เป็นไปตามกฏหมาย !!!  "ยิ่งลักษณ์" ฟังเอาไว้ "พล.อ.ประยุทธ์" เสียงดังฟังชัด ...ถ้าคิดว่าไม่เป็นธรรม นู้น ไปร้องศาล

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ทำหนังสือขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายว่า เพิกถอนผมได้เหรอ เรื่องนี้เป็นคดีความ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ทำหนังสือขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายว่า เพิกถอนผมได้เหรอ เรื่องนี้เป็นคดีความถ้าคิดว่าไม่เป็นธรรม คิดว่าไม่ผิดก็ไปร้องศาล ถ้าไม่ผิดศาลก็ถอนให้ 

ขณะเดียวกัน ก่อนหน้านี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และจำเลยคดีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ได้ทำหนังสืออุทธรณ์ถึงนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ที่เรียกค่าเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว วงเงิน 35,717,273,028.23 บาทแก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์

 

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุว่า คำสั่งทางปกครองดังกล่าวไม่เป็นธรรม จึงขอโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว และขอให้ปลัดกระทรวงการคลัง และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาเพิกถอนคำสั่งทางปกครองฉบับดังกล่าวภายใน 7 วัน โดยยกเหตุผลสรุปได้ว่า คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง เป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงจากการยึดอำนาจ โดยการรัฐประหารรัฐบาลที่ตนเป็นนายกรัฐมนตรี และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว จึงถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้นการออกคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชี้นำให้เกิดความไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ รวมไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ตอนหนึ่งสรุปได้ว่า ให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อตนโดย ‘ไม่จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นยุติธรรม’ อันเป็นการสั่งการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นผลให้การดำเนินการในเรื่องนี้ทั้งหมดไม่ชอบด้วยกฏหมาย ไม่เป็นธรรมในทุกขั้นตอน

นอกจากนี้ 30 ตุลาคม 59 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าว  ว่า  ผู้ถูกออกคำสั่งทางปกครองสามารถโต้แย้งคำสั่งได้สามกรณี คือการอุทธรณ์คำสั่ง การขอทุเลาคำสั่ง และการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เท่านั้น    ในกรณีนี้จึงไม่สามารถขออุทธรณ์คำสั่งได้ เนื่องจากกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า เมื่อคำสั่งออกโดยรัฐมนตรีถ้าให้รัฐมนตรีพิจารณาอุทธรณ์ไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นคนเดียวกัน กรณีนี้จึงเหลือช่องทางการขอทุเลาคำสั่ง ซึ่งรัฐบาลจะให้หรือไม่ก็ได้ และการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ซึ่งสามารถขอให้ศาลออกคำสั่งทุเลาในคราวเดียวกันได้ แต่การขอให้พิจารณาใหม่ ไม่เข้าเงื่อนไขการโต้แย้งคำสั่ง และไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลจะดำเนินการตามนั้น เพราะเราได้ตั้งกรรมการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแล้ว และมั่นใจว่าการดำเนินการถูกต้องแล้ว


 

เรียบเรียงโดย ชนุตรา สำนักข่าวทีนิวส์