พระแม่กาลี คือใคร ช่วยในเรื่องอะไร และมีข้อห้ามอะไรบ้าง

พระแม่กาลี คือใคร มีความเป็นมาอย่างไร ช่วยในเรื่องอะไรได้บ้าง และมีข้อห้ามอะไรบ้างที่ต้องทำตามอย่างเคร่งครัด ในแบบฉบับของเทพฮินดู ไปทำความเข้าใจกันค่ะ

สำหรับ พระแม่กาลี คือใคร หลายคนทราบกันดีอยู่แล้ว พระแม่กาลีนั้นเป็นร่างแปลงของพระแม่อุมาเทวี ที่มีรูปน่ากลัว และคนไทยก็ให้ความเคารพ กราบไหว้บูชา ส่วนใครที่ยังไม่ทราบว่า พระแม่กาลีคือใคร เราจะอธิบายให้ฟังอีกครั้ง และพระแม่กาลีช่วยในเรื่องอะไร และมีข้อห้ามอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

พระแม่กาลี คือใคร ช่วยในเรื่องอะไร และมีข้อห้ามอะไรบ้าง

พระแม่กาลี คือใคร

พระแม่กาลี พระองค์เป็นหนึ่งในปางของพระแม่อุมาเทวี เมื่อพระองค์ต้องปราบมารมาธู จึงได้ขอพรจากพระศิวะ และบำเพ็ญตบะ จนเกิดเป็นร่างอวตารในนามของพระแม่กาลี ซึ่งมีความเชื่อว่าพระแม่กาลีสามารถปัดเป่าโชคร้าย หรือช่วยเรื่องไสยเวทย์ โดนของ ศาสตร์มืด หากได้ ไหว้พระแม่กาลี จะช่วยให้แคล้วคลาดจากอัปมงคลทั้งปวง

 

ประวัติ พระแม่กาลี 

ร่างแบ่งหรือร่างอวตาลปางหนึ่งของ “พระแม่อุมาเทวี” ผู้ที่เป็นเทพีผู้ยิ่งใหญ่อันเป็นพระชายาของมหาเทพ “พระศิวะ” และพระองค์ยังได้ชื่อว่าเป็นมารดาแห่งโลกและมนุษย์อีกด้วย โดยต้นกำเนิดของปาง พระมหากาลี นั้นเกิดจากในครั้งที่ “อสูรทารุณ” พยายามจะยึดครองโลกทั้งสาม และไม่มีเทพองค์ใดกล้าต่อกรด้วย พระแม่อุมาจึงเสนอพระองค์ไปสู้รบ และจากนั้นพระศิวะจึงได้ให้พรกับพระองค์ ให้ได้รับความแกร่งกล้าและได้อวตาลกลายเป็น “พระแม่กาลี” เพื่อไปสู้กับอสูรทารุณ จนกำราบศัตรูได้ในที่สุด ทั้งนี้เมื่อปราบอสูรร้ายได้แล้ว พระแม่กาลีก็ยังกลับร่างไปเป็นพระแม่อุมาไม่ได้ เนื่องด้วยขาดการควบคุมตนเอง ในครั้งนั้นพระศิวะจึงยอมให้พระองค์เหยียบที่ยอดอก เพื่อไม่ให้พลังขององค์แม่ทำลายล้างทั้งจักรวาล จึงได้เกิดเป็นเทวรูปปาง “พระแม่กาลีเหยียบอกพระศิวะ” ขึ้น  และหลังจากนั้นก็ยังมีอีกหลายตำนานที่พระแม่กาลีปรากฏตัวด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่มักจะปรากฏกายเพื่อปราบอสูรร้ายและปกป้องโลก จึงจะเห็นได้ว่าพระแม่กาลีนั้นมักจะถืออาวุธสุดโหด ห้อยหัวกะโหลกไว้เต็มคอ แถมยังมีรูปกายสีดำทมิฬ และชอบแลบลิ้นยาวด้วย เพื่อใช้ในการข่มขวัญเหล่าอสูรให้หวาดกลัวนั่นเอง

พระแม่กาลี คือใคร ช่วยในเรื่องอะไร และมีข้อห้ามอะไรบ้าง

พระแม่กาลี มีกี่ปาง 

เทวีทศมหาวิทยา (Dasha Mahavidya) ทั้ง 10 ปางในนิกายตันตระ ประกอบด้วย

  1. เทวีกาลี (Kali)
  2. เทวีตารา (Tara)
  3. เทวีโสฑศี (ลลิตา , ตรีปุระสุนทรี) (Shodashi / Lalita / Tripurasundari)
  4. เทวีไภรวี (Bhairavi)
  5. เทวีภูวเนศวรี (Bhuvaneshwari)
  6. เทวีฉินมัสตา (Chinnamasta)
  7. เทวีธูมาวตี (Dhumavati)
  8. เทวีภคลามุขี (Bagalamukhi)
  9. เทวีมาตังคี (Matangi)
  10. เทวีกมลา (Kamala)

 

วิธีไหว้ พระแม่กาลี

แท่น หิ้ง หรือ โต๊ะบูชา ขององค์พระแม่กาลี ควรปูด้วย ผ้าสีแดงก่อน แล้วค่อยประดิษฐานรูปภาพหรือเทวรูปลงไป หากประดิษฐานในศาลหรือเทวาลัย ควรทาสีเทวาลัยด้านในให้เป็นสีแดงหรือสีดำ กระถางธูป ถ้าทาสีแดงหรือดำได้ก็ยิ่งดี

ตามตำราโบราณกล่าวไว้ว่า การบูชาพระแม่กาลี น้ำสีแดง ถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆ (ใช้น้ำสมุนไพรสีแดงหรือน้ำหวานสีแดง) เนื่องจากสีแดงคือสีแห่งพลังที่มีการเคลื่อนไหว เป็นสีแห่งการกำเนิด มีความเร่าร้อน เป็นสีแห่งชีวิตที่สดใส ตลอดจนเปรียบได้ดั่งโลหิตของอสูรร้าย ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องนำมาถวายสังเวยแด่พระแม่กาลี ยังมีขนมที่ควรถวาย ถ้าหา ขนมสีแดง ได้ก็ดี หรือ ขนมลาดูป (ลัทดู) ขนมโมทกะ ที่ถวายพระพิฆเนศ ตลอดจน ดอกไม้สีแดง ทุกชนิด (ดอกกุหลาบแดง หรือดอกชบาแดง ก็จัดหาได้สะดวกในเมืองไทย) ธูปหอม กำยาน น้ำมันหอมระเหย สามารถจัดหากลิ่นใดก็ได้ แต่ที่แนะนำก็จะเป็นกลิ่นจันทน์ น้ำมันอบเชย น้ำมันกระดังงา และการบูร

ที่อินเดีย โดยเฉพาะในเมืองกัลกัตตา เมืองที่มีผู้บูชาลัทธิพระแม่กาลีมากที่สุดในโลก ผู้บูชามักสังเวยพระแม่ด้วยเลือดแพะ น้ำสีแดง ขนมสีแดง ถวายอาหารคาว (เป็นเทพองค์เดียวของฮินดูที่ถวายเนื้อสัตว์อาหารคาวได้) เนื้อสัตว์ทั้งปรุงสุกและกึ่งสุกกึ่งดิบ แต่ดิบๆเลยไม่ได้ ถวายเนื้อสัตว์ต้มสุกได้ แต่ห้ามถวายเนื้อวัวเนื้อควาย ควรใช้เนื้อไก่เนื้อเป็ด ถ้าถวายอาหารคาว ควรมีเหล้าถวายด้วยแต่ถ้าถวายเพียง ขนม ก็ไม่จำเป็นต้องมีเหล้า ถ้าผู้บูชาเลือกที่จะถวายขนม นม น้ำแดง ก็ประดิษฐานพระแม่กาลีร่วมโต๊ะหรือหิ้งเดียวกันกับเทพองค์อื่นๆ ของฮินดูได้ แต่ถ้าเลือกที่จะถวายอาหารคาวและเนื้อสัตว์ด้วย ก็ควรจะแยกหิ้งออกมาต่างหาก เนื่องจากเทพองค์อื่นๆ ไม่โปรดเนื้อสัตว์

 

คาถาบูชาพระแม่กาลี

การกล่าวคาถาบูชาสรรเสริญพระแม่กาลี จะต้องกล่าวบูชา พระพิฆเนศ ก่อนทุกครั้ง ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ถูกต้องของชาวฮินดู โดยคาถาสามารถท่องได้แบบสั้นและแบบยาว ดังนี้…

คาถาแบบสั้น : “โอม ศรี มะหากาลิกาไย นะมะหะ (ท่อง 3 จบ)” ตามด้วยกล่าวคำอธิษฐานต่าง ๆ ตามใจปรารถนา
คาถายาว : “โอม ชยะตี มหากาลี ชยะตี อาธยะ กาลี มาตา ชยะรูปะ ประจัญทิกา มหากาลิกะ เทวี ชยะตี รักตาสะนะ เราทะระมุขี รุทะรานี อริ โศนิตขะไประ ภะระนี ขัททะคะ ธรณี ศุจี ปาณนี ฯ (ท่อง 1 จบ)” จากนั้นจึงเอ่ยคำอธิษฐานต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ

 

ข้อห้ามพระแม่กาลี

  • ห้ามถวายของคาวโดยไม่มีเหล้า

การถวายของคาวให้กับ เจ้าแม่กาลี ไม่ว่าจะเป็นกับข้าว แกง เนื้อสัตว์ ใด ๆก็ตาม ควรถวายคู่กับเหล้าเท่านั้น หรือถ้าจะถวายขนมหวาน ก็ไม่จำเป็นต้องถวายเหล้าด้วย ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง

  • ห้ามถวายเนื้อสัตว์ร่วมกับเทพองค์อื่น

หากต้องการถวายเนื้อสัตว์ให้พระแม่กาลี เช่น ของคาว อาหารคาว เนื้อสัตว์ ฯลฯ ต้องแยกหิ้งบูชาพระแม่กับเทพองค์อื่น ๆ ห้ามถวายบนหิ้งเดียวกัน เนื่องจากเทพองค์อื่นของฮินดูไม่ทานเนื้อสัตว์ 

ดังนั้นใครที่จะถวายเนื้อ ควรจัดหิ้งใหม่ให้พระแม่กาลีก่อนจึงค่อยถวาย แต่ถ้าหากจะถวายนม ขนมสีแดง น้ำแดง หรือดอกไม้สีแดง ฯลฯ ก็สามารถถวายบนหิ้งร่วมกับเทพองค์อื่นได้โดยปกติ

  • ห้ามใช้ผ้าปูหิ้งสีอื่นนอกจากสีแดง

บูชาพระแม่กาลี ควรเลือกสีโต๊ะบูชา ผ้าปู หิ้ง หรือแท่นบูชาที่เป็น “สีแดง” และ “สีดำ” เท่านั้น ซึ่งเป็นสีที่หมายถึงเลือดและการให้กำเนิด โดยให้เรานำผ้าสีแดงปูรองบนหิ้งก่อนอีกหนึ่งชั้น จากนั้นจึงค่อยนำรูปพระแม่กาลี หรือองค์พระแม่กาลีมาตั้งไว้บนหิ้ง

ส่วนใครที่คิดจะสร้างเทวาลัยหรือศาลพระแม่กาลี เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาที่บ้าน ก็ควรทาสีวัสดุต่าง ๆ ให้เป็นสีแดงและสีดำเช่นกัน โดยเฉพาะถ้ากระถางธูปเป็นสีแดงด้วยก็ยิ่งดี ยิ่งเป็นสิริมงคลกับผู้บูชา หรือถ้าหาหิ้งสีแดงไม่ได้ ก็ต้องเป็นสีทอง สีน้ำเงิน หรือสีขาวเท่านั้น

  • ห้ามผิดศีลและประพฤติผิดในกาม

ข้อห้ามสำคัญในการบูชาพระแม่กาลี ก็คือ “ห้ามผิดศีลข้อ 3” หรือประพฤติผิดในกาม เช่น การคบชู้ การคบซ้อน การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่สามี ฯลฯ เพราะพระแม่กาลีเป็นเทพีที่ยึดมั่นถือมั่นในความรัก เป็นผู้รักเดียวใจเดียว รวมทั้งถ้าบูชาพระแม่กาลีหรือเทพองค์ใดก็ตาม ก็ควรถือศีลข้ออื่น ๆ ด้วย ตามแต่สมควร 

  • ห้ามลืมนั่งสมาธิวันละหนึ่งครั้ง

ข้อสุดท้ายนี้ไม่เชิงเป็น ข้อห้ามบูชาพระแม่กาลี แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง นั่นก็คือการนั่งสมาธิให้ได้อย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง โดยต้องสวดมนต์บูชาพระแม่ด้วยคาถาด้วย ซึ่งในภาษาฮินดูจะเรียกพิธีนี้ว่า “ปราณยาม” ซึ่งก็เป็นพิธีที่เหมือนการนั่งสมาธิ โดยให้เรานั่งกำหนดลมหายใจเข้าออกยาว ๆ จนเจริญสมาธิได้

ถ้าหมั่นทำพิธีนี้บ่อย ๆ จะหนุนนำให้เกิดสิริมงคลกับตัวผู้บูชาเอง ทั้งนี้ยังสามารถถือศีลกินอาหารมังสวิรัติ เพื่อเป็นการถวายความเคารพให้กับเจ้าแม่กาลีได้ด้วย 

พระแม่กาลี คือใคร ช่วยในเรื่องอะไร และมีข้อห้ามอะไรบ้าง