ดูกันชัดๆ!!ทำไมการศึกษาไทยจึงมีแต่ถอยหลัง จุดเล็กๆที่กระทรวงศึกษาต้องใส่ใจ

ฟินแลนด์ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่งของโลกและในทางกลับกันการศึกษาของประเทศไทยนั้นถดถอยลงเรื่อยๆ

ฟินแลนด์ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่งของโลก และในทางกลับกันการศึกษาของประเทศไทยนั้นถดถอยลงเรื่อยๆ จากผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการเปิดเผยถึงผลการพัฒนาการศึกษาไทยที่ผ่านมาว่า พัฒนาการของเด็กแรกเกิดถึงอายุ 5 ปี ในช่วงปี2553-2557 มีพัฒนาการสมวัยลดลง จากร้อยละ 73.4 เป็นร้อยละ 72.7 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากคะแนน O-NET ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนเทียบกับนานาประเทศทั่วโลกและในอาเซียน ประเทศไทยยังอยู่ในลำดับที่ต่ำ ทักษาการเรียนรู้และการใฝ่หาความรู้ของคนไทยพบว่าเพิ่มมากขึ้นแต่ยังขาดความสามารถในการจัดการและการสังเคราะห์ข้อมูล มีมหาวิทยาลัยเพียงไม่กี่แห่งที่ติดอันดับจากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคเอเชียและระดับโลก การจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาของประเทศไทยพบว่าค่อนข้างสูง และขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศไทยเทียบกับนานาประเทศมีอันดับลดลง ซึ่งการผลสำรวจสามารถสะท้อนภาพการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีว่ายังขาดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและยังขาดความเข้าใจและการบริหารที่ถูกต้อง

ในประเทศฟินแลนด์มีการสำรวจประเมินผลดัชนีทางการศึกษาล่าสุด โดยองค์กรความร่วมมือทางเศรฐกิจและพัฒนา โดยการจัดอันดับนี้ใช้รูปแบบการวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการอ่านเขียน ที่ชื่อ PISA (Program for International Student Assessment) ผลคือ นักเรียนของฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "นักเรียนที่มีคุณภาพที่สุดในโลก" ประเมินจากนักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับของนักเรียนจำนวน 65 ประเทศ โดยประเทศฟินแลนด์นั้นมีระบบการศึกษาที่แตกต่างจากประเทศไทยค่อนข้างมากและเห็นได้ชัดถึงผลรับที่ดีกว่า โดยสิ่งที่ประเทศฟินแลนด์เห็นถึงความสำคัญคือเรื่องการไม่สั่งการบ้าน ที่โรงเรียนในฟินแลนด์คนั้นมีสั่งการบ้านในนักเรียนกลับไปทำน้อยมากหรือไม่มีเลย เนื่องจากเห็นว่าช่วงเวลาหลักเลิกเรียนเด็กมีกิจกรรมมากมาย “เด็กๆยังมีอะไรให้ทำหลังเลิกเรียนอีกเยอะแยะ เช่น อยู่กับเพื่อน หรืออยู่กับครอบครัว หรือเล่นกีฬา เล่นดนตรี อ่านหนังสือ” Pasi Majasaari อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในฟินแลนด์กล่าว และจากการสัมภาษณ์นักเรียนกลุ่มหนึ่งในโรงเรียนมัธยมกล่าวว่าพวกเขาใช้เวลาทำการบ้านเฉลี่ยแล้ววันละไม่เกิน20นาทีแต่โดยปกติแล้วแทบจะไม่มีการบ้านให้กลับไปทำเลย ประเทศฟินแลนด์นั้นส่วนใหญ่จะให้เด็กเข้าเรียนเมื่ออายุ 6-7 ขวบ ไม่เน้นโรงเรียนอนุบาล แต่อยากให้เด็กมีเวลาอยู่กับครอบครัวให้มากที่สุด เพราะเชื่อว่าครอบครัวสามารถให้ทั้งความรู้และความรัก ความเข้าใจในวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามให้เด็กได้ดีกว่าโรงเรียนอนุบาล ในขณะที่ประเทศไทยจะให้เด็กเริ่มเข้าโรงเรียนประมาณตั้งแต่อายุ 3 ปีบริบูรณ์

 

เด็กในวัยประถมศึกษาที่ฟินแลนด์จะเรียนไม่เกินวันละ 5 ชั่วโมง รวมแล้วสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง ซึ่งในเวลานี้ได้รวมถึงช่วงเวลาการพักกลางวันด้วย เฉลี่ยแล้วนักเรียนในฟินแลนด์มีชั่วโมงเรียนต่อวันน้อยที่สุดและต่อปีสั้นที่สุดในบรรดาชาติตะวันตก เพราะเชื่อว่าเด็กวัยนี้ควรจะมีเวลาทำในกิจกรรมที่ตัวเองสนใจมากกว่า ในขณะที่โรงเรียนในไทยมีเวลาเข้าเรียนโดยประมานตั้งแต่ 8.30 ถึง 15.30 และในบางครั้งยังมีการต่อเรียนพิเศษต่อในตอนค่ำ

ดูกันชัดๆ!!ทำไมการศึกษาไทยจึงมีแต่ถอยหลัง จุดเล็กๆที่กระทรวงศึกษาต้องใส่ใจ

ห้องเรียนที่ฟินแลนด์จะกำหนดให้มีนักเรียนห้องละ 12 คน สูงสุดไม่เกิน 20 คน และถ้าเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงก็จะยิ่งจำกัดจำนวนเด็กในห้องให้น้อยลง  เพราะที่ฟินแลนด์จะเน้นการพัฒนาคน มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้และการดำรงชีวิต ซึ่งนักเรียนแต่ละคนมีศักยภาพที่แตกต่างกัน การดูแลรายบุคคลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ในขณะที่ประเทศไทยจำนวนนักเรียนเฉลี่ยต่อห้องประมาน 30-40 คน ฟินแลนด์มองว่าการเรียนคือการพัฒนาแต่ละบุคคล ไม่ใช่การแข่งขัน ดังนั้นจึงไม่มีการให้เกรดเฉลี่ยมาเป็นตัวแบ่งแยกความภาคภูมิใจหรือความอับอายให้แก่เด็ก แต่เน้นสร้างความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้มากกว่า ส่วนประเทศไทยนั้นเกรดเฉลี่ยถือเป็นส่วนสำคัญของการเรียน เนื่องจากการจะศึกษาต่อไประดับชั้นถัดไปจะต้องใช้ผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือก เช่น การคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และโรงเรียนทุกแห่งของประเทศฟินแลนด์มีมาตรฐานเท่าเทียมกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเมืองหรือเป็นโรงเรียนชานเมือง ทำให้ไม่ว่านักเรียนในย้ายไปเมืองไหนของประเทศก็ตามก็สามารถเข้าศึกษาในโรงเรียนนั้นๆและมั่นใจได้ว่าได้มาตราฐานเหมือนกันกับทุกโรงเรียนในฟินแลนด์

ดูกันชัดๆ!!ทำไมการศึกษาไทยจึงมีแต่ถอยหลัง จุดเล็กๆที่กระทรวงศึกษาต้องใส่ใจ

สุดท้ายนี้จะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้นมีโรงเรียนสอนกวดวิชาเปิดตัวขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งการที่มีโรงเรียนสอนกวดวิชามากขนาดนี้สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนในประเทศไทยมีความต้องการเรียนโรงเรียนสอนกวดวิชาเพิ่มเติมจากโรงเรียนปกติ อันเนื่องมาจากคิดว่าการเรียนในโรงเรียนปกติไม่เพียงพอต่อการใช้สอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาระดับชั้นต่อไป แสดงให้เห็นอย่างยิ่งถึงความอ่อนแอของระบบการศึกษาไทย