เปิดคำพิพากษา!!! คดียึดทรัพย์ "ทักษิณ ชินวัตร" 7.6 หมื่นล้าน (รายละเอียด)

เปิดคำพิพากษา!!! คดียึดทรัพย์ "ทักษิณ ชินวัตร" 7.6 หมื่นล้าน (รายละเอียด)

จากการนำเสนอข้อมูลของทางสำนักข่าวทีนิวส์ ที่ได้นำมาไล่เรียงให้ได้รับทราบคือข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ว่า ที่ผ่านมานายทักษิณ ชินวัตร ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นก็มีข้อมูลปรากฎว่าได้ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ในการหาผลประโยชน์ให้ตนเองและครอบครัว จนทำให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำตัดสินให้ยึดทรัพย์สินจำนวน 76,261.6 ล้านบาทตกเป็นของแผ่นดิน


ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2553  คือวันประวัติศาสตร์ ที่คนในสังคมไทยต้องจดจำ กับคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ยึดทรัพย์สินจำนวน 76,261.6 ล้านบาท ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตกเป็นของแผ่นดิน

โดยคำพิพากษาศาลฎีกาฯในวันนั้นมีการบันทึกโดยสรุปเป็นใจความสำคัญได้ ดังนี้ ประเด็นวินิจฉัยผู้ถูกกล่าวหาปกปิดอำพรางหุ้นหรือไม่ วินิจฉัยว่า ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 วาระ ยังถือหุ้นไว้ แต่ปี 2549 รวบรวมหุ้นทั้งหมดขายให้เทมาเส็ก โดยมีการโอนหุ้นให้กับผู้คัดค้านหลายคนจริง ผู้ถูกกล่าวหาแม้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2544 แล้ว ผู้ถูกกล่าวหามีอำนาจดำเนินนโยบายและแต่งตั้งกรรมการในบริษัทชินคอร์ปจริง   การควบคุมนโยบายของผู้ถูกกล่าวหาผ่านทางคณะกรรมการบริษัทชินคอร์ปจริง มีมติเป็นเอกฉันท์ ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 มีหุ้นในเทมาเส็กจริง
การขายหุ้นให้พี่น้องมีพิรุธ ไม่มีใครจ่ายเป็นเงิน ทั้งที่จริงๆ มีเงินจ่ายได้ แต่กลับจ่ายเป็นตั๋วสัญญา อีกทั้งยังเป็นผู้รับเงินปันผลตามบัญชีบริษัทแอมเพิลริช ที่มีเงินปันผลเข้าบัญชีระหว่างปี2546-2548 จำนวน 1,000 ล้านบาท ศาลจึงมีมติเอกฉันท์ว่าผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นใหญ่กว่า 1,400 ล้านหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งทั้งสองสมัย

 

ซึ่งจากกรณีที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นก็สามารถแบ่งแยกย่อยได้มาอีก 5 กรณี ประกอบด้วย

กรณีที่ 1 การแปลงสัญญาสัมปทานฯ เอื้อประโยชน์ชินคอร์ป      

 วินิจฉัยว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ชินคอร์ป และเป็นเหตุให้ชาติเสียหาย เพราะภาษีสรรพสามิตหายไป 6 หมื่นล้านเศษ มีมติด้วยเสียงข้างมาก ผู้ถูกกล่าวหา ใช้ตำแหน่งหน้าที่ ตราพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ ทำให้ชาติเสียหาย


กรณีที่ 2 กรณีแก้ไขสัญญาโทรศัพท์มือถือ กรณีบัตรเติมเงิน และ โรมมิ่ง
โดยการแก้ไขสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรเติมเงิน (PREPAID CARD) ส่งผลให้เอไอเอส จ่ายส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ให้แก่ บริษัท ทศท ในอัตรา 20 เปอร์เซ็นต์ คงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทานตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 จากเดิมที่ต้องจ่ายตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการ


การแก้ไขสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม (ROAMING) และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ และกรณีการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ ชินคอร์ปฯ และเอไอเอส การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ให้บริษัท เอไอเอส เข้าไปใช้เครือข่ายร่วมผู้ให้บริการรายอื่นมีผลต่อการจ่ายเงินผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ต้องจ่ายให้กับ บริษัท ทศท. และบริษัท กสท.ไม่น้อยกว่า 18,970,579,711 บาท กลายเป็น  เอไอเอส จะได้รับผลประโยชน์ที่ไม่ต้องจ่ายเงินจำนวนดังกล่าว
วินิจฉัยว่า ภาระเอไอเอสลดน้อยลง แต่มีรายได้เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 44-49 โดยลำดับ ตั้งแต่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมาก ว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขสัญญาดังกล่าว และผู้ถูกกล่าวหามีหุ้นในชินคอร์ป ผลประโยชน์จึงตกแก่ผู้ถูกกล่าวหา เงินที่ขายหุ้นให้เทมาเส็ก จึงได้มาโดยไม่สมควร


กรณีที่ 3 กรณีการใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง)

วินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีส่วนในการแก้ไขสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่ออนุญาตให้ใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง) และปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมระหว่างกสท.กับ DPC เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับชินคอร์ปฯ และเอไอเอส แต่เนื่องจากมีการขายหุ้นให้เทมาเส็กไปเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ทำให้ผู้ได้รับประโยชน์จากการลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมไม่ใช่ผู้ถูกกล่าวหา แต่เป็นเทมาเส็ก


กรณีที่ 4 กรณีแก้ไขสัญญาสัมปทานดาวเทียมโดยมิชอบ

การละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจดาวเทียมตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี ได้แก่ การอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพี สตาร์, การอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทาน ครั้งที่ 5 วันที่ 27 ตุลาคม 2547 รวมถึงการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ ในบริษัท ชินแซทเทิลไลท์ ที่เป็นผู้ขออนุมัติสร้างและส่งดาวเทียมไทยคม และการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปเช่าช่อสัญญาณต่างประเทศ ล้วนเป็นการเอื้อประโยชน์กับบริษัท ชินคอร์ปฯ และชินแซท
วินิจฉัยว่า เป็นการกระทำที่ลัดขั้นตอน รีบเร่ง ผิดปกติวิสัย ทั้งนี้ ดาวเทียม IP STAR ไม่ได้เป็นดาวเทียมหลัก แทนไทยคม 3 เป็นดาวเทียมใช้สื่อสารต่างประเทศ ผิดสัญญาตามที่ระบุว่า ใช้สื่อสารในประเทศ จึงอยู่นอกกรอบสัญญา เป็นการอนุมัติให้บริษัทผู้ถูกกล่าวหา ได้รับสัมปทานไปโดยไม่มีคู่แข่ง ทำให้รัฐเสียหายกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท องค์คณะจึงมีมติด้วยคะเสียงข้างมาก เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ชินคอร์ และบริษัทไทยคม


กรณีที่ 5 กรณีอนุมัติเงินกู้เอ็กซิมแบงค์ให้พม่า

การขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมให้กับประเทศพม่า เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจากประชุมร่วมกับพม่า-กัมพูชา และในการประชุมครั้งนั้นก็มีเจ้าหน้าที่ของไทยคมและไอเอเอส ไปสาธิตระบบให้บริการมือถือผ่านดาวเทียมในการประชุมด้วย จึงย่อมแสดงให้เห็นว่าการขอวงเงินเพิ่มเติมมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากไทยคมนั่นเอง
ส่วนที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่าได้อนุมัติเงินไปซื้อสินค้าอื่นนั้น ก็ไม่อาจรับฟังหักล้างข้อที่ว่าไทยคมจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการในเรื่องนี้ได้  และที่อ้างว่าการอนุมัติวงเงินสินเชื่อนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของธนาคารนั้น  เห็นว่าธนาคารเอ็กซิมแบงค์ ตั้งขึ้นตามพรบ.เอ็กซิมแบงค์ ปี2536 และอยู่ในการกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จัดเป็นหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล

ใน 5 กรณีพบว่ามีการสั่งการอยู่ 2 กรณีคือการแปลงภาษีสรรพสามิตฯ โดยเป็นการสั่งการและมอบนโยบายให้ปฏิบัติเป็นลำดับชั้น ตั้งแต่รมว.คลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ข้าราชการ .และกรรมการในชุดต่างๆ  

อีกกรณีคือการอนุมัติของเอ็กซิมแบงค์ในการให้วงเงินสินเชื่อแก่พม่า โดยผู้ถูกกล่าวหาได้สั่งการและมอบนโยบายผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ


ส่วนอีก 3 กรณีคือบัตรเติมเงิน การใช้โรมมิ่ง และละเว้นอนุมัติส่งเสริมธุรกิจดาวเทียมในประเทศ ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาล้วนเป็นผู้กำกับดูแลในฐานะนายกรัฐมนตรี มีการไล่เป็นลำดับชั้นได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที และหน่วยงานของรัฐต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกฯ และเป็นประธานบีโอไอ  


ส่วนกรณีการใช้เครือข่ายร่วมนั้นก็ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่ปฏิบัติ และมีการตอบสนองเอไอเอสอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับกรณีดาวเทียมสื่อสารในประเทศ ก็มีวิธีการทำนองเดียวกัน คือให้รมว.คมนาคมอนุมัติไปก่อนที่คณะกรรมการจะรับรายงานการประชุม ปรากฏจากบันทึกของบวรศักดิ์ อุวรรโณว่า เป็นเรื่องที่ไม่สมควร เนื่องจากสัญญาสัมปทาน มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกฯ จึงให้ถอนเรื่องออกไป 
และเงินขายหุ้นชินคอร์ปให้กับเทมาเส็กจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร ในฐานะดำรงตำแหน่งนายกฯ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ ตามประกาศคปค.ฉบับที่30 ประกอบพรบ.รัฐธรรมนูญว่าปปช.  แต่โดยที่ผู้คัดค้าน 1 ร้องคัดค้านในประเด็นสินสมรส จึงเห็นควรวินิจฉัยเสียก่อนว่าศาลจะให้เงินในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดินได้หรือไม่


กรณีนี้เห็นว่าการจะให้ความคุ้มครองในทรัพย์สินนั้น ต้องได้ความว่าทรัพย์สินดังกล่าวได้มาโดยชอบและในทางที่สมควร คดีนี้ได้ความจากการไต่สวนว่าผู้ถูกกล่าหาและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งชินคอร์ป  และหุ้นที่ทั้งสองคนถือหุ้นก็มีมาก และในสัดส่วนที่สูง และทั้งคู่มีประโยชน์ร่วมกันตลอดมา  และผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็นผู้จัดการทรัพย์สิน การที่ขายแอมเพิลริช และขายหุ้นชินคอร์ปให้กับแอมเพิลริช ก็ได้ความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้จ่ายเงินให้กับผู้ถูกกล่าวหาไปก่อน 

 

นอกจากนั้นผู้คัดค้านที่ 1 ยังมีส่วนร่วมในการหลีกเลี่ยงในการโอนหุ้น  เป็นการแสดงให้เห็นเจตนาในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันตลอดมา

เมื่อฟังว่าเงินปันผลค่าหุ้น เป็นการได้มาโดยมิชอบเสียแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านย่อมไม่อาจอ้างว่าเป็นสินสมรสได้  ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เงินในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดินได้ด้วย
ส่วนจะต้องตกเพียงใดนั้น เห็นว่าพรบ.ปปช.มาตรา 4 ให้ความเหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการร้องขอให้ทรัพย์สินเป็นของแผ่นดินไว้ 2 กรณี คือ 1.ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือหนี้สินลดลงผิดปกติ และ2.ร่ำรวยผิดปกติ คือมีทรัพย์สินมีทรัพย์สินเพิ่มมากผิดปกติ หรือมีหนี้สินมากผิดปกติ  


เมื่อพิจารณาจากความหมายของคำดังกล่าวเห็นว่ามูลคดีของการร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินแยกเป็น 2 กรณีคือ1.เมื่อเปรียบเทียบบัญชีทรัพยฺ์สินหนี้สิน ทั้งก่อนและหลังดำรงตำแหน่ง พบว่ามีทรัพย์สินมากผิดปกติ กับการที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ผู้คัดค้านทำนองว่าก่อนที่ผู้ถูกกล่าวหาจะดำรงตำแหน่งวาระแรกมีทรัพย์สินที่ยื่นต่อปปช.มีมูลค่ารวม 15,124 ล้านบาท จึงไม่อาจให้ทรัพย์สินในส่วนนี้เป็นของแผ่นดินได้นั้น


เห็นว่าคดีนี้คตส.ไต่สวน และผู้ร้องกล่าวถึงกรณีผู้ถูกกล่าวมีส่วนได้เสียจากกชินคอร์ป ใช้อำนาจกระทำการต่างๆ เอื้อประโยชน์ให้กับชินคอร์ป และทรัพย์สินที่ร้องขอก็มุ่งเฉพาะเงินปันผลและเงินที่มุ่งเฉพาะที่ขายได้จากการขายหุ้นเท่านั้น อีกทั้งคำร้องของผู้ร้องก็ไม่ได้บังคับไปถึงทรัพย์สินอื่น  จึงไม่ต้องพิจารณาคำร้องคัดค้านของทั้งสอง  อย่างไรก็ดี มีข้อต้องพิจารณาต่อไปอีกว่าเงินปันและเงินที่ได้จากการขายหุ้นเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควรทั้งจำนวนหรือไม่


ในข้อนี้หากพิจารณาว่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ และร่ำรวยผิดปกติแล้ว เห็นว่าไม่ว่ามูลคดีจะเป็นกรณีใดกรณีหนึ่ง ย่อมต้องเป็นทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาอยู่แล้ว ส่วนเงินปันผลค่าหุ้นตามจำนวนที่ถืออยู่ในเอไอเอส และไทยคมบางส่วน ถือเป็นทรัพย์สินที่ได้มานอกจากที่มีอยู่แล้ว ต้องตกเป็นของแผ่นดินทั้งจำนวนส่วนเงินที่ได้จากการขายหุ้นเป็นเงินที่มีมูลค่าเดิมอยู่ด้วย การจะให้ค่าขายหุ้นตกเป็นของแผ่นดินทั้งจำนวนย่อมไม่เป็นธรรม
และเมื่อพิจารณาจากการที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นสัมปทานจากรัฐ มาตรา 100 ประกอบพฤติการณ์ ที่ให้ผู้คัดค้าน 2-5 ถือหุ้นไว้แทน รวมทั้งใช้อำนาจหน้าที่กระทำการเอื้อประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมไม่เป็นการสมควรที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 จะได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงถือว่าปย.ค่าหุ้นชินคอร์ปในส่วนที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ 7 กุมภา 44 เป็นต้นไป เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร

เมื่อพิจารณาแล้วปรากฏว่าการซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 คำนวณจากหุ้น 1,419,490,150 หุ้นที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นเงิน 32,047 ล้าน 9 แสนซึ่งมีอยู่แต่เดิม ไม่อาจให้ตกเป็นของแผ่นดินตามที่ร้องได้  องค์คณะจึงมีมติเสียงข้างมากให้ทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดิน เฉพาะเงินปันผลและค่าขายหุ้น รวมจำนวน 46,373,680,754.74 สตางค์