีความแน่นแฟ้นมาเป็นเวลายาวนานหลายศตวรรษ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จเยือนเบลเยียมอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นพระบรมวงศานุวงศ์ของไทยเสด็จเยือนเบลเยียมอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง ในปี 2463 2467 2472 2473 และ 2477 


        ขณะที่ในปี 2475 เจ้าชายลีโอโพลด์  มกุฎราชกุมารแห่งเบลเยียม และเจ้าหญิงแอสตริด พระชายา ดยุกและดัชเชสแห่งบราบันต์ เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในปี 2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนเบลเยียมอย่างเป็นทางการ ในฐานะทรงเป็นพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงและสมเด็จพระราชินีฟาบิโอลา

 


       หลังจากนั้นในปี 2507 สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงและสมเด็จพระราชินีฟาบิโอลา เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะทรงเป็นพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระสหายสนิทต่อกัน เนื่องจากทรงรู้จักกันตั้งแต่เมื่อครั้งประทับศึกษา ณ สวิตเซอร์แลนด์ และทรงมีความสนพระราชหฤทัยในเรื่องเดียวกันนั่นคือแนวทางการพัฒนาสังคมแและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

 

สืบสานสัมพันธไมตรี ไทย เบลเยี่ยม "ในหลวงรัชกาลที่ ๙"กับ "สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง" แห่งเบลเยี่ยม เป็นพระสหายสนิท สมัยเรียนที่สวิตเซอร์แลนด์

 

 การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงในปี 2536 ยังความเสียพระราชหฤทัยอย่างยิ่งให้แก่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อย่างไรก็ตาม พระอนุชาของสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงซึ่งเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อมา คือสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ทรงกระชับสายสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์จักรีให้มีความแน่นแฟ้นเรื่อยมา


      เจ้าชายฟิลิปซึ่งทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 และเจ้าหญิงมาทิลด์ มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีแห่งเบลเยียม เสด็จฯเยือนไทยเพื่อทรงเข้าร่วมพระราชพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเดือนมิ.ย. 2549 ต่อมาในเดือนก.พ. 2554 และมี.ค. 2556 เจ้าชายฟิลิปและเจ้าหญิงมาทิลด์ เสด็จเยือนไทยเพื่อทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้า และทั้งสองพระองค์ทรงได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช       ต่อมาในเดือนก.ค. 2556  เจ้าชายฟิลิปและเจ้าหญิงมาทิลด์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงรักษาสัมพันธไมตรีในระดับราชวงศ์ของทั้งสองประเทศจนถึงปัจจุบัน

สืบสานสัมพันธไมตรี ไทย เบลเยี่ยม "ในหลวงรัชกาลที่ ๙"กับ "สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง" แห่งเบลเยี่ยม เป็นพระสหายสนิท สมัยเรียนที่สวิตเซอร์แลนด์

 

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์