ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง รูปแบบ ขนาด สี ของธนบัตรทุกชนิดตั้งแต่ 20-1000 บาทที่จะนำออกใช้ในอนาคต

ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ลักษณะ สี และขนาดธนบัตรแบบใหม่ ชนิดราคา ๒๐ บาท ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท ที่จะนําออกใช้ 

ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยจะนําธนบัตรแบบใหม่ ชนิดราคา ๒๐ บาท ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท ออกใช้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา ๑๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงประกาศลักษณะ สี และ ขนาดของธนบัตรแบบใหม่ทั้ง ๕ ชนิดราคา ดังปรากฏรายละเอียดและตัวอย่างภาพธนบัตรดังกล่าวตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้

ธนบัตรชนิดราคา ๒๐ บาท

๑. สี สีโดยรวมเป็นสีเขียว
๒. ขนาดธนบัตร  กว้าง ๗๒ มิลลิเมตร  ยาว ๑๓๘ มิลลิเมตร
๓. ด้านหน้าธนบัตรภาพประธาน
 - พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ

 ลักษณะพิเศษ

 - พระสาทิสลักษณ์และภาพพระตราประจําพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตัวอักษร ตัวเลขแจ้งชนิดราคา พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีเขียวเข้ม จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ

 - ตัวเลขแฝง “20” ซ่อนในลายประดิษฐ์สีเขียวเข้มซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางด้านล่างของธนบัตร มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายของลายประดิษฐ์เข้าหามุมบนขวาของธนบัตร

 - ลายน้ำพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและตัวเลข “20” ซึ่งมีความ โปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

 - แถบสีเขียวฝังในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง โดยมีบางส่วนของแถบปรากฏ ให้เห็นเป็นระยะ เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงจะเปลี่ยนสลับจากสีเขียวเป็นสีม่วงแดง ภายในแถบมีข้อความ “20 บาท  20 BAHT” ขนาดเล็ก สามารถอ่านได้ทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

 - รูปพระครุฑพ่าห์บนด้านหน้าและด้านหลังพิมพ์ในตําแหน่งตรงกัน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างจะเห็นซ้อนทับกันสนิท

 - ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ที่เบื้องขวาของพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีส้ม ภายในมีตัวเลข “20”

 - สัญลักษณ์แจ้งชนิดราคารูปดอกไม้๒ ดอก พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีเขียวเข้ม

สําหรับผู้บกพร่องทางสายตาใช้สัมผัส แทนตัวเลข  “๒” ในอักษรเบรลล์ซึ่งกําหนดให้เป็นสัญลักษณ์สําหรับธนบัตรชนิดราคา ๒๐ บาท

- ลายประดิษฐ์บริเวณตอนกลางของธนบัตรจะเรืองแสงเป็นสีเขียวอมเหลือง และสีชมพูภายใต้รังสีเหนือม่วง

- บริเวณเบื้องขวาของพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปรากฏลายกนก และตัวเลข “20” สีเขียวอมเหลืองเรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วง

- หมวดอักษรและเลขหมายไทยพิมพ์ตามแนวนอน ส่วนหมวดอักษรโรมันและเลขหมายอารบิกพิมพ์ตามแนวตั้ง ซึ่งหมวดอักษรและเลขหมายทั้งสองนี้จะเปลี่ยนเป็นสีส้มเรืองแสง ภายใต้รังสีเหนือม่วง

- เส้นใยเรืองแสงในเนื้อกระดาษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงินภายใต้รังสีเหนือม่วง 

๔. ด้านหลังธนบัตร

 ภาพประธาน
 - พระบรมสาทสลิ ักษณ์พระบาทสมเด็จพระพทธยอดฟ ุ ้าจฬาโลกมหาราช ุ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

 ภาพประกอบ
 - ภาพพระตราประจําราชวงศ์จักรี
 - ภาพวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง สื่อถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
 - ภาพจากบทละครเรื่องอิเหนา สื่อถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย

 - ข้อความแจ้งโทษ “การปลอมหรือแปลงธนบัตรเป็นความผิด ต้องระวางโทษตามประมวลกฎหมายอาญา”

ลักษณะพิเศษ
 - ลายพื้นและลายประดิษฐ์บริเวณตอนกลางของธนบัตรจะเรืองแสงเป็นสีเหลืองภายใต้รังสีเหนือม่วง

 

ธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท
๑. สี   สีโดยรวมเป็นสีฟ้า
๒. ขนาดธนบัตร กว้าง ๗๒ มิลลิเมตร ยาว ๑๔๔ มิลลิเมตร
๓. ด้านหน้าธนบัตรภาพประธาน
 - พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ

 ลักษณะพิเศษ

 - พระสาทิสลักษณ์และภาพพระตราประจําพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตัวอักษร ตัวเลขแจ้งชนิดราคา พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีน้ำเงินเข้ม จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ

 - ตัวเลขแฝง “50” ซ่อนในลายประดิษฐ์สีน้ําเงินเข้มซึ่งอยู่บริเวณตอนกลาง ด้านล่างของธนบัตร มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายของ ลายประดิษฐ์เข้าหามุมบนขวาของธนบัตร

 - ลายน้ำพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและตัวเลข “50” ซึ่งมีความโปร่งแสง เป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

 - แถบสีน้ำเงินฝงในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง โดยมีบางส่วนของแถบปรากฏให้เห็นเป็นระยะ เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงจะเปลี่ยนสลับจากสีน้ําเงินเป็นสีม่วงแดง ภายในแถบมีข้อความ “50 บาท 50 BAHT” ขนาดเล็ก สามารถอ่านได้ทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

 - รูปพระครุฑพ่าห์บนด้านหน้าและด้านหลังพิมพ์ในตําแหน่งตรงกัน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างจะเห็นซ้อนทับกันสนิท

 - ลายประจํายามที่เบื้องขวาของพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพิมพ์ด้วยเส้นนูนสีส้ม ภายในมีตัวเลข “50”

 - สัญลักษณ์แจ้งชนิดราคารูปดอกไม้๒ ดอก พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีน้ำเงินเข้ม

สําหรับผู้บกพร่องทางสายตาใช้สัมผัส แทนตัวเลข “๕” ในอักษรเบรลล์ซึ่งกําหนดให้เป็นสัญลักษณ์สําหรับธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท

- ลายประดิษฐ์บรเวณตอนกลางของธนบ ิ ัตรจะเรืองแสงเป็นสีเขียวและสีส้มภายใต้รังสีเหนือม่วง

 - บริเวณเบื้องขวาของพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปรากฏตัวเลข “๕๐” และ “50” สีเขียวอมเหลืองเรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วง

 - หมวดอักษรและเลขหมายไทยพิมพ์ตามแนวนอน ส่วนหมวดอักษรโรมันและเลขหมายอารบิกพิมพ์ตามแนวตั้ง ซึ่งหมวดอักษรและเลขหมายทั้งสองนี้จะเปลี่ยนเป็นสีส้มเรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วง

- เส้นใยเรืองแสงในเนื้อกระดาษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงินภายใต้รังสีเหนือม่วง

๔. ด้านหลังธนบัตร 

ภาพประธาน

 - พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้าและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 ภาพประกอบ

 - ภาพพระตราประจําราชวงศ์จักรี

 - ภาพเรือสําเภา สื่อถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า ด้านการบริหารการคลัง

 - ภาพหอชัชวาลเวียงชัยในพระนครคีรีสื่อถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านวิทยาศาสตร์สาขาดาราศาสตร์ 

- ข้อความแจ้งโทษ “การปลอมหรือแปลงธนบัตรเป็นความผิด ต้องระวางโทษตามประมวลกฎหมายอาญา”

ลักษณะพิเศษ

 - ลายพื้นและลายประดิษฐ์บริเวณตอนกลางของธนบัตรจะเรืองแสงเป็นสีเหลืองภายใต้รังสีเหนือม่วง

 

ธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท

๑. สี    สีโดยรวมเป็นสีแดง
๒. ขนาดธนบัตร กว้าง ๗๒ มิลลิเมตร ยาว ๑๕๐ มิลลิเมตร
๓. ด้านหน้าธนบัตร


ภาพประธาน


 - พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ

 ลักษณะพิเศษ

 - พระสาทิสลักษณ์และภาพพระตราประจําพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตัวอักษร ตัวเลขแจ้งชนิดราคา พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีแดงเข้ม จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผสดั ้วยปลายนิ้วมือ

 - ตัวเลขแฝง “100” ซ่อนในลายประดิษฐ์สีแดงเข้มซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางด้านล่างของธนบัตร มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายของลายประดิษฐ์เข้าหามุมบนขวาของธนบัตร

 - ลายน้ำพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและตัวเลข “100” ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

 - แถบสีม่วงแดงฝังในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง โดยมีบางส่วนของแถบปรากฏให้เห็นเป็นระยะ เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงจะเห็นแถบแนวนอนเลื่อนขึ้นลงตามแนวตั้ง และเปลี่ยนสลับจาก สีม่วงแดงเป็นสีเขียว ภายในแถบมีข้อความ “100 บาท 100 BAHT” ขนาดเล็ก สามารถอ่านได้ทั้งสองด้าน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

 - รูปพระครุฑพ่าห์บนด้านหน้าและด้านหลังพิมพ์ในตําแหน่งตรงกัน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างจะเห็นซ้อนทับกันสนิท

 - ลายดอกห้ากลีบที่เบื้องขวาของพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษสีทอง จะเป็นประกายระยิบระยับเมื่อพลิกธนบัตรไปมา ภายในมีตัวเลข “100”

 - สัญลักษณ์แจ้งชนิดราคารูปดอกไม้๓ ดอก พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีแดงเข้มสําหรับผู้บกพร่องทางสายตาใช้สัมผสั แทนตัว “H” ในอักษรเบรลล์ที่ย่อจาก Hundred ซึ่งกําหนดให้เป็นสัญลักษณ์สําหรับธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท

- ลายประดิษฐ์บริเวณตอนกลางของธนบัตรจะเรืองแสงเป็นสีเขียวอมเหลืองและสีส้มภายใต้รังสีเหนือม่วง

 - บริเวณเบื้องขวาและเบื้องซ้ายของพระสาทิสลักษณสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปรากฏตัวเลข “๑๐๐” และ “100” สีเขียวอมเหลืองเรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วง

- หมวดอักษรและเลขหมายไทยพิมพ์ตามแนวนอน ส่วนหมวดอักษรโรมันและเลขหมายอารบิกพิมพ์ตามแนวตั้ง ซึ่งหมวดอักษรและเลขหมายทั้งสองนี้จะเปลี่ยนเป็นสีส้มเรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วง

- เส้นใยเรืองแสงในเนื้อกระดาษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงินภายใต้รังสีเหนือม่วง

๔. ด้านหลังธนบัตร

 ภาพประธาน
 - พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้า


ภาพประกอบ
 - ภาพพระตราประจําราชวงศ์จักรี

 - พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจลจอมเกล ุ ้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ พุทธศักราช ๒๔๕๐ สอถื่ ึงพระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศ

 - พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้าในการฝึกเสือป่า สื่อถึงพระราชกรณียกิจด้านการป้องกันประเทศ

 - ข้อความแจ้งโทษ “การปลอมหรือแปลงธนบัตรเป็นความผิด ต้องระวางโทษตามประมวลกฎหมายอาญา”

ลักษณะพิเศษ


 - ลายพื้นและลายประดิษฐ์บริเวณตอนกลางของธนบัตรจะเรืองแสงเป็นสีเหลืองภายใต้รังสีเหนือม่วง

 

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

 

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

 

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

 

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

 

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

 

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

 

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

 

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

 

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

 

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

 

ประกาศราชกิจจาฯ !! รูปแบบ ขนาด สี "ธนบัตรแบบใหม่" ทุกชนิดที่จะนำออกใช้!

 

 

 

 

ขอบคุณ ราชกิจจานุเบกษา