รัฐธรรมนูญใหม่ เลือกตั้ง ปิดตายระบอบทักษิณ (มีคลิป)

รัฐธรรมนูญใหม่ เลือกตั้ง ปิดตายระบอบทักษิณ

ผลประชามติที่เกิดขึ้นนั้น มีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาเชื่อมโยงไปถึงการจัดการเลือกตั้งครั้งต่อไป ภายใต้ฐานตัวเลขที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมาในระบบที่เรียกว่าจัดสรรปันส่วนผสม ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างระหว่างคะแนนของพรรคการเมืองต่างๆ ขยับเข้าใกล้กันมากขึ้น และแนวโน้มของการจัดตั้งรัฐบาลนั้น จะมีโอกาสเป็นรัฐบาลผสมมากกว่ารัฐบาลเดี่ยว โดยเงื่อนไขนี้เองเป็นสิ่งที่นายทักษิณ ชินวัตร และเครือข่ายทราบเป็นอย่างดีว่าเมื่อร่างรัฐธรรมนูญนี้ ถูกใช้เป็นกติกาเลือกตั้งครั้งต่อไป โอกาสที่พวกเขาจะกลับมาครองอำนาจนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นจากการเสียผลประโยชน์ดังกล่าวจึงทำให้เครือข่ายระบอบทักษิณออกมาแสดงความไม่พอใจอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี ระบุว่า รับไม่ได้กับผลโหวต‘yes’ประชามติรัฐธรรมนูญไทย เพราะจะทำให้ประเทศไทยถอยหลังลงคลอง ความวิตกกังกลของเครือข่ายระบอบทักษิณ ยังไม่หมดเท่านั้น เพราะเมื่อเพ่งเล็งสถิติการออกเสียงในพื้นที่เดิมของตัวเองทั้งภาคเหนือกับภาคอีสานพบว่ามีคะแนนความนิยมลดต่ำลงอย่างน่าตกใจ ในรายงานของเอเอฟพีตอกย้ำเรื่องนี้ว่าผลคะแนนประชามติเมื่อวันอาทิตย์ ถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของครอบครัวชินวัตร ในศึกออกเสียงลงคะแนนต่างๆ นับตั้งแต่ศึกหยั่งเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดขึ้นตามหลังเหตุรัฐประหารโค่น นายทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของนางสาวยิ่งลักษณ์ ในปี2549 จากที่เคยเชื่อกันว่า พรรคเพื่อไทยของนางสาวยิ่งลักษณ์ ยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามและกุมอำนาจในการระดมเสียงโหวตเอาไว้ในภาคเหนือและภาคอีสาน แต่จากผลเบื้องต้น พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้ลงคะแนนโหวต “โน” สนับสนุนจุดยืนของพรรคแค่ 51% เท่านั้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคะแนนเห็นชอบ 3,993,944 เสียง หรือร้อยละ 48.58 ไม่เห็นชอบ 4,226,752 เสียงหรือร้อยละ 51.42
ภาคเหนือ  เห็นชอบ 2,784,734 เสียง หรือร้อยละ 57.67 ไม่เห็นชอบ 2,044,227 เสียง หรือร้อยละ 42.33
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ 3 จังหวัด อย่าง น่าน อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ที่คะแนนความนิยมฝ่ายเครือข่ายระบอบทักษิณ ลดต่ำลงแบบสุดๆ จนพลิกกลับข้างไปเทให้กับอีกฝ่ายเลยทีเดียว
น่านคะแนนรับ 114,915 คะแนน  ไม่รับ 102,129 คะแนน
อุบลราชธานีรับ 382,607 คะแนน ไม่รับ318,796 คะแนน
อำนาจเจริญ รับ82,058 คะแนน ไม่รับ67,676 คะแนน
องค์ประกอบทางการเมืองที่ทำให้ฝ่ายเครือข่ายของระบอบทักษิณมีความกังวลที่สุดประกอบไปด้วย 2 เงื่อนไขดังนี้
1.คะแนนความนิยมในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานลดต่ำลง
2.สูตรการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่เรียกว่าจัดสรรปันส่วนผสม
คะแนนความนิยมของเครือข่ายระบอบทักษิณที่ลดลงอย่างฮวบ

 

จากคะแนนความนิยมของฝ่ายระบอบทักษิณที่ลดลง อันสะท้อนมาจากคะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่น่าเป็นกังวลเพิ่มเติมในโอกาสการเลือกตั้งครั้งต่อไปก็คือ ระบบการจัดการเลือกตั้งส.ส.สูตรจัดสรรปันส่วนผสม ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งภายใต้เงื่อนไขของสูตรดังกล่าวนี้เอง จะยิ่งทำให้พรรคเพื่อไทยมีโอกาสได้ส.ส.เกินครึ่งหนึ่งนั้นแทบที่จะเป็นไปไม่ได้เลย จึงหมายความว่าโอกาสของการที่ฝ่ายเครือข่ายระบอบทักษิณจะกลับมามีอำนาจหลังการเลือกตั้งก็แทบหมดไปเลย ใช่หรือไม่ แนวความคิดเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ หรือ “แบบจัดสรรปันส่วนผสม” เป็นการนำคะแนนจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมาคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบใหม่ โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเลือกได้เฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง กล่าวคือ ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวโดยให้เลือกได้เฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น จึงเท่ากับว่าเป็นการเลือกคนเท่ากับเลือกพรรค ซึ่งการคำนวณจำนวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองให้คำนวณได้ดังนี้
1. นำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหารด้วยห้าร้อยอันเป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรเป็นการคำนวณหาค่าเฉลี่ยจำนวนคะแนนต่อสมาชิกหนึ่งคน
2. นำค่าเฉลี่ยจำนวนคะแนนต่อสมาชิกหนึ่งคนไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่ได้รับจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขตเลือกตั้งจำนวนที่ได้รับให้ถือเป็นจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้
3. นำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองจะพึงมีได้ลบด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง ผลลัพธ์คือจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับแต่อย่างไรก็ตามการคำนวณหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองนั้นต้องคำนึงถึงจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมือง ดังนี้
ถ้าพรรคการเมืองใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากับหรือสูงกว่าจำนวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้
1. ให้พรรคการเมืองนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจำนวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และไม่มีสิทธิได้รับการจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
2. ให้นำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองอื่นที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต่ำกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรค
การเมืองนั้นจะพึงมีได้ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจำนวนที่จะพึงมีได้

เมื่อได้จำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองแล้ว ให้ผู้สมัครตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ตัวอย่างวิธีการนับคะแนนแบบจัดสรรปันส่วนผสม อย่างเช่น พรรค ก. จำนวนคะแนนที่พรรคได้ คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ 50 เปอร์เซ็น  จำนวนส.ส.ที่พรรคพึงจะได้จากทั้งหมด 500 คนก็คือ 250 คน  สมมติว่าพรรค ก.ได้ส.ส.เขต 150 คน นั้นหมายความว่าจะได้ส.ส.บัญชีรายชื่อที่พึงจะได้ 100 คน รวมเป็น 250 คน

พรรค ข. จำนวนคะแนนที่พรรคได้ คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ 20 เปอร์เซ็น  จำนวนส.ส.ที่พรรคพึงจะได้จากทั้งหมด 500 คนก็คือ 100 คน  สมมติว่าพรรค ก.ได้ส.ส.เขต 80 คน นั่นหมายความว่าจะได้ส.ส.บัญชีรายชื่อที่พึงจะได้20 คน รวมเป็น 100 คน
นายมีชัย ฤชพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) อธิบายประโยชน์ 7 ข้อ ของระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ว่า
1. เสียงของประชาชนจะไม่สูญเปล่า
2. ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ของพรรคการเมืองใด แต่มุ่งให้คะแนนประชาชนมีน้ำหนักในการออกเสียงเลือกตั้งให้มากที่สุด
3. เป็นการปรองดอง คือให้คะแนนเฉลี่ยกับทุกพรรค
4. สร้างระบบเลือกตั้งที่เหมาะสมกับสังคมไทย ไม่ลอกเลียบแบบต่างประเทศทั้งหมด
5. แก้ไขปัญหาการจัดสรรงบประมาณ ที่อิงเฉพาะพื้นที่ฐานเสียงของพรรคตน
6. พรรคจะคัดเลือกคนดีลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหวังคะแนนไปคำนวณ เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ
7. คำนึงถึงคะแนนเสียงของประชาชน ที่ถูกทิ้งไปอย่างไม่เป็นธรรม
 ย้อนไปดูตัวเลขการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554 ผลการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.อย่างเป็นทางการ( 3 กรกฎาคม 2554) โดยการลงคะแนนเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน
มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35,203,107 คน หรือร้อยละ 75.03
พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ส.ส.265 คนจากแบ่งเขต 204 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน
พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ส.ส. 159 คน จากแบ่งเขต 115 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน
พรรคภูมิใจไทย (ภท.)ได้ส.ส.34 คนจากแบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน
พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ได้ส.ส.19 คนจากแบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.) ได้ส.ส. 7 คนจากแบ่งเขต 5 คน บัญชีรายชื่อ 2 คน
พรรคพลังชล (พช.)ได้ส.ส.7คนจากแบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน
พรรครักประเทศไทย (ร.ป.ท.) ได้ส.ส. 4 คนจากบัญชีรายชื่อ 4 คน
พรรคมาตุภูมิ (มภ) ได้ส.ส.2คนจากแบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน
พรรคมหาชน (พมช.)ได้ส.ส. 1 คนจากบัญชีรายชื่อ 1 คน
พรรคประชาธิปไตยใหม่ (ปธม.) ได้ส.ส.1คนจากบัญชีรายชื่อ 1 คน
พรรครักษ์สันติ (รส.)ได้ส.ส.1คนจากบัญชีรายชื่อ 1 คน ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า จากผู้มาใช้สิทธิ์กว่า 35 ล้านคน
พรรคเพื่อไทย ซึ่งได้คะแนน 15,744,190 คะแนน กลับได้ ส.ส.มากถึง 265 คน
ขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)ได้คะแนนไม่ได้น้อยกว่าพรรคเพื่อไทยมากนักที่ 11,433,762 คะแนน แต่กลับได้ส.ส. แค่เพียง 159 คนเท่านั้น
   เช่นเดียวกับพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กอื่นๆที่พบว่าได้คะแนนรวมในปริมาณที่ไม่น้อย แต่เมื่อนำกลับมาคำนวณเป็นจำนวนส.ส. กลับไม่สอดคล้องกับเสียงที่ได้รับเช่น
พรรคภูมิใจไทย (ภท.) 1,281,577 คะแนน
พรรครักประเทศไทย (ร.ป.ท.) 998,603 คะแนน
พรรคชาติไทยพัฒนา(ชทพ.)  906,656 คะแนน
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.) 494,894 คะแนน
พี่เด้ง---พรรครักษ์สันติ (รส.) 284,132 คะแนน
พรรคมาตุภูมิ (มภ) 251,702 คะแนน
พรรคพลังชล (พช.) 178,110 คะแนน
พรรคมหาชน (พมช.) 133,772 คะแนน 1 คน
พรรคประชาธิปไตยใหม่ (ปธม.) 125,784 คะแนน
กรณีของพรรคเพื่อไทยมีสถิติมุมมองที่น่าสนใจจากฐานคะแนนเสียงประชามติซึ่งถ้าคิดคำนวณง่ายจากตัวเลข 10 ล้านเสียง ก็จะทำให้จำนวนส.ส.นั้นลดลงอย่างแน่นอน สรุปก็คือสูตรการนับคะแนนแบบจัดสรรปันส่วนจะเป็นการสะท้อนคะแนนเลือกตั้ง กับส.ส.ที่ได้รับเลือกมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ซึ่งเมื่อมีการถอดสูตรจากฐานตัวเลขเดิมก็จะพบว่า พรรคการเมืองขนากกลางจะได้จำนวนส.ส.เพิ่มมากขึ้น ส่วนพรรคขนาดใหญ่ก็มีโอกาสที่ตัวเลขส.ส.จะลดลง ทำให้โอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลผสมมีมากขึ้นนั่นเอง

หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญได้ผ่านความเห็นชอบจากประชาชนอย่างถล่มทลาย แต่ในทางวิชาการก็ได้มีการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งดีและไม่ดี หนึ่งในนั้นก็คือรองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งได้วิพากษ์การรับร่างรัฐธรรมนูญในทำนองว่าเป็นการนับถอยหลังประเทศไทยไปกว่า 40 ปีเลยทีเดียว
รองศาสตราจารย์ สุขุม วิเคราะห์ตอนหนึ่งว่า“วันก่อนมีคนให้ผมไปทอล์คโชว์เรื่องประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า ผมบอกว่าถ้าผมปิดตาทุกคน แล้วเดินจูงไป ท่านทั้งหลายก็จะรู้สึกว่าก้าวไปข้างหน้า แต่ทันทีที่ผมเปิดผ้าปิดตาออก พวกท่านก็จะหันมาต่อว่าผม ทำไมพามาเจอของเก่าแบบนี้ เพราะมันไม่ได้ก้าวไปข้างหน้า แต่เดินเป็นวงกลม”หน้าตาการเมืองไทยมีโอกาสย้อนหลังกลับสู่ปี 2521 ถึงแม้อำนาจหน้าที่ของ ส.ว. ในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 กับในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักการแย่งยื้ออำนาจจากนักการเมืองและการควบคุมการเมืองไม่ได้แตกต่างกัน สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนคือบริบทแวดล้อมต่างจากเมื่อ 40 ปีก่อนมาก คำถามคือระบบการเมืองที่ถอยหลังไป 4 ทศวรรษจะตอบโจทย์ประชาชนได้อย่างไร และหากตอบไม่ได้ มันจะนำไปสู่อะไร

 

อย่างไรก็ตามในอีกมุมมองที่แตกต่างกันออกมาอย่างสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ผู้อำนวยการสำนักข่าวทีนิวส์ ได้พูดถึง รองศาสตราจารย์สุขุม ผ่านทางรายการยุคลถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบว่า การวิเคราะห์ดังกล่าวไม่ต่างไปจากการดูถูกประชาชน และไม่เข้าใจสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ ที่ประชาชนสามารถตัดสินใจด้วยตัวเองจากข้อมูลที่สัมผัสได้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
อ.สุขุมดูถูกประชาชน//ไม่เข้าใจสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ ที่ประชาชนสามารถตัดสินใจด้วยตัวเองจากข้อมูลที่สัมผัสได้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา//โลกโซเซียลมันทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล