ศาลปรับแก้ไข ร่างรธน. ...แล้วไง?? สุดท้าย"พล.อ.ประยุทธ์" ก็เป็นนายกฯ ยากอยู่ดี (มีคลิป)

หลังจากที่ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ส่งร่างรัฐธรรมนูญซึ่งแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติในประเด็นเพิ่มเติมเพื่อให้พิจารณาว่าเป็นการชอบด้วยกับผลการออกเสียงประชามติแล้

หลังจากที่ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ส่งร่างรัฐธรรมนูญซึ่งแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติในประเด็นเพิ่มเติมเพื่อให้พิจารณาว่าเป็นการชอบด้วยกับผลการออกเสียงประชามติแล้วหรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 พ.ศ. 2558 มาตรา 37/1 ให้กับศาลรัฐธรรมนูญ

โดยเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2559 นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ แถลงหลังการประชุมเสร็จสิ้นว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ กรธ.ไปปรับแก้เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ ดังนี้

1.ในประเด็นที่ กรธ.กำหนดเป็นมาตรา 272 วรรคสอง ของร่างรัฐธรรมนูญว่า กรณีไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอ ให้ ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มีสิทธิเสนอต่อประธานรัฐสภาเพื่อยกเว้นได้นั้น เห็นว่าควรเป็นอำนาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่จะต้องเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องดังกล่าวให้ผ่านพ้นไปด้วย สมตามเจตนารมณ์ของผลการออกเสียงประชามติ

ดังนั้น กรธ.แก้ไขให้ผู้มีสิทธิเสนอขอยกเว้นการเสนอชื่อนายกฯ จากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง คือสมาชิกรัฐสภา จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

2.ในประเด็นที่ กรธ.กำหนดเป็นมาตรา 272 วรรคหนึ่งว่า “ในระยะ 5 ปีแรก” นับแต่วันที่มีรัฐสภา ภายหลังการเลือกตั้ง ส.ส. ตามมาตรา 268 และวรรคสองบัญญัติว่า “ในวาระเริ่มแรก” เมื่อมีการเลือก ส.ส.ตามมาตรา 268 แล้ว หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกฯ จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองที่แจ้งไว้ ตามมาตรา 88 ไม่ว่าด้วยเหตุใด ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา มีมติยกเว้นไม่ต้องเสนอชื่อนายกฯ จากบัญชีพรรคการเมือง

เห็นว่าการกำหนดระยะเวลาวันเริ่มนับกำหนดเวลาตามร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องสอดคล้องกัน จึงได้กำหนดให้ที่ประชุมสมาชิกรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกฯ เพื่อให้ได้นายกฯ เข้ามาทำหน้าที่บริหารราชการในช่วงเวลาเดียวกัน และสามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ สำเร็จบรรลุผลตามแผนยุทธศาสตร์ชาติและเจตนารมณ์ที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน ซึ่งที่ประชุมสมาชิกรัฐสภาจะต้องประกอบด้วย ส.ส.และ ส.ว.

ดังนั้นกำหนดเวลาและวันเริ่มนับเวลาตามร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 272 วรรคหนึ่งและวรรค 2 คือในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น กรธ.ต้องไปดำเนินการตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย รวมทั้งปรับแก้ถ้อยคำในคำปรารภให้สอดคล้องกันตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดย กรธ.ต้องไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ก่อนเสนอนายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป

ซึ่ง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ส.ว.มีสิทธิเสนอชื่อนายกฯ ได้ด้วย เราก็ต้องปรับแก้ตามนั้น ซึ่งศาลไม่ได้บอกแนวทางในการปรับแก้เพียงแต่บอกให้แก้โดยมีผล 2 ข้อ คือ

1.ผู้มีสิทธิเสนอขอยกเว้นการเสนอชื่อนายกฯ จากผู้อยู่บัญชีรายชื่อ คือ สมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของจำนวน 2

2.กำหนดเวลาและวันเริ่มนับเวลาตามร่างรัฐธรรมนูญตามร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 272 วรรคหนึ่งและวรรคสอง คือในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งตรงกับสิ่งที่เราเขียนไป

ผู้สื่อข่าวถามว่า ยังไม่ชัดว่า ส.ว.เสนอชื่อนายกฯได้ใช่หรือไม่ นายมีชัยตอบว่า ดูตาม 2 ข้อข้างต้นเหมือนจะไม่มี มีแต่เสนอยกเว้นที่จะเอาคนนอก ตอนแรกที่ตนอ่านเข้าใจผิด ความจริงเขาเขียนเพียงเท่านี้ อย่างไรก็ตาม กรธ.คงต้องนั่งอ่านและตีความกันอีก ซึ่งภายใน 15 วันต้องชัดเจน

ขณะที่ นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวว่าถ้าพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ร่วมกันก็ได้นายกฯ ของเขาเอง ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้นายกฯ คนนอก แต่ถ้าสองพรรคร่วมกันไม่ได้เชื่อเหลือเกินว่าอาจจะได้นายกฯ คนนอกได้

ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวทีนิวส์เคย ได้นำเสนอเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับที่มาของนายกรัฐมนตรีให้คุณผู้ชมได้รับทราบและร่วมพิจารณา โอกาสความเป็นไปได้ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้ง

ซึ่งความเป็นไปได้ที่เราเสนอให้คุณผู้ชมได้รับทราบก็คือว่า โอกาสที่พล.อ.ประยุทธ์จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น มีความเป็นไปได้น้อยเหลือเกิน จนแทบไม่มีก็ว่าได้

กล่าวโดยสรุปสูตรสมการ การได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั่นก็คือสภาร่วม ที่ประกอบได้ ส.ส.500คน และส.ว.250 รวมเป็น 750 เสียง โดยผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีได้นั้นจะต้องมีคะแนนเกินกึ่งหนึ่ง หรือ376 เสียงขึ้นไปนั่นเอง

ตามคาดการณ์ หากว่าพล.อ.ประยุทธ์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ยกตัวอย่างมีเสียงของวุฒิทั้ง 250 สนับสนุน ก็ต้องการเสียงของส.ส.อีก 126 เสียง ซึ่งถือว่ามีความเป็นไปได้

อาจรู้สึกแปลกใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ก็มีโอกาสที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้งได้ หากมีพรรคการเมืองเสนอรายชื่อเข้าไป

แต่สำนักข่าวทีนิวส์และรายการเจาะข่าวร้อน ไม่ได้มองหยุดอยู่แค่เพียงตรงนั้น เพราะเงื่อนไขสำคัญอีกประการก็คือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่ใช้เสียงในสภาเกินกึงหนึ่ง ย้ำนะค่ะว่าสภาผู้แทนราษฎร ก็สามารถล้มรัฐบาลได้แล้ว

กล่าวโดยสรุปก็คือพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีอาจจะได้ แต่สถานะจะไม่มีความมั่นคงเลยนั่นเอง

มาตรา ๑๖๗ รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(๑) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๗๐

(๒) อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

(๓) คณะรัฐมนตรีลาออก

(๔) พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๔๔

เมื่อรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตาม (๑) (๓) หรือ (๔) ให้ดาเนินการเพื่อให้มีคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ตามมาตรา ๑๕๘ และมาตรา ๑๕๙

มาตรา ๑๗๐ ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ

มาตรา ๑๕๑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ

เมื่อได้มีการเสนอญัตติตามวรรคหนึ่งแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสี่

เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลง โดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไป ให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุดลง

มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

รัฐมนตรีคนใดพ้นจากตำแหน่งเดิมแต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งอื่นภายหลังจากวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่ง หรือพ้นจากตำแหน่งเดิมไม่เกินเก้าสิบวันก่อนวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่ง แต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งอื่น ให้รัฐมนตรีคนนั้นยังคงต้องถูกอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจต่อไป

นั่นหมายความว่าในการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยสภาผู้แทนราษฎร จะเสียงเสียงเกินกึ่งหนึ่งของส.ส. ซึ่งมีทั้งหมด 500 คนก็คือ 251 เสียงขึ้นไปเท่านั้นและถ้าหากว่าพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ จับมือกัน โอกาสหลุดจากตำแหน่งของพล.อ.ประยุทธ์ก็จะเกิดขึ้นทันที

เพราะถ้าหากย้อนกลับไปตรวจสอบฐานเสียงส.ส.ในพื้นที่ของพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เมื่อทั้งสองพรรครวมกันคะแนนจะเกิน 250 เสียงแน่นอนอน

ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554

พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ส.ส.265 คนจากแบ่งเขต 204 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน

 พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ส.ส. 159 คน จากแบ่งเขต 115 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน

สองพรรครวมกันได้คะแนนเสียง 424 เสียง เพราะฉะนั้นจะนายกรัฐมนตรีคนในหรือคนนอกบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นผู้ชี้ขาดอยู่แล้ว

หรือในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2550 ก็ปรากฏคะแนนของทั้งสองพรรคดังนี้

พรรคพลังประชาชน             แบ่งเขต 221                         สัดส่วน35     รวม 256 คะแนน

พรรคประชาธิปัตย์                แบ่งเขต 127  สัดส่วน35      รวม162คะแนน

หรือทั้งหมด 418 เสียง

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าจุดอ่อนดังกล่าว แม่นำ 4 สายที่นำโดยคสช.ทราบมาตั้งแต่ต้นแล้วหรือไม่ จึงมีข้อเสนอขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับอ.มีชัยไปที่ กรธ.แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งก็คือประเด็นที่จะให้ร่วมส.ว.ลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย ซึ่งจะทำให้คะแนนเสียงสามารถยันกับส.ส.ได้

แม้เนื้อหาของรัฐธรรมนูญและสูตรตัวเลขการเลือกตั้งเหมือนจะเป็นการสกัดไม่ให้พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ใช่ว่าโอกาสของพล.อ.ประยุทธ์จะหมดไป