วันมาฆบูชา มีความสำคัญอะไรบ้าง ที่ควรรู้

เปิดความหมาย วันสำคัญ วันพระใหญ่ หรือ วันมาฆบูชา มีความสำคัญอะไรบ้าง ที่ควรรู้ ไปทำความเข้าใจพร้อมกันค่ะ พรุ่งนี้วันพระ

วันมาฆบูชา มีความสำคัญอะไรบ้าง หลายคนสงสัยว่า วันพระใหญ่ คืออะไร ต่างจาก วันพระ ปกติยังไง วันมาฆบูชา 2567 ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ในปีนี้เป็นวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ โดยวันมาฆบูชามีความสำคัญเป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นการทำความดี ละเว้นความชั่ว

วันมาฆบูชา มีความสำคัญอะไรบ้าง ที่ควรรู้

วันมาฆบูชา มีความสำคัญอะไรบ้าง ที่ควรรู้ คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆปุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 โดยความเชื่อความสำคัญ พิธีกรรม 

 

ความสำคัญของวันมาฆบูชา

 

เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญจะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"

 

วันมาฆบูชา มีความสำคัญอะไรบ้าง ที่ควรรู้

 

เหตุการณ์สำคัญวันมาฆบูชา 


1. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6
4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

 

วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า จาตุรงคสันนิบาต มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ     

  • จาตุร แปลว่า 4
  • องค์ แปลว่า ส่วน
  • สันนิบาต แปลว่า ประชุม

วันมาฆบูชา มีความสำคัญอะไรบ้าง ที่ควรรู้

 

หลักธรรมปฏิบัติในวันมาฆบูชา

 

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือ "โอวาทปาฏิโมกข์" การทำความดี ละเว้นความชั่ว การถือศีล นั่งสมาธิ ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

 

3 หลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ 

 

1. การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

 

2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตาม กุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

 

3. การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย 

 

บทสวดโอวาทปาฏิโมกข์


(หันทะ มะยัง โอวาทะปาฏิโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
การไม่ทำบาปทั้งปวง

กุสะลัสสูปะสัมปะทา
การทำกุศลให้ถึงพร้อม

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ

เอตัง พุทธานะ สาสะนัง
ธรรม 3 อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
คือความอดกลั้นเป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา
ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต
การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย

ปาติโมกเข จะ สังวะโร
การสำรวมในปาฏิโมกข์

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
การนอนการนั่งในที่อันสงัด

อะธิจิตเต จะ อาโยโค
ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง

เอตัง พุทธานะสาสะนัง
ธรรม 6 อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

 

คำแปล 


การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ธรรม 3 อย่างนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ผู้รู้ทั้งหลายกว่าพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้ทำให้สัตว์อื่นลำบากอยู่ ไม่ถือว่าเป็นสมณะ การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย การสำรวมในปาฏิโมกข์ ความเป็นผู้รู้ ประมาณในการบริโภค การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง ธรรม 6 อย่างนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

 

พิธีกรรม วันมาฆบูชา 


ในช่วงเช้าจะเป็นการใส่บาตร ทำบุญ ถวายสังฆทาน ทำทาน ปล่อยนกปล่อยปลา ในช่วงเย็นเวียนเทียน สวดมนต์ที่บ้าน นั่งสมาธิ และหากไปเวียนเทียนในช่วงเย็นที่วัด คาถาที่ต้องท่องขณะเดินเวียนเทียนทั้ง 3 รอบ ได้แก่ 

 

เวียนเทียนรอบที่ 1

  • ให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ โดยสวดบทอิติปิโส ท่องว่า 

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ

เวียนเทียนรอบที่ 2

  • ให้ระลึกถึงพระธรรมคุณ โดยสวดบทสวากขาโต ท่องว่า 

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

เวียนเทียนรอบที่ 3

  • ให้ระลึกถึงพระสังฆคุณ โดยสวดบทสุปะฏิปันโน ท่องว่า 

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

 

ข้อมูล : สำนักงานพระพุทธศาสนา