ประกาศราชกิจจาฯ!!! พ.ร.บ. การรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๒ .... ระบุชัดข้อปฎิบัติหากสัมภาระเกิดเสียหาย และอื่นๆ (รายละเอียด)

ประกาศราชกิจจาฯ!!! พ.ร.บ. การรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๒ .... ระบุชัดข้อปฎิบัติหากสัมภาระเกิดเสียหาย และอื่นๆ (รายละเอียด)

วันที่ ๒๖ พ.ค. ๒๕๖๐ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติ การรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ความว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

 

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “การรับขนทางอากาศภายในประเทศ”

ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน

““การรับขนทางอากาศภายในประเทศ” หมายความว่า การรับขนคนโดยสาร สัมภาระ หรือ ของทางอากาศโดยอากาศยาน ซึ่งคู่สัญญาตกลงให้ถิ่นต้นทางและถิ่นปลายทางตั้งอยู่ในอาณาเขตของ ประเทศเดียวกัน และไม่มีถิ่นหยุดพักตามที่ตกลงกันภายนอกประเทศ”

มาตรา ๔ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “การรับขนทางอากาศระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้ อนุสัญญา” ระหว่างบทนิยามคําว่า “การรับขนทางอากาศ” และคําว่า “การรับขนทางอากาศ ภายในประเทศ” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘

““การรับขนทางอากาศระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้อนุสัญญา” หมายความว่า การรับขนทางอากาศ
ระหว่างประเทศตามมาตรา ๔ วรรคสอง ซึ่งถิ่นต้นทางและถิ่นปลายทางตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของรัฐภาคี” 

มาตรา ๕ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “อนุสัญญา” และ “รัฐภาคี” ต่อจากบทนิยามคําว่า “หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘

““อนุสัญญา” หมายความว่า อนุสัญญาเพื่อการรวบรวมกฎเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการรับขนระหว่างประเทศทางอากาศ ซึ่งทําขึ้น ณ เมืองมอนตริออล เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

“รัฐภาคี” หมายความว่า รัฐภาคีของอนุสัญญา”

มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การรับขนทางอากาศเพื่อสินจ้างรางวัล รวมถึงการรับขนทางอากาศแบบให้เปล่าที่ดําเนินการโดยบุคคลซึ่งประกอบการรับขนทางอากาศเพื่อบําเหน็จเป็นทางค้าปกติด้วย ไม่ว่าการรับขนนั้นจะเป็นการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศหรือการรับขนทางอากาศ
ระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การรับขนทางอากาศ ซึ่งตามความตกลงระหว่างคู่สัญญาตกลงให้ถิ่นต้นทางและถิ่นปลายทาง ตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของ สองประเทศ หรือตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของประเทศเดียวแต่มีถิ่นหยุดพักที่ตกลงกันไว้ภายในอาณาเขต ของอีกประเทศหนึ่ง

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการหยุดพักในการรับขนหรือมีการถ่ายลําหรือไม่ก็ตาม การรับขนที่ดําเนินการโดยผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดต่อเนื่องกัน ให้ถือว่าเป็นการรับขนเดียว โดยไม่แบ่งแยก ถ้าการรับขนนั้นคู่สัญญาได้ถือว่าเป็นการดําเนินการเดียว ไม่ว่าจะได้ตกลงกันในรูปของ สัญญาฉบับเดียวหรือสัญญาเป็นชุด และย่อมไม่สูญเสียลักษณะของการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ เพียงเพราะจะต้องดําเนินการทั้งหมดภายในอาณาเขตของประเทศเดียวกันตามสัญญาฉบับเดียวหรือสัญญาเป็นชุด

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การรับขนทางอากาศที่ดําเนินการโดยบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ขนส่งตามสัญญาภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดในหมวด ๔ ด้วย

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การรับขนที่ดําเนินการโดยรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่ตั้งขึ้นโดยกฎหมาย ถ้าการรับขนนั้นเป็นการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้อนุสัญญา

มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) การรับขนไปรษณียภัณฑ์ ซึ่งผู้ขนส่งต้องรับผิดเป็นการเฉพาะต่อหน่วยงานการไปรษณีย์ ตามกฎหมายที่ใช้บังคับกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขนส่งและหน่วยงานการไปรษณีย

(๒) การรับขนทางอากาศที่กระทําและดําเนินการโดยหน่วยงานของรัฐตามภาระหน้าที่ซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า

(๓) การรับขนทางอากาศในราชการทหาร โดยอากาศยานที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ หรืออากาศยานที่เช่ามาเพื่อใช้ในราชการทหาร ซึ่งระวางทั้งหมดของอากาศยานนั้น ได้สงวนไว้โดยหรือในนามของราชการทหารดังกล่าว

หากกรณีตาม (๒) และ (๓) เป็นการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาพระราชบัญญัตินี้จะไม่ใช้บังคับต่อเมื่อรัฐบาลได้ประกาศโดยทําเป็นหนังสือแจ้งไปยังผู้เก็บรักษาอนุสัญญาตามที่กําหนดในอนุสัญญาแล้ว” 

มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศ ระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๒๒ การที่ผู้มีสิทธิรับสัมภาระได้รับมอบสัมภาระลงทะเบียนโดยไม่มีการทักท้วง ย่อมเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นว่าได้มีการส่งมอบสัมภาระลงทะเบียนที่อยู่ในสภาพดีและตรงตาม ป้ายกํากับสัมภาระ หรือตามเอกสารซึ่งแสดงข้อมูลตามมาตรา ๙ วรรคสอง

ในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สัมภาระลงทะเบียน ผู้มีสิทธิรับสัมภาระต้องทักท้วงต่อผู้ขนส่งหลังจากที่พบความเสียหายนั้นโดยพลันและอย่างช้าที่สุดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับมอบสัมภาระดังกล่าว ในกรณีล่าช้าในการรับขน ผู้มีสิทธิรับสัมภาระต้องทักท้วงต่อผู้ขนส่งภายในยี่สิบเอ็ดวันนับแต่วันที่ผู้มีสิทธิรับสัมภาระได้รับสัมภาระลงทะเบียนนั้น การทักท้วงตามมาตรานี้ ต้องทําเป็นหนังสือและมอบหรือส่งให้ถึงผู้ขนส่งภายในระยะเวลาตามวรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับสัมภาระไม่ทักท้วงภายในระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคสองหรือวรรคสามจะฟ้องผู้ขนส่งมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีกลฉ้อฉลของฝ่ายผู้ขนส่ง”

 

อ่านราชกิจจานุเบกษา