ฟ้าบ่กั้น!เสียงแคนแดนมลายู“ลาว คำหอม”ศิลปินชาติเยี่ยมชายแดนใต้แลกเปลี่ยนศิลปะ-ให้กำลังใจคนอีสาน

ฟ้าบ่กั้น!เสียงแคนแดนมลายู“ลาว คำหอม”ศิลปินชาติเยี่ยมชายแดนใต้แลกเปลี่ยนศิลปะ-ให้กำลังใจคนอีสาน

นาย คำสิงห์ ศรีนอก  หรือ ลาว คำหอม ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์  นักเขียนซึ่งนอกจากเป็นที่ยอมรับในแวดวงวรรณกรรมไทยแล้ว ยังได้รับความสนใจจากวงวรรณกรรมต่างประเทศ โดยมีการแปลงานของเขาเป็นภาษาอังกฤษ สวีเดน เดนมาร์ก ดัตช์ ญี่ปุ่น สิงหล มลายู เยอรมัน  และภาษาฝรั่งเศส ซึ่งงานเขียนที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศไทยคือ รวมเรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น”  ได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อร่วมกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในพื้นที่ สร้างสรรค์งานวรรณกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมกับศิลปินหลายแขนงในพื้นที่  รวมทั้งเยี่ยมเยียนให้กำลังใจพี่น้องชาวอีสานที่ทำมาหากินอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ฟ้าบ่กั้น!เสียงแคนแดนมลายู“ลาว คำหอม”ศิลปินชาติเยี่ยมชายแดนใต้แลกเปลี่ยนศิลปะ-ให้กำลังใจคนอีสาน
นาย คำสิงห์  กล่าวถึงแรงบันดาลใจการอ่านการเขียนแก่เยาวชนที่เข้าอบรมว่า   “ผมจะตั้งข้อสังเกตว่า พ่อแม่ของพวกเรามักจะห้ามลูกไม่ให้อ่านนวนิยายรักๆ ใคร่ๆ ทั้งหลายทั้งปวง เราต้องแอบอ่าน ผมเองอาจจะเป็นคนโชคดีที่ครูเข้าใจเรื่องนี้ มีเล่ากันครั้งหนึ่งว่า คำสิงห์เป็นคนรักอ่าน โรงเรียนของผมเป็นโรงเรียนบ้านนอกประจำอำเภอ ผนังส้วมเป็นไม้สานเป็นตาข่ายแล้วก็ล้อมเอากระดาษหนังสือมาปิดรอบห้องส้วม  เวลาลาครูไปห้องส้วมผมหายไปนาน ครูก็ย่องมาดู  เห็นผมเดินวนอ่านกระดาษหนังสือที่ปิดตามห้องส้วม

ฟ้าบ่กั้น!เสียงแคนแดนมลายู“ลาว คำหอม”ศิลปินชาติเยี่ยมชายแดนใต้แลกเปลี่ยนศิลปะ-ให้กำลังใจคนอีสาน

สิ่งนี้ที่เริ่มต้นการเป็นนักเขียน ครูให้ผมเขียนเรียงความเป็นจุดเริ่มต้นในการเขียนของลุง”
“ลุงโชคดี ถ้าขาดโชคตัวนี้แล้วลุงไม่ได้เป็นนักเขียน พอเรียนจบประถมแล้วก็ไม่ได้เรียนต่อ ต้องหยุดอยู่บ้านสามปีเต็ม ให้พี่ชายเรียนต่อจนจบ ม.สาม พอจบ ม.สามแล้วพี่ชายก็สอบเป็นครู จึงได้คิดถึงลุง คิดถึงน้องชาย อยากให้ได้เรียนหนังสือ ก็เดินลัดทุ่งมาพาลุงไปฝากโรงเรียน ในช่วงสามปีที่ไม่ได้เรียนหนังสือนี้ ได้ใช้ชีวิตเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย  ก็ได้เก็บมาเป็นต้นทุนในการเขียนหนังสือ  สามปีที่ไม่ได้ไปโรงเรียนมัธยม  สามปีที่เลี้ยงควาย ถือเป็นวัตถุดิบในการนำไปใช้ในงานเขียนของลุง”
นายคำสิงห์ยังได้เดินทางไป ที่บ้านสากอ ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา  เพื่อแลกเปลี่ยนกับนาย  มะยาเต็ง สาเมะ ศิลปินพื้นบ้าน แขนงวายังกูเละ(หนังตะลุงมาลายู) เดินทางไปหมู่บ้านบาโงยือริง ม.11 ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นชุมชนที่สมาชิกในหมู่บ้านมีความสามารถในการแสดงศิลปะการแสดงพื้นบ้านหลากหลาย อาทิ รองเง็ง สิละ ดิเกร์ฮูลู  โดยคณะที่ร่วมเดินทางคือ นักศึกษาดนตรีพื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ นำโดย ปรัชญา นันธชัย ,ธัญเทพ ครองแสนเมือง และ  วิมลรัตน์ สุวมาตร์ แชมป์แคนประเทศไทย ได้ร่วมแลกเปลี่ยนดนตรีพื้นบ้านอีสานและมลายู โดยมีการแสดงเดี่ยวพิณ แคน โหวด และนำเครื่องดนตรีอีสานและดนตรีพื้นบ้านมลายูมาเล่นรวมกัน นอกจากนี้ยังมีการแสดงมินิคอนเสิร์ตใน จ.ยะลา โดยจัดงานลักษณะ ตุ้มโฮม(รวมหมู่)พี่น้องชาวอีสานในจังหวัดยะลา 
นางสาว คเณศณัฏฐ์ สิมลาโคตร  ประธานกลุ่มจัดตั้งสมาคมศิลปะและวรรณกรรมป่านวงเดือน เปิดเผยว่า   ได้ร่วมกับ กองทุนศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ โรงเรียนนราธิวาส และ ศอ.บต.โดยการสนับสนุนงบประมาณโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ จัดค่าย จุดประกายความใฝ่ฝัน เพาะเมล็ดพันธุ์วรรณกรรม รุ่น 44 โรงเรียนนราธิวาส   เพื่อเสริมทักษะการเขียน  การบันทึก  การอ่าน  และให้ความสำคัญกับงานศิลปะขั้นพื้นฐาน

ฟ้าบ่กั้น!เสียงแคนแดนมลายู“ลาว คำหอม”ศิลปินชาติเยี่ยมชายแดนใต้แลกเปลี่ยนศิลปะ-ให้กำลังใจคนอีสาน

ฟ้าบ่กั้น!เสียงแคนแดนมลายู“ลาว คำหอม”ศิลปินชาติเยี่ยมชายแดนใต้แลกเปลี่ยนศิลปะ-ให้กำลังใจคนอีสาน

เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดแรงบันดาลใจและนำไปสู่การใช้พื้นที่ทางวัฒนธรรมของตนเป็นต้นทุนในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเพื่อจารึกเรื่องราวในพื้นที่ให้กับนักเรียน

ฟ้าบ่กั้น!เสียงแคนแดนมลายู“ลาว คำหอม”ศิลปินชาติเยี่ยมชายแดนใต้แลกเปลี่ยนศิลปะ-ให้กำลังใจคนอีสาน

ฟ้าบ่กั้น!เสียงแคนแดนมลายู“ลาว คำหอม”ศิลปินชาติเยี่ยมชายแดนใต้แลกเปลี่ยนศิลปะ-ให้กำลังใจคนอีสาน ฟ้าบ่กั้น!เสียงแคนแดนมลายู“ลาว คำหอม”ศิลปินชาติเยี่ยมชายแดนใต้แลกเปลี่ยนศิลปะ-ให้กำลังใจคนอีสาน