จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดสกลนครวิกฤติหนักจากพายุเซินกา ทำฝนตกหนักจนน้ำเอ่อท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้สนามบินสกลนคร ตอนนี้ประกาศงดบิน ด้านประชาชนแห่กวาดตุนของจนเกลี้ยงไม่เหลือ ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนหนัก เจ้าหน้าที่หลายหน่วยเร่งเข้าให้การช่วยเหลือบรรเทา ชาวบ้านเผยอีกว่าน้ำท่วมหนักที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์หนักที่สุดในรอบกว่า 30 ปี เลยที่เดียว ซึ่งปริมาณน้ำได้ล้นทะลักเข้าสู่บ้านเรือนประชาชนเกือบตลอดพื้นที่รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงที่รับผลกระทบไปไม่ต่างกัน ขณะที่ชาวอ.กุดบากเสียชีวิต 1 ราย ในอ.เมือง สูญหาย 2 ราย   สถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นภาคไหน ต่างพากันกังวลถึงภัยธรรมชาติที่กำลังจะมาถึง ด้วยความที่สภาพอากาศเลวร้ายลงทุกที ๆ พายุเข้าออกในประเทศช่วงนี้ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน  เพิ่มปริมาณน้ำทั้งในอ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนต่าง ๆ จนบางแห่งปริมาณน้ำใกล้จะเต็มแล้ว และบางแห่งก็เกินกว่าความจุที่จะรับได้ ทำให้จำต้องปล่อยน้ำ เพื่อป้องกันเขื่อนแตกอันจะนำมาซึ่งอุทกภัยอันใหญ่หลวง

ในขณะที่ กทม. เมืองที่มีชัยภูมิเอื้อต่อการถูกน้ำท่วม แน่นอนว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2485 ได้เปลี่ยนโฉมกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร (ของคนยุคนั้น) ให้กลายเป็นทะเล (น้ำจืด) ขนาดใหญ่ ที่ในหลายๆ พื้นที่มีคนนำเรือออกมาพายกันเป็นทิวแถว
ขณะที่ชาวกรุงเทพฯ หลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็เกิดเหตุการณ์ฝน 100 ปี เมื่อพ.ศ. 2538 ก็เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกทม.อีกครั้ง จากเหตุการณ์อันโหดร้ายในครั้งนั้น ใครที่อายุประมาณ 20 ปีขึ้นไป ก็อาจจะจำได้บ้างว่า กว่าจะผ่านพ้นไปได้มันยากลำบากเพียงใด วันนี้จะพาทุกคนย้อนรอยไปดูเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปีต่าง ๆโดยเฉพาะในปี พ.ศ.2538 ที่เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญเพราะน้ำท่วมได้เข้าท่วมอย่างหนักบริเวณทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ นานร่วม 2 เดือนเลยทีเดียว

พ.ศ.2485
เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ เนื่องจากฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงมาก ไหลล้นคันกั้นน้ำทั้งสองฝั่งแม่น้ำตลอดแนว ซึ่งวัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ 2.27 เมตร นับว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อมากักเก็บน้ำ

พ.ศ.2518
พายุดีเปรสชั่นได้พาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน จนเป็นเหตุให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร

พ.ศ.2521
พายุลูกใหญ่  2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" ได้พาดผ่านพื้นที่ตอนบนลุ่มน้ำปริมาณสูง รวมไปถึงปริมาณน้ำจากแม่น้ำป่าสักไหลบ่าเข้าท่วมเป็นจำนวนมาก ทำให้ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครถูกน้ำท่วมไปโดยปริยาย

พ.ศ.2523
ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ทวีระดับความสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 เมตร ระดับน้ำสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครถึง 4 วัน 4 คืน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่

พ.ศ.2526
พายุหลายลูกพัดผ่านเข้าภาคเหนือ และภาคกลางในช่วง กันยายน - ตุลาคม ทำให้น้ำท่วมในครั้งนี้ถือว่ารุนแรงมากอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวัดปริมาณฝนตลอดทั้งปีได้ 2119 มม. จากค่าฝนเกณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 มม. ส่งผลให้กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล น้ำท่วมเป็นเวลานานที่สุดถึง 4 เดือน ประเมินความเสียหายสูงถึง 6,598 ล้านบาท

พ.ศ.2529
ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ที่กรุงเทพฯในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะที่เขตราษฎร์บูรณะ ถนนวิภาวดีตั้งแต่ช่วงสะพานลอยเกษตรเข้าไป ย่านถนนสุขุมวิท ย่านรามคำแหง ย่านบางนา ทำให้การจราจรติดขัดมาก แต่อย่างไรก็ดี ในครั้งนั้นอยู่ในช่วงที่น้ำทะเลไม่ได้หนุน ทำให้มีการระบายน้ำออกเป็นไปอย่างรวดเร็ว

พ.ศ.2533
พายุโซนร้อน "อีรา" และ "โลล่า" ได้พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางจังหวัดบุรีรัมย์, สุรินทร์ ทางภาคตะวันออกและภาคกลาง ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพมหานครถึง 617 มม. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังสูงประมาณ 30-60 ซม.  ในหลายพื้นที่ ทั้งบริเวณเขตมีนบุรี, หนองจอก, บางเขน, ดอนเมือง, บางกะปิ, พระโขนง, ลาดกระบัง, ลาดพร้าว, บึงกุ่ม และปริมณฑล โดยน้ำท่วมขังเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน ประเมินความเสียหายสูงถึง 177  ล้านบาท

พ.ศ.2537
พายุฝนฤดูร้อน ถล่มกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเมื่อวันที่  7 และ 8 พฤษภาคม 2537 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันที่บริเวณถนนจันทร์ เขตยานนาวา ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่ย่านสะพานควาย ถนนประดิพัทธ์ สวนจตุจักร ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซอยสุทธิสารตลอดทั้งซอย รวมไปถึง ถนนวิภาวดีรังสิตและรัชดาภิเษก ถนนลาดพร้าว ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ย่านพระโขนง จนถึงอำเภอสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนถนนสาธร โดยเฉพาะซอยเซ็นต์หลุยส์ มีน้ำท่วมขังมากที่สุดประมาณ 50 ซม. และจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ ส่งผลให้การจราจรของกรุงเทพมหานครเป็นอัมพาต เกิดไฟฟ้าดับหลายจุด สร้างความเดือดร้อนทั่วทุกพื้นที่

พ.ศ.2538
 พายุหลายลูก ได้พัดผ่านทั้ง ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพายุโอลิส ที่ถล่มกระหน่ำ ทำให้เกิดในตกหนักอย่างต่อเนื่องหลายวัน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง ถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์เท่ากับน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2485 ถนนเกือบทุกสายในกทม.จมอยู่ใต้น้ำระดับ 50-100 ซม. เกิดความโกลาหลทั่วทุกชุมชน หมู่บ้านจัดสรรหลายแห่งจมอยู่นานกว่า 2 เดือนกว่าเจ้าหน้าที่จะช่วยสูบน้ำออกได้หมด

พ.ศ.2539
มีฝนตกหนักในภาคเหนือและภาคกลางทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมาก ทำให้ระดับน้ำสูงล้นแนวป้องกันน้ำท่วมเข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำฝั่งธนบุรี บริเวณถนนจรัลสนิทวงศ์ ถนนเจริญนคร ฝั่งพระนคร บริเวณถนนสามเสนถนนพระอาทิตย์ ซึ่งน้ำได้ท่วมขังกินระยะเวลานาน 2 เดือนเลยทีเดียว ตั้งแต่ พฤศจิกายน -ธันวาคม 2539  

พ.ศ.2541
เหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพครั้งนี้ไม่รุนแรงเท่าไร วัดน้ำฝนได้สูงสุดที่สถานีดับเพลิงพญาไท 2541 มม. ส่วนจุดที่น้ำระบายออกได้ช้าที่สุดคือถนนประชาสงเคราะห์ (จากแยกดินแดงยาวตลอดสาย) เขตดินแดงท่วมสูง 20 ซม. นาน 19 ชม. ส่วนระดับน้ำที่ท่วมสูงสุดคือ ถนนเพลินจิต และถนนราชดำริ เขตปทุมวัน ท่วมสูง 20 - 40 ซม. นาน 11 ชม.

พ.ศ. 2554
ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยครั้งรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี และมีพื้นที่ประสบภัยกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมหนักเป็นระยะเวลานาน ยิ่งไปกว่านั้นพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งเกิดน้ำท่วมหนักในรอบ 70 ปี หากนับจากเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานครในปี 2485 อุทกภัยครั้งนี้ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างกนักทั้งทางภาคการเกษตร อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังภาคส่วนอื่นอีกเป็นจำนวน มีราษฎรได้รับผลกระทบมากกว่า 12.8 ล้านคน ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 และจัดให้เป็นภัยพิบัติครั้งสร้างความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก

 

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

จากกทม.ถึงสกลฯ!! ย้อนรอยเหตุการณ์อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร