ทำไมต้องกลัวอิหร่าน? "เรือพิฆาตสหรัฐฯ" ยิงเตือน "กองเรืออิหร่าน" อ้างเข้าใกล้เกินไป

เรือยูเอสเอส มาฮาน ได้สื่อสารทางวิทยุกับกองเรือของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามอิหร่าน แต่พวกเขาไม่ตอบกลับคำร้องขอให้ชะลอความเร็ว

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานข่าวว่า เรือยูเอสเอส มาฮาน ได้สื่อสารทางวิทยุกับกองเรือของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามอิหร่าน แต่พวกเขาไม่ตอบกลับคำร้องขอให้ชะลอความเร็ว  เรือพิฆาตยูเอเอส มาฮาน ได้ยิงพลุแฟร์เตือนและเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือสหรัฐฯลำหนึ่งทิ้งทุ่นควัน ก่อนดำเนินการยิงเตือน เพื่อให้กองเรือของกองกำลังพิทักษ์การปฎิวัติอิสลามอิหร่าน นั้นหยุด


       
       เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อ้างว่ากองเรืออิหร่านเข้ามาใกล้เรือมาฮาน ในรัศมี 800 เมตร ขณะที่เรือพิฆาตมาฮานกำลังดำเนินการคุ้มกันเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ อื่นๆอีก 2 ลำ ซึ่งขณะนี้ ทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอิหร่าน หรือ สหรัฐฯ ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด
       
       
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านเริ่มผ่อนคลายลง นับตั้งแต่สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน เมื่อปีที่แล้ว ตามข้อตกลงระงับทางนิวเคลียร์ ของอิหร่าน อย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายยังคงมีความเห็นต่างเกี่ยวกับโครงการขีปนาวุธของอิหร่าน  เช่นเดียวกับสถานการณ์ความขัดแย้งในซีเรียและอิรัก
       
       ขณะเดียวกันเหตุการณ์กระทบกระทั่งลักษณะนี้ก็เกิดขึ้นเป็นพักๆ โดยหนล่าสดเมื่อเดือนสิงหาคม เรือของกองทัพเรือสหรัฐฯยิงเตือนใส่เรือโจมตีเร็วอิหร่าน ที่มุ่งตรงเข้าหาเรืออเมริกา 2 ลำ หลังจากก่อนหน้านั้นในเดือนมกราคม 2016 อิหร่านเข้าควบคุมตัวทหารอเมริกา 10 นายในอ่าวเปอร์เซีย ในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนปล่อยพวกเขาเป็นอิสระ

ช่วงกลางเดือนธันวาคม ทำเนียบประธานาธิบดีอิหร่านเผยแพร่แถลงการณ์ของประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี  เกี่ยวกับการเดินหน้าโครงการพัฒนาเรือติดตั้งขีปนาวุธขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ โดยไม่มีการระบุชัดเจนว่าหมายถึงเรือดำน้ำ เรือพิฆาต หรือเรือทั้งสองแบบ แต่ผู้นำอิหร่านกล่าวว่าพลังงานนิวเคลียร์จำเป็นต่อ “ระบบการเดินเรือ” ของอิหร่านในอนาคต และโครงการพัฒนาดังกล่าว “เป็นไปอย่างสันติตามขอบเขตของข้อตกลงนิวเคลียร์”

 

หลายฝ่ายมองว่าคำสั่งดังกล่าวของผู้นำอิหร่าน เป็นการตอบโต้อย่างเป็นรูปธรรม ครั้งแรกอิหร่านมี่มีต่อสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ที่ได้มีมติเมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ให้ขยายระยะเวลามาตรการคว่ำบาตรที่ยังเหลืออยู่ต่ออิหร่านออกไปอีก 10 ปี เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมดำเนินการของรัฐบาลสหรัฐฯ

 

 ทันทีที่การแสดงออกของรัฐบาลอิหร่านเข้าข่ายละเมิดข้อตกลงนิวเคลียร์ที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนม.ค.ปีนี้  ซึ่งมีสาระสำคัญคือห้ามอิหร่านสกัดเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมเกินระดับ 3.67% เป็นเวลา 15 ปี โดยระดับดังกล่าวเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำของการผลิตหัวรบนิวเคลียร์

 

ทางด้าน ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ซึ่งจะหมดวาระในวันที่ 20 ม.ค. ยังไม่ลงนามในร่างกฎหมายฉบับนี้ และยังไม่แสดงท่าทีด้วยว่าจะใช้อำนาจวีโต้ปัดตกร่างกฎหมายหรือไม่ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์อย่างหนักจากรัฐบาลอิหร่าน ยิ่งเพิ่มความกังวลให้หลายฝ่ายเกี่ยวกับการเผชิญหน้า ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ ในอนาคต

 

ซึ่งทางด้านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จากการที่ทรัมป์มีมุมมองค่อนข้างลบต่ออิหร่าน และว่าที่คณะทำงานด้านความมั่นคงล้วนเป็นกลุ่มการเมืองขวาจัดที่ต่อต้านข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านด้วย

 

 

 

ทางด้านนายจอห์น เบรนแนน ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง ( ซีไอเอ ) ซึ่งจะหมดวาระอย่างเป็นทางการในช่วงกลางเดือนม.ค. ปีหน้า หลังดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลา 4 ปี กล่าวในตอนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์พิเศษกับสำนักข่าวบีบีซี ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา มีนโยบายให้การสนับสนุน "กลุ่มกบฏสายกลาง" ในซีเรียมาเป็นเวลานาน จึงหวังว่ารัฐบาลชุดต่อไปของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะสานต่อนโยบายดังกล่าว เพื่อต่อสู้กับ "ปฏิบัติการภาคพื้นดิน" โดยกองทัพซีเรีย รัสเซีย อิหร่าน และกลุ่มฮิซบอลเลาะห์


 

เบรนแนนมองว่ารัสเซียคือ ผู้ชี้ชะตา และ อนาคตของซีเรีย แต่ยังไม่มั่นใจนักว่ารัฐบาลรัสเซีย มีความพร้อมและ "ความจริงใจที่ตรงไปตรงมา" มากเพียงใดในการบรรลุข้อตกลงร่วมกัน เมื่อวิเคราะห์จากแผนยุทธศาสตร์ในการเจรจาของรัสเซียเกี่ยวกับซีเรียตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ ทรัมป์ควรพิจารณาและวิเคราะห์ข้อเสนอของอีกฝ่ายให้ละเอียดและถี่ถ้วนมากที่สุดเนื่องจากโดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่ารัสเซียไม่ยอมอยออกจากสมรภูมิในซีเรียโดยง่าย ตราบใดที่ยังไม่บรรลุ "เป้าประสงค์ที่ต้องการ"

ขณะที่ในส่วนของข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านที่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม  ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยให้รัฐบาลอิหร่านนั้น ได้ขยับตัวทางด้านอื่น ๆ มากขึ้นรวมถึง ทางเศรษฐกิจได้ จากการที่รัฐบาลสหรัฐฯ และพันธมิตรทยอยยกเลิกมาตรการควำบาตรให้ตามข้อตกลงนั้น เบรนแนนกล่าวว่าการที่ทรัมป์จะนำสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากสัญญาฉบับนี้คือความคิดที่โง่มาก เพราะจะนำไปสู่สถานการณ์อันเลวร้าย และเกิดหายนะ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงมากที่อิหร่านจะกลับมารื้อฟื้นโครงการนิวเคลียร์ของตัวเอง สำหรับในส่วนของการต่อต้านก่อการร้ายโดยเฉพาะกับกลุ่มไอเอสและแนวร่วมนั้น เบรนแนนยืนยันว่าเป็นหน้าที่ของซีไอเออยู่แล้ว

 

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านมีแนวโน้มสูงมากที่จะเปลี่ยนแปลง เมื่อทรัมป์รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในช่วงกลางเดือนม.ค.ปีหน้า จากการที่ทรัมป์เลือกนายไมค์ ปอมเปโอ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐแคนซัสและหนึ่งในคณะกรรมาธิการข่าวกรองของสภาล่างให้รับตำแหน่งผู้อำนวยการซีไอเอคนต่อไป ซึ่งปอมเปโอมีแนวคิดต่อต้านอิหร่านชัดเจน โดยกล่าวว่าอิหร่านคือ ต้นตอ ของปัญหาทั้งหมดในตะวันออกกลาง

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์