สรุปพูดคุยสันติสุขใต้ !!! ขอ "มาลาปาตานี " อยู่นิ่ง 1ปี แสดงอาลัย "ในหลวงรัชกาลที่ 9" (รายละเอียด)

พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข กล่าวถึงการเดินทางไปพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่างที่กรุงกัมลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียเมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่า เป็นการพูดคุยในประเด็นเรื่องพื้นที่ป

พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข กล่าวถึงการเดินทางไปพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่างที่กรุงกัมลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียเมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่า เป็นการพูดคุยในประเด็นเรื่องพื้นที่ปลอดภัย และก็ได้บอกกลุ่มผู้เห็นต่างว่า ระหว่างนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ สวรรคต พสกนิกรขาวไทยเศร้ากันทั้งประเทศ และท่านก็ทรงปกครองด้วยทศพิธราชธรรม ดูแลทุกศาสนาเหมือนกัน และอยากให้ทุกคนรักกัน

ก็บอกเขาต้องนิ่งๆ โดยมุ่งหวังไม่ให้ปีนี้มีอะไร ซึ่งเขาก็แสดงอาลัย สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเมื่อวานนี้ได้ เข้าไปที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทฯ ได้กราบพระบรมศพ และ กราบพระเก้าอี้ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ขอให้บ้านเมืองสงบ และคงไม่ต้องห่วง ตอนนี้การพูดคุยก้าวหน้าแน่นอน และไม่ได้ไปเสียท่าใคร ซึ่งอย่าไปบอกว่าการพูดคุยเพื่อสันติสุข ไม่มีความคืบหน้า

ก็บอกเขาต้องนิ่งๆ โดยมุ่งหวังไม่ให้ปีนี้มีอะไร ซึ่งเขาก็แสดงอาลัย สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเมื่อวานนี้ได้ เข้าไปที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทฯ ได้กราบพระบรมศพ และ กราบพระเก้าอี้ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ขอให้บ้านเมืองสงบ และคงไม่ต้องห่วง ตอนนี้การพูดคุยก้าวหน้าแน่นอน และไม่ได้ไปเสียท่าใคร ซึ่งอย่าไปบอกว่าการพูดคุยเพื่อสันติสุข ไม่มีความคืบหน้า

ขณะนี้เราคุยจบกันไปแล้วเรื่องพื้นที่ปลอดภัย ต่อไปก็เป็นการลงไปกำหนดพื้นที่โดยดูว่าจะเป็นระดับหมู่บ้าน เมือง หรืออำเภอ ซึ่งเป้าหมายของเราคือยุติความรุนแรง ด้วยกระบวนการพูดคุยสันติสุข ที่ผ่านมา 37 อำเภอเป็นความรับผิดชอบที่เราดูแลอยู่แล้ว เราทำฝ่ายเดียวมา 12 ปีแล้วแต่ยังไม่สามารถทำให้ปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะคนก่อเหตุไม่ร่วมมือด้วย

 

เพราะฉะนั้น เราก็ดึงเขามาร่วมมือ ถ้าเขาให้ความร่วมมือโดยไม่ก่อเหตุ พื้นที่ก็จะสงบ งานแบบนี้ไม่ใช่การโชว์ผลงาน ทำเงียบๆ ให้มันเรียบร้อย ไม่ต้องบอกทุกครั้ง ไม่ต้องเท่ห์ เพราะงานนี้ไม่ใช่งานโชว์

 

ย้อนกลับไป 2 กันยายน 2559 คณะพูดคุยสันติสุข 2 ฝ่าย ระหว่างไทย กับกลุ่มมาราปาตานี ได้มีการเจรจากันอีกครั้ง โดยมีประเทศมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก และจากการหารือกว่า 3 ชั่วโมง ก็มีข่าวสารที่แพร่สะพัดอออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของการทำข้อตกลง หรือการกำหนดพื้นที่โซนนิ่ง

การพูดคุยเพื่อกำหนดพื้นที่ปลอดภัย ระหว่างคณะพูดคุยฝ่ายไทยกับตัวแทนมาราปาตานี วันนี้ ที่ศูนย์ราชการปุตตราจายาเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีตัวแทน 7 ขบวนการเข้าร่วมพูดคุย คือ

1. นายอาวัง ยะบะ ผู้แทนจากกลุ่มบีอาร์เอ็น เป็นประธานกลุ่มมาราปาตานี

2. นายสุกรี ฮารี ผู้แทนจากกลุ่มบีอาร์เอ็น เป็นหัวหน้าคณะเจรจาของกลุ่มมาราปาตานี

3. นายหะยีอาหะมัด ชูโว ผู้แทนจากกลุ่มบีอาร์เอ็น

4. นายอาบูฮาฟิส อัลฮากิม ผู้แทนจากกลุ่ม บีไอพีพี (BIPP)

5. นายอาบู ยาซีม ผู้แทนจากกลุ่มจีเอ็มไอพี (GMIP)

6. พ.อ.กัสตูรี มาห์โกตา ผู้แทนจากกลุ่มพูโล เอ็มเคพี

7. นายอาบูอัครัม บินฮาซัน ผู้แทน จากกลุ่มพูโล ดีเอสพีพี

 ส่วนฝ่ายไทย มี พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขและ พล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช รองแม่ทัพภาคที่ 4 เดินทางเข้าร่วมพูดคุย พร้อมด้วยสมาชิกคนอื่น ๆ

ครั้งนั้น พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขเดินทางกลับประเทศไทย ทันทีพร้อมกับให้สัมภาษณ์สั้นๆว่า ยังไม่มีลงนามทีโออาร์เป็นเพียงเรื่องทางธุรการเท่านั้นและไทยนำความห่วงใยนายกไปยืนยันในเรื่องเหตุการณ์ความรุนแรงว่าขอให้เหตุรุนแรงยุติเสียก่อนแต่กลุ่มเห็นต่างยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง ยินดีให้ความร่วมมือไทย พร้อมกับระบุว่ายังไม่ได้หารือกำหนดพื้นที่ปลอดภัย

 

สำหรับ มาราปาตานี ริเริ่มโดยสมาชิก BRN หรือ แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ ที่สนับสนุนการเจรจาต่อรองว่าจะเป็นกระบวนการเชิงรุกหนึ่งที่จะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อสันติภาพ โดยองค์กรดังกล่าวก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2557 โดยกลุ่มสมาชิก BRN ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ รวมถึงกลุ่มเยาวชน, อุลามาอ์ และกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งกลุ่มดังกล่าวถือว่าพวกเขาเป็น “คณะผู้ก่อการใน BRN ที่ต้องการหาทางแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยวิธีการเจรจากับรัฐบาลไทย

ในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2558 คณะผู้ก่อการใน BRN กลุ่มนี้ได้นำเสนอแนวคิดและเปิดโอกาสให้กลุ่มนักต่อสู้ปาตานีกลุ่มอื่นๆ เข้าร่วมเป็นหนึ่งในองค์กรดังกล่าวนี้และร่วมกันกำหนดแนวทางในการต่อสู้ รวมทั้งกำหนดข้อเรียกร้องร่วมในการเข้าสู่การเจรจาสันติภาพกับฝ่ายรัฐบาลไทย

มาราปาตานีมีองค์กรเข้าร่วมที่ประกอบด้วย

1. แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (คณะผู้ก่อการใน BRN)

2. แนวร่วมอิสลามปลดปล่อยปาตานี

3. องค์การปลดปล่อยสหปาตานี

4. องค์การปลดปล่อยสหปาตานี

5. องค์การปลดปล่อยสหปาตานี

6. ขบวนการมูญาฮิดีนอิสลามปาตานี

 

ว่าด้วยเรื่องการจำกัดพื้นที่การก่อเหตุนั้น หรือการตีกรอบพื้นที่โซนนิ่ง ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเลยทีเดียว ที่จะนำไปสู่การจดจำนวนการก่อเหตุและความสูญเสียลง

โดยตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่รัฐบาลคสช.เข้ามาบริหารประเทศ ก็สามารถลดจำนวนพื้นที่การก่อเหตุจะสีแดง ลงมาเป็นสีส้ม และเขียว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้จากจำนวนหมู่บ้านใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจ.สงขลา ทั้งหมด 1,970 หมู่บ้าน

 แยกเป็นหมู่บ้านสีแดง หรือหมู่บ้านเสริมความมั่นคง จำนวน 136 หมู่บ้าน จากเดิมมี 319 หมู่บ้าน ลดลง 183 หมู่บ้าน หรือร้อยละ 57.37

 หมู่บ้านสีเหลือง หรือหมู่บ้านเฝ้าระวัง ปัจจุบันมี 234 หมู่บ้าน จากเดิมมี 517 หมู่บ้าน เท่ากับลดลง 283 หมู่บ้าน หรือ ร้อยละ 54.74

 

หมู่บ้านสีเขียว หรือ หมู่บ้านเสริมการพัฒนา ปัจจุบันมี 1,600 หมู่บ้าน จากเดิมมี 1,160 หมู่บ้าน เพิ่มขึ้น 440 หมู่บ้าน หรือร้อยละ 37.93

ไม่เพียงแต่การลดจำนวนพื้นที่การก่อเหตุแล้ว สำหรับหมู่บ้านหรือพื้นที่ไหนที่ถูกแยกออกจากการก่อเหตุก็จะมีกระบวนการพัฒนาผ่านโครงการประชารัฐ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนในพื้นที่ ไม่กลับไปอยู่ในสภาพปัญหาของความรุนแรงแบบเดิม

เรียบเรียงโดย ชนุตรา เพชรมูล