จับตา !?!? "พล.อ.ประยุทธ์" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง "บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

จับตา !?!? "พล.อ.ประยุทธ์" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง "บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

วันที่ 30 มีนาคม 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพ และอดีตสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช)ด้านพลังงานเดินทางมายื่นหนังสือคัดค้าน แก้กฎหมายปิโตรเลียมต้องทำเพื่อประชาชนมิใช่อวยทุน "หยุด!ร่าง พ.ร.บ.ปิโตเลียมฯฉบับปล้นกลางแดด"ที่หน้ารัฐสภา

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

โดยก่อนหน้าม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ให้พิจารณารับร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ปิโตรเลียม พ.ศ…. แต่ให้ตัดมาตรา 10/1 เรื่องการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติออกไป

โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้เขียนจดหมายถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีข้อความระบุว่า วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560 เรียนท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่นับถือ

เมื่อผมพ้นหน้าที่จากคณะรัฐบาลชุดปัจจุบันมาแล้ว ผมระมัดระวังไม่ทำอะไรที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของรัฐบาลนี้ ด้วยเห็นว่าจะต้องช่วยกันผลักดันให้ประเทศของเราก้าวหน้าต่อไปอย่างดีที่สุด อย่างไรก็ตามมีอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งผมเฝ้าติดตามเรื่อยมา เพราะหากเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงจะมีผลเสียต่อประเทศชาติเป็นอย่างมากชนิดที่ว่าจะแก้กลับไม่ได้ และนั่นก็คือความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งซึ่งจะเข้ามามีอำนาจเหนือแหล่งพลังงานและกิจการพลังงานของชาติ

ท่านสมาชิก สนช. คงพอจะจำได้ว่าเมื่อตอนต้นปี 2558 รัฐบาลในขณะนั้นเห็นว่าแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ขุดเจาะใช้อยู่ในปัจจุบันมีปริมาณลดน้อยลง จนอาจจะหมดไปในระยะเวลา 4-5 ปี จำเป็นต้องมีการสำรวจหาแหล่งใหม่ที่ยังมีก๊าซธรรมชาติเพียงพอที่จะเจาะนำขึ้นมาใช้ได้อีกนาน กระทรวงพลังงานจึงได้ประกาศเชิญชวนให้บริษัทเอกชนที่สนใจ ยื่นข้อเสนอในการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งใหม่ โดยจะให้สัมปทานในการขุดเจาะแก่ผู้ที่สำรวจพบและเสนอผลประโยชน์แก่รัฐสูงที่สุด ปรากฏว่ามีผู้ออกมาคัดค้าน โดยมิได้คัดค้านในประเด็นที่จะต้องมีการสำรวจ แต่คัดค้านว่าไม่ควรให้สัมปทานแก่ผู้ที่สำรวจพบ และเสนอแนะใช้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract หรือ PSC) แทน ด้วยเชื่อว่าระบบ PSC จะให้ประโยชน์แก่ประเทศมากกว่าระบบสัมปทาน การคัดค้านดังกล่าวทำให้นายกรัฐมนตรีเปลี่ยนใจและหยุดการประกาศเชิญชวนให้สิทธิสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21ไว้

ผมในฐานะรองนายกรัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบดูแลกระทรวงพลังงานจึงเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อขอทราบนโยบายว่าจะให้มีการสำรวจหาแหล่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมหรือไม่ คำตอบของนายกรัฐมนตรีก็คือ ยืนยันที่จะให้มีการสำรวจ และมอบให้ผมแก้ไขกฎหมาย (พ.ร.บ.ปีโตรเลียม) เพื่อมิให้การสำรวจและการผลิตจำกัดอยู่เฉพาะระบบสัมปทานดังที่ปรากฏอยู่ใน พรบ. ฉบับที่ใช้อยู่ ผมได้มอบให้เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานร่างแก้ไขกฎหมายให้เปิดกว้าง โดยให้รวมถึงระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) และ ระบบจ้างสำรวจและผลิตด้วย

ผมเสนอร่างดังกล่าวต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2558 คณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยเร่งพิจารณาให้จนเสร็จเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมแล้วส่งกลับมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปรากฏว่าไม่มีการนำเรื่องเสนอที่ประชุม ครม. จนผมต้องไปตามเรื่องจึงทราบว่าติดอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ในที่สุดก็ยอมให้นำเรื่องเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 4 สิงหาคม 2558 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้นำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อตราเป็นกฎหมายออกใช้ เพื่อที่จะได้สามารถเริ่มการสำรวจก๊าซธรรมชาติได้ทันใช้

สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือทันทีที่ ครม.มีมติดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้บอกผมว่าก่อนนำเสนอ สนช. ขอให้ผมชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการพลังงานของ สนช. ผมได้ปฏิบัติตามโดยเชิญคณะกรรมาธิการดังกล่าวมาสนทนากันที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ผู้ที่มาพบมีด้วยกัน 7 คน ปรากฏว่าเป็นอดีตนายทหารระดับสูงถึง 6 คน เมื่อผมชี้แจงแล้วก็ได้รับคำตอบว่าไม่ขัดข้องที่จะเปิดทางเลือกในการสำรวจและการผลิตให้มีหลายวิธี แล้วเลือกจากวิธีที่ประเทศชาติได้รับประโยชน์สูงสุด แต่เห็นว่า พรบ.ฉบับนี้ยังขาดไปอีก 1 เรื่อง คือเรื่องการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งทำให้ผมประหลาดใจเป็นอย่างมาก 

ผมได้ชี้แจงกลับทันทีว่าจุดมุ่งหมายของการออก พรบ.ใหม่ฉบับนี้ก็เพื่อจะเปิดโอกาสให้มีการสำรวจก๊าซธรรมชาติโดยให้ครอบคลุมถึงวิธีการต่างๆให้มากขึ้นกว่าระบบสัมปทานแต่อย่างเดียว ซึ่งเป็นไปตามข้อเรียกร้องของภาคประชาชน ไม่เคยมีใครพูดถึงบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเลย กระทรวงพลังงานไม่มีนโยบายในเรื่องนี้ และเมื่อนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ผมร่างกฎหมาย ก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ตัวแทนคณะกรรมาธิการดังกล่าวก็ยังยืนยันว่าควรเพิ่มเติมเรื่องการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเข้าไปด้วย ผมได้แจ้งว่าคงจะเติมให้ไม่ได้เพราะไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล และจะขอเสนอร่างไปยัง สนช. ตามที่ร่างไว้

ครั้นถึง 19 สิงหาคม 2558 ผมก็พ้นจากตำแหน่งโดยยังไม่ทันได้เสนอร่าง พรบ. ดังกล่าวต่อ สนช. รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานคนต่อมาได้นำร่าง พรบ. ดังกล่าวเสนอต่อ สนช. ตามเนื้อหาที่ร่างไว้เดิม ปรากฏว่าคณะกรรมาธิการการพลังงานได้เสนอร่าง พรบ. เพิ่มเติมอีกฉบับหนึ่งเพื่อจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ รัฐบาลจึงส่งร่าง พรบ. ทั้งสองฉบับไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา หากเห็นด้วยก็อาจรวมเป็นร่างเดียวกันได้

คณะกรรมการกฤษฎีกาได้เชิญรองนายกรัฐมนตรีที่คุมงานของกระทรวงพลังงานไปชี้แจง ซึ่งท่านได้ชี้แจงว่าไม่เห็นด้วยและไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ คณะกรรมการกฤษฏีกาจึงได้ปฏิเสธที่จะเพิ่มเติมเรื่องการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเข้าไปในร่าง พรบ. ของรัฐบาล และส่งเรื่องกลับไปยัง ครม. ซึ่งได้มีมติให้ส่งร่างเดิมของรัฐบาลไปยัง สนช. เพื่อพิจารณาออกเป็นกฏหมายต่อไป

ร่าง พรบ.ดังกล่าว (ที่ไม่มีเรื่องบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ) ได้ผ่านการพิจารณาของ สนช. ในวาระหนึ่งและ สนช. ได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาในวาระ 2 ปรากฏว่าได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของสภานิติบัญญัติ กล่าวคือในการพิจารณาในวาระ 2 คณะกรรมาธิการวิสามัญได้เพิ่มเติมเรื่องใหม่ซึ่งเป็นการแก้ไขหลักการของ พรบ. โดยเติมมาตราเกี่ยวกับการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเข้าไปในร่าง ทั้งๆ ที่รัฐบาลผู้เสนอร่างไม่มีนโยบายที่จะทำ และไม่มีการระบุหลักการและเหตุผลที่จำเป็นต้องจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติแต่ประการใด การเพิ่มเติมเรื่องใหม่นี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งปรากฏว่ามีการขอเพิ่มเติมข้อความในเรื่องนี้กลับไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการถึงสองครั้ง และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันก็ได้กระทำการที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน โดยการโอนอ่อนผ่อนตามให้มีการเพิ่มมาตราในเรื่องใหม่ดังกล่าว ทั้งที่รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่จะทำ และแม้กระทั่งการศึกษาถึงผลได้ผลเสียตลอดจนความจำเป็นในการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ รัฐบาลก็ยังไม่เคยทำไว้ คณะรัฐมนตรีไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดเลยที่จะต้องโอนอ่อนผ่อนตามคำขอที่ไม่ชอบมาพากลของคณะกรรมาธิการฯในเรื่องนี้ นอกเสียจากว่าจะเกรงใจใครบางคนหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ซึ่งมีอิทธิพลอยู่ในคณะรัฐมนตรีด้วย

มาตราที่เพิ่มเติมใหม่นี้คือ มาตรา 10/1 ซึ่งมีข้อความว่า

มาตรา 10/1 ให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเมื่อมีความพร้อม โดยพิจารณาจากผลการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรายละเอียดของรูปแบบและวิธีการดำเนินการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ

ร่างพรบ. ฉบับใหม่นี้ได้ถูกนำบรรจุวาระเพื่อการพิจารณาในวาระ 2 และ วาระ 3 ในวันที่ 30 มีนาคม 2560 นี้ ซึ่งหากที่ประชุม สนช. มีมติอนุมัติก็จะสามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายมีผลบังคับใช้ทันที ซึ่งหมายความว่ากลุ่มบุคคลที่ต้องการให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ สามารถเริ่มผลักดันด้วยการเริ่มเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ การศึกษาผลดีผลเสียก็คงจะเตรียมกันไว้แล้วในแนวทางที่ต้องการ หน่วยงานที่เห็นว่ายังไม่มีความพร้อมเพียงพอหรือมองเห็นถึงผลเสียเป็นอันมาก ก็คงจะไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะคัดค้านได้ เพราะแม้แต่เรื่องที่รัฐบาลไม่เห็นด้วย กลุ่มบุคคลกลุ่มนี้ก็ยังผลักดันให้ออกมาเป็นกฎหมายจนได้ ต้องมีผู้มีอำนาจหนุนหลังอยู่อย่างแน่นอน

สาเหตุที่ไม่ควรมีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาตินั้น เป็นเพราะผมเองได้เคยเห็นข้อความในร่างที่มีผู้เตรียมการเพื่อเสนอจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งระบุว่า “บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ เป็นผู้ถือสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียมทุกชนิดของประเทศ” และ “ในระยะเริ่มต้นของการดำเนินงาน ให้กรมพลังงานทหารเป็นหน่วยงานที่บริหารบรรษัทน้ำมันแห่งชาติไปก่อน…”

หากเป็นไปตามร่างดังกล่าว กิจการน้ำมันของประเทศก็จะถอยหลังไป ผมจำได้ว่าเมื่อ 50 ปีก่อน ขณะที่กรมพลังงานดูแลกิจการน้ำมัน เรามีน้ำมัน ‘สามทหาร’ ของไทยที่มีส่วนการตลาดน้อยมากและถูกครอบงำโดยบริษัทน้ำมันต่างชาติเป็นสำคัญ ต่อมาเราก่อตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นรัฐวิสาหกิจที่ทำหน้าที่เสมือนบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งปรากฏว่าพัฒนามาได้ดีอย่างรวดเร็ว 

ปัจจุบันครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 เหนือกว่าบริษัทน้ำมันต่างชาติทั้งหมด ปตท. ได้พัฒนาแหล่งพลังงานใหม่คือก๊าซธรรมชาติรองรับความต้องการพลังงานที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ได้ขยายตัวไปสำรวจและผลิตในต่างแดนนำพลังงานกลับมารองรับความเจริญของประเทศได้อย่างทันเหตุการณ์ ได้ขยายเครือข่ายการขายออกไปคุมตลาดในประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ และได้ตั้งบริษัทในเครือเพื่อดำเนินกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานอีกหลายบริษัท เรามีรัฐวิสาหกิจที่ทำหน้าที่บรรษัทน้ำมันแห่งชาติได้ดีอยู่แล้ว ถ้ามีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติใหม่เกิดขึ้นมาและใช้อำนาจที่มีกฎหมายรองรับ ดึงกรรมสิทธิ์ของพลังงานทุกชนิดมาอยู่ที่บรรษัทใหม่แห่งนี้ วิสาหกิจและกิจการของบริษัทพลังงานต่างๆ หลายแห่งจะดำเนินอยู่ต่อไปได้อย่างไร กิจการเหล่านี้เป็นกิจการขนาดใหญ่ หากต้องหยุดลง ปัญหาอาจลุกลามจนเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจได้ และบรรษัทใหม่ซึ่งยังไม่มีประสบการณ์จะพัฒนาตนเองให้สามารถรองรับความเจริญทางเศรษฐกิจได้เพียงพอหรือ? จะสามารถรับมือกับปัญหาและพัฒนาการใหม่ๆ ของกิจการพลังงานได้หรือ? กิจการพลังงานของเราซึ่งรุดหน้ามาด้วยดี คงจะสะดุดจนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้

ผมจึงใคร่ขอร้องมายังท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกท่านที่จะเข้าประชุมในวันที่ 30 มีนาคม 2560 นี้ได้โปรดช่วยชาติด้วยการใช้ความระมัดระวังในการลงคะแนนเสียงเพื่อมีมติเกี่ยวกับ พรบ.ปิโตรเลี่ยม ในวาระ 2 และ วาระ 3 ถ้าท่านจะลงมติผ่านร่าง พรบ. ตามที่คณะกรรมการวิสามัญเสนอมาซึ่งรวมมาตรา 10/1เท่ากับว่าท่านสนับสนุนให้เกิดบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งจะมีผลเสียต่อความเจริญของประเทศอย่างแน่นอน แต่ถ้าท่านลงมติไม่รับร่างดังกล่าวเราก็จะไม่มีกฎหมายรองรับการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งใหม่ ฉะนั้นจะ เป็นไปได้ไหมครับที่จะลงมติรับร่างโดยให้ตัดมาตรา 10/1 เรื่องการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติออกไป ถ้าได้เช่นนั้น ประชาชนคนไทยคงจะขอบใจ และวางใจได้ว่าเรายังมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อยู่

เพื่อนของผมบอกผมว่าถึงผมจะอ้อนวอนอย่างไรก็คงไม่สำเร็จ เพราะในสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบันมีทหารอยู่มากกว่าครึ่ง ทหารก็คงจะลงมติตามที่กลุ่มทหารเสนอมา ผมตอบเขาไปว่าทหารทุกคนรักชาติไม่แพ้พวกเรา หากไม่มีใครชี้แจงให้เขาเห็นข้อดีข้อเสีย เขาก็จะลงมติตามที่บอกต่อกันมา แต่ถ้าเราชี้แจงให้เขาเห็นอย่างชัดเจนถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศชาติ เขาก็จะคิดได้และเขาก็มีความเป็นตัวเองที่จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ

ผมจึงขอวิงวอนมายังท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติทุกท่านได้โปรดได้ดุลยพินิจในการรักษาผลประโยชน์ของชาติด้วยเถิด ผมอยากเห็นประเทศก้าวไปข้างหน้า ไม่ใช่ถอยหลังกลับไปเหมือน 50 ปี ก่อนครับ
ขอแสดงความนับถือ

(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

โดยเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม พ.ศ..... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ชี้แจงกรณี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มีอดีตนายทหาร 6 นายสอดไส้ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งจะมีการพิจารณาในที่ประชุมสนช.วันที่ 30 มี.ค.นี้ว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ใช้มาถึง 40 ปี และอนุญาตเพียงแค่การให้สัมปทานขณะเดียวกันทั่วโลก มีทั้งการใช้วิธีสัมปทาน การแบ่งปันผลผลิต และจ้างบริการ ดังนั้น สนช.จึงได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปิโตรเลียมขึ้น โดยมี พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ เป็นประธาน พร้อมมีภาคประชาชน เช่น น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร่วมอยู่ด้วย

"จากผลการศึกษาพบว่า นอกจากให้สัมปทานแล้วยังมีรูปแบบอื่นด้วย คือการจ้างบริการและการแบ่งปันผลผลิตที่ต้องมีบรรษัทน้ำมันด้วย หลังจาก กมธ.ศึกษาแล้ว จึงส่งไปยังรัฐบาล ขณะเดียวกัน พล.อ.สกนธ์ได้พาคณะที่มีทั้งทหารและพลเรือนไปพบ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ขณะนั้น เพื่อชี้แจงผลการศึกษา จากนั้นรัฐบาลได้เสนอร่างมา มี 3 วิธีการคือ การสัมปทาน แบ่งปันผลผลิต และจ้างบริการ เหมือนที่เราศึกษา ทุกอย่างก็ทำตามขั้นตอน เมื่อมีการตั้งคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม ซึ่งมี พล.อ.สกนธ์เป็นประธาน ได้ถามกลับไปที่ ครม.ถึง 2 ครั้งแล้ว ซึ่งก็ยังยืนยันตามเดิมให้มีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเมื่อมีความพร้อม”

โฆษก กมธ.วิสามัญร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมกล่าวต่อว่า การบัญญัติมาตรา 10/1 ในร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ..... เนื่องจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยืนยันว่าเห็นด้วยให้มีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเมื่อมีความพร้อม และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาลักษณะว่าเป็นอย่างไร หากเขียนไปว่าให้มีการตั้งขึ้นมาทันที ทั้งที่ยังไม่รู้ว่ารูปร่างหน้าตาของบรรษัทเป็นอย่างไร ก็จะเป็นการผูกมัด จึงต้องเขียนแบบกลางๆ ส่วนการปฏิบัติ อยู่ที่รัฐบาลจะไปทำอย่างไร แต่ต้องยอมรับว่าการร่างกฎหมายจะให้ถูกใจคนทั้งประเทศไม่ได้ เหมือนกับการปลูกบ้าน ที่ต้องมีการออกแบบก่อน หากเขียนแล้วรัฐบาลทำไม่ได้ หรือบังคับไม่ได้ ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร หรือล็อกหมดทุกอย่างก็ทำไม่ได้ มันผิดกฎหมาย ที่แน่นอนคือเห็นควรให้มีบรรษัทหลายประเทศ อย่างมาเลเซียก็มีบรรษัท แต่ไม่รู้ว่าบริหารอย่างไรถึงขาดทุน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราบริหารแล้วจะไม่สำเร็จเหมือนเขา

ส่วนที่มีการมองว่ากรมพลังงานทหารจะเข้ามาร่วมบรรษัทด้วยนั้น พล.อ.อกนิษฐ์กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ เพราะกฎหมายนี้รักษาการโดย รมว.พลังงาน ส่วนกรมพลังงานทหารขึ้นอยู่กับกระทรวงกลาโหม มีไว้เพื่อเตรียมการเรื่องพลังงานสำหรับป้องกันประเทศ ไม่ใช่ทำเพื่อธุรกิจ ดังนั้นจึงเป็นคนละบทบาทหน้าที่ ทั้งนี้ ตนไม่กังวลที่กลุ่มเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) จะมาชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะวิถีประชาธิปไตยย่อมมีความเห็นแตกต่าง ถือว่าเป็นความงดงามความหลากหลายในระบอบประชาธิปไตย

ด้าน พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ กล่าวว่า ตนเป็น 1 ใน 6 สนช. ที่ผลักดันให้มีการตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ แต่การผลักดันไม่ใช่อยู่ดีๆ จะทำ เรื่องนี้ไม่ได้มีการสอดไส้แต่อย่างใด ก่อนหน้านี้ได้มีการพูดคุยกันหลายฝ่าย ทั้งในกรรมาธิการด้วยกันเอง ซึ่งก็มีทั้งอยากให้มีและไม่อยากให้มีการตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ แต่สุดท้ายก็สรุปให้มี ซึ่งเราก็เสนอไปยังรัฐบาล ทุกอย่างทำตามขั้นตอน

แหล่งข่าวจาก สนช.เปิดเผยว่า สำหรับการเพิ่มเติมให้มีบรรษัทน้ำมันแห่งชาตินั้น ขณะนี้สมาชิก สนช.มีความเห็นแตกออกเป็น 2 ฝ่าย ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และสมาชิกจำนวนมากได้สอบถามประเด็นดังกล่าวกับผู้รู้ และรอฟังคำชี้แจงจาก กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ในวันที่ 30 มี.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับทางออกที่ประชุม สนช.อาจจะเสนอให้มีการแก้ไขเนื้อหาในมาตรา 10/1 จากเดิมที่กำหนดให้มีการจัดบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเมื่อมีความพร้อม มาเป็นการกำหนดให้คณะรัฐมนตรี ดำเนินการตั้งคณะกรรมการศึกษาถึงความเป็นไปได้และรูปแบบของการตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งการแก้ไขในลักษณะนี้จะทำให้เกิดความชัดเจนมากกว่าแบบเดิมที่มีขอบเขตไม่แน่นอน

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า การจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (เอ็นโอซี) ไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากไทยมีการบริหารจัดการและมีโครงสร้างรองรับที่ดีอยู่แล้ว ไทยมีบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่คล้ายเอ็นโอซี ซึ่งมีการแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ และความความเสี่ยงในการดำเนินการเหมือนกับบริษัทอื่นๆ เช่นกัน ทั้งนี้ ปตท.สผ.เป็นผู้ค้า อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ควบคุมให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการแบ่งภารกิจที่ชัดเจน มีการคานอำนาจและตรวจสอบ โดยมีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำกับดูแลภารกิจภาครัฐ

"หากมีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นมาเพื่อเป็นหน่วยงานเดี่ยว ต้องถามถึงความพร้อมในประเทศไทยว่ามีมากน้อยเพียงใด ไม่เช่นนั้นจะนำไปสู่การผูกขาดอย่างชัดเจน และอาจจะไร้ประสิทธิภาพในการบริหาร รวมทั้งอาจจะซ้ำซ้อนในการดำเนินธุรกิจกับหน่วยงานของภาครัฐที่มีอยู่แล้ว ขณะที่เงินลงทุนต่างๆ ที่ภาครัฐจะต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสี่ยงขึ้นมา และหากจะมีการจัดตั้งเอ็นโอซีขึ้นมาใหม่ รัฐบาลจะต้องมี พ.ร.บ.ขึ้นมารองรับอีกฉบับหนึ่ง เพื่อให้เป็นกฎหมายใหม่ ใช้กำกับดูแลเพื่อกำหนดการดำเนินงานที่ชัดเจน"

นายสราวุธกล่าวว่า กรณีที่เอกชนได้เสนอใช้มาตรา 44 หากรัฐดำเนินการจริง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมเดิมก็สามารถรองรับได้ แต่จะมีเพียงระบบสัมปทานเท่านั้น ซึ่งยอมรับว่าจะทำให้การประมูลก๊าซ 2 แหล่งได้ตามกำหนด พ.ค.-มิ.ย.นี้ และตามกำหนดเป้าหมายที่รัฐตั้งเป้าว่าจะสามารถสรุปผู้ชนะประมูลได้ภายในสิ้นปี

จับตา !?!? \"พล.อ.ประยุทธ์\" จัดการความยุ่งเหยิง ตั้ง-ไม่ตั้ง \"บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ\"....ใช่หรือไม่ (รายละเอียด)

และนอกจากนี้ ที่ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลาฯ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้จัดงานแถลงข่าวชี้แจงกรณีการพาดพิงของนายกรัฐมนตรี ต่อภาคประชาชน และเรื่องนายกรัฐมนตรีติดหลุมพรางกับดักของกลุ่มทุนพลังงาน โดยมีนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล, น.ส.รสนา โตสิตระกูล, ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ร่วมกันแถลงข่าว

นายธีระชัยกล่าวว่า นาทีนี้ พล.อ.ประยุทธ์ต้องเลือกระหว่างผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ หรือผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่นอมินี ผู้ถือหุ้นต่างชาติ นักการเมือง ซึ่งร่างกฎหมายปิโตรเลียมไม่ใช่การรักษาความสงบเรียบร้อย แต่เป็นเรื่องผลประโยชน์ก้อนใหญ่ล้วนๆ เพราะบรรษัทควรมีสิทธิ์ผูกขาดในการซื้อปิโตรเลียมที่ผลิตในประเทศไทย เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ ปัญหาคือการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยให้เป็น บริษัท ปตท.ในปี 2544 ซึ่งเราต้องถามว่าสิทธิ์ดังกล่าวได้มีการโอนไปยังกระทรวงการคลัง หรือยังติดอยู่กับ ปตท. ปัจจุบันนี้ปตท.เป็นผู้ผูกขาดการซื้อปิโตรเลียมในประเทศไทยเพียงเจ้าเดียวหรือไม่

"หากว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากการใช้อำนาจของรัฐ สิ่งเหล่านี้จะต้องตกเป็นของบรรษัท ซึ่งต้องตกเป็นของรัฐ 100% และกำไรที่เกิดขึ้นจะได้ตกเป็นของประชาชนทั้งหมด สิ่งที่นายกฯ และ สนช.ต้องตัดสินใจคือ การมีบรรษัทที่ทำให้สิทธิประโยชน์ตกเป็นของประชาชนหรือไม่มีบรรษัทแล้วปล่อยให้โอกาสการทำกำไรตกเป็นของเอกชนและเป็นประโยชน์แก่นอมินี” นายธีระชัยกล่าว

ส่วนน.ส.รสนากล่าวว่า ขณะนี้การพยายามดิ้นรนของกลุ่มทุนพลังงานเป็นสิ่งที่สังคมจับตาดู ว่าเพราะอะไร ที่พวกเขาเหล่านี้ต้องต่อต้านการสร้างบรรษัทชนิดสุดลิ่มทิ่มประตู ถึงขนาดต้องนำ ม.ร.ว.ปรีดียาธรออกมาเป็นคนนำ ซึ่งมองว่าการที่รัฐบาลของนายทักษิณได้แปรรูปในปี 2544 และยึดโครงข่ายของท่อก๊าซไปนั้นคือการยึดเอาสิทธิประโยชน์ไปเป็นของเอกชน ซึ่งในวันนี้ประชาชนสามารถปลดแอกโดยการตั้งบรรษัท กลับมาเพื่อนำเอากรรมสิทธิ์ของปิโตรเลียมทั้งหมดมาเป็นของประเทศ เพราะฉะนั้นการที่กลุ่มทุนออกมาดิ้นเพื่อไม่ให้มีบรรษัท เป็นเพราะกลัวว่าจะไม่ได้ผูกขาดสิ่งเหล่านี้ใช่หรือไม่

"การที่กลุ่มทุนราชการออกมาดิ้นขนาดนี้ แสดงให้เห็นว่าบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติคือกล่องดวงใจ และ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 คือรัฐธรรมนูญทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ที่ไม่เคยถูกฉีกแต่ พวกเรากลับไปสนใจรัฐธรรมนูญทางการเมืองเก๊ๆ ที่ถูกฉีก แต่เรากลับไม่ได้สนใจกรณีการรัฐประหารเพื่อเข้ามาเคลียร์พื้นที่เพื่อให้กลุ่มทุนเข้ามาหาผลประโยชน์แทนประชาชน" น.ส.รสนากล่าว