ธนาธร  อ้างป้องพระเกียรติ ตัดงบฯมูลนิธิปิดทองหลังพระ  วิจารณ์สารพัด ซ้ำรอยส่วนราชการในพระองค์

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อ้างปกป้องสถาบันฯ เดินหน้าตรวจสอบงบฯ ล่าสุดยืนกรานตัดค่าใช้จ่ายมูลนิธิปิดทองหลังพระ ต่อเนื่องจากการวิพากษ์วิจารณ์งบฯส่วนราชการในพระองค์ สอดรับข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์

ท่ามกลางกระแสเคลื่อนไหวจากกลุ่มแนวคิด ของคณะนิสิต  นักศึกษา  นำโดยนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำเยาวชนปลดแอก  รวมถึง นายอานนท์ นำภา แกนนำพลเมืองโต้กลับ  ภายใต้แรงสนับสนุนโดยอ้อมจากกลุ่มคณะก้าวหน้า  ในการกดดันให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์  โดยการแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวเนื่อง และการก้าวล่วงตรวจสอบพระราชอำนาจในหลายมิติที่ส่อให้เห็นข้อคำถามเบื้องหลัง ว่าเจตนาของคนเหล่านี้คิดไปไกลถึงขึ้นเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหรือไม่


สถานการณ์หนึ่งที่ควรจับตามองก็คือ   ท่าทีของนายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  ที่ได้รับโอกาสจากพรรคก้าวไกล ให้เข้าไปทำหน้าที่ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2564 แต่ดูเหมือนว่าเป้าหมายการทำงานของนายธนาธรที่ผ่านมา   จะพุ่งเป้าไปที่การตรวจสอบงบประมาณที่เกี่ยวเนื่องกับกองทัพ  และ หน่วยงานที่มีภารกิจสัมพันธ์กับสถาบันเบื้องสูง   อย่างเชื่อมโยงกับข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ของกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม  อาทิเช่น  การวิพากษ์วิจารณ์  และงบประมาณของส่วนราชการในพระองค์  พร้อมเสนอให้มีการตัด รื้อ ลด  ตัวเลขเงินงบประมาณ   โดยอ้างเพื่อความจำเป็นให้พระมหากษัตริย์  ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างสมพระเกียรติ  

 

ธนาธร  อ้างป้องพระเกียรติ ตัดงบฯมูลนิธิปิดทองหลังพระ  วิจารณ์สารพัด ซ้ำรอยส่วนราชการในพระองค์


  ( คลิกอ่านข่าวประกอบ :  อัษฎางค์ ไล่เลียงละเอียด ธนาธรปกป้องหรือโจมตีสถาบันฯ?

ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมาธิการฯเพื่อพิจารณางบประมาณของ  "มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ"  นายธนาธร  ได้เข้าประชุมและนำผลมาโพสต์ แสดงใจความสำคัญบางช่วงตอน โดยขึ้นต้นว่า   "มูลนิธิปิดทองหลังพระ  : ภารกิจและงบประมาณที่ซ้ำซ้อนไม่สอดรับกับการบริหารราชการแผ่นดิน"


สำนักนายกรัฐมนตรีได้ตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนการทำงานของ “มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ” สำหรับปีงบประมาณ 2564 เป็นจำนวนเงิน 287 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณรายการนี้ถูกตัดไปในชั้นอนุกรรมาธิการอบรมสัมมนาฯ    ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564   ทางสำนักนายกรัฐมนตรีได้ขออุทธรณ์เพื่อไม่ให้ตัดงบสนับสนุนมูลนิธิปิดทองหลังพระ

 

ธนาธร  อ้างป้องพระเกียรติ ตัดงบฯมูลนิธิปิดทองหลังพระ  วิจารณ์สารพัด ซ้ำรอยส่วนราชการในพระองค์


งบประมาณรายการนี้  "ผมเห็นว่ามีปัญหาทั้งในเชิงรายการและเชิงระบบ ผมจึงยืนยันให้ตัดงบรายการนี้ตามการนำเสนอของอนุกรรมาธิการ แต่ที่ประชุมกรรมาธิการงบชุดใหญ่เห็นชอบตามคำอุทธรณ์ คืนงบประมาณให้มูลนิธิปิดทองหลังพระ ผ่านสำนักนายกรัฐมนตรีตามที่ขอแต่แรก"

นอกจากนี้  นายธนาธร  ยังระบุว่า   มูลนิธิปิดทองหลังพระ คือ  มูลนิธิที่จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีในปี 2552 เพื่อส่งเสริมให้การพัฒนาตามแนวทางพระราชดำริ เป็นแนวทางการพัฒนาหลักของประเทศ
 
ในปี 2554 รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ได้อนุมัติเงินจำนวน 1,500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนมูลนิธิปิดทองหลังพระ ระยะที่ 1 เป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2554-2558 ปีละ 300 ล้านบาท เท่าๆกัน  ต่อมาในปี 2559 รัฐบาลคุณประยุทธ์ที่มาจากการทำรัฐประหาร ได้อนุมัติเงินอีก 1,500 ล้านบาท สำหรับการดำเนินการของมูลนิธิในระยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2559-2563 ปีละ 300 ล้านบาท เท่าๆ กัน  รวมสองระยะ มูลนิธิได้รับเงินสนับสนุนจากภาษีประชาชนไปแล้ว 3,000 ล้านบาท 
 

จากนั้นในปีงบประมาณ 2564 มีการขอเงินสนับสนุนมูลนิธิปิดทองหลังพระ 287 ล้านบาท จากเดิมที่ขอปีละ 300 ล้านบาท ผมเข้าใจว่ามาจากการขอตัดลดเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจช่วงโควิด  แต่ผมก็ยังไม่เห็นด้วยกับงบประมาณรายการนี้ และขอยืนยันการตัดสินใจตัดงบประมาณรายการนี้ในชั้นอนุกรรมาธิการ ด้วยเหตุผลดังนี้:
 

ข้อแรก หน้าที่ของมูลนินี้ธิซ้ำซ้อนกับหน้าที่ของหน่วยงานอื่นๆ ที่เป็นของรัฐ การให้เงินสนับสนันเพื่อภารกิจ มีโครงสร้างรูปแบบกองทุนหรือองค์กรมหาชนที่รองรับอยู่แล้ว เช่นกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) หรือ สถาบันพัฒนาชุมชน เป็นต้น หากต้องการบริหารจัดการเรื่องใดเป็นพิเศษและคล่องตัว รัฐบาลสามารถใช้กลไลปกติได้ ไม่จำเป็นต้องให้มูลนิธิที่มีสถานะเป็นเอกชนมาจัดการงบประมาณจำนวนมากติดต่อกันเป็นสิบปีเช่นนี้

 

มูลนิธิดังกล่าวมีสถานะเป็นเอกชน กรรมการมูลนิธิเป็นผู้มียศถาบรรดาศักดิ์และข้าราชการระดับสูง โดยกรรมการสถาบันที่ขับเคลื่อนนโยบายของมูลนิธิส่วนใหญ่ก็เป็นข้าราชการระดับสูง ไม่ต่างอะไรกับการตั้งกรรมการชุดต่างๆ ของรัฐบาล


กล่าวโดยง่ายก็คือ มูลนิธิมีภารกิจเหมือนหน่วยงานรัฐ, ใช้เงินภาษีประชาชนเหมือนหน่วยงานรัฐ, หน่วยปฏิบัติการใช้หน่วยงานราชการของรัฐผ่านข้าราชการระดับสูง แต่สถานะเป็น “เอกชน”

 

หากงบประมาณก้อนนี้ ถูกนำไปให้กับหน่วยงานของรัฐ, คณะกรรมาธิการพิจาราณางบประมาณฯ หรือ ส.ส. สภาผู้แทนราษฎรก็จะสามารถตรวจสอบความโปร่งใส, ประสิทธิภาพของการใช้ และการตอบสนองกับความต้องการของประชาชนได้  แต่เมื่อนำงบประมาณส่วนนี้ให้กับมูลนิธิที่มีสถานะเป็นเอกชนแล้ว ตัวแทนของประชาชนไม่สามารถตรวจสอบการใช้ได้เลย


ไม่ใช่แค่หน้าที่หรือภารกิจอย่างเดียวที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยราชการอื่น งบประมาณก็ซ้ำซ้อนเช่นกัน รัฐบาลจัดสรรงบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอยู่แล้ว โดยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในปี 2550 มีงบประมาณทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท, ในช่วงปี 2551-2557 มีจำนวนปีละ 2,300 ล้านบาท และในช่วงปี 2558-2564 มีจำนวนอีกปีละ 2,500 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐอื่นยังมีการของบประมาณ  ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกเป็นจำนวนมาก ที่นอกเหนือจากงบประมาณข้างต้น และมีหน่วยราชการ “สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” หรือ กปร. ซึ่งมีหน้าที่คอยกำกับและประสานโครงการทั้งหมด ซึ่ง กปร. เองก็ได้รับการจัดสรรงบประมาณอีกในปี 2564 จำนวน 965 ล้านบาทเพื่อกำกับ-อุดหนุน-ประสานงานดังกล่าว

 

ธนาธร  อ้างป้องพระเกียรติ ตัดงบฯมูลนิธิปิดทองหลังพระ  วิจารณ์สารพัด ซ้ำรอยส่วนราชการในพระองค์

 

ผมเห็นว่าเงินและทรัพยากรอื่นที่รัฐจัดสรรให้กับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งในส่วนของงบกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นมีมากพออยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มให้เอกชนทำอีก
 

ข้อที่สอง มูลนิธิมีเงินสดเพียงพอที่จะจัดกิจกรรมตามกรอบค่าใช้จ่ายเดิมอีก 5 ปี โดยไม่ต้องของงบประมาณจากภาษีประชาชน

 

ธนาธร  อ้างป้องพระเกียรติ ตัดงบฯมูลนิธิปิดทองหลังพระ  วิจารณ์สารพัด ซ้ำรอยส่วนราชการในพระองค์

 

ข้อที่สาม การพิจารณางบประมาณซึ่งมาจากภาษีของประชาชน ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อประสิทธิภาพและด้วยความเป็นธรรม เพื่อนกรรมาธิการ คุณหมอเอกภพ เพียรพิเศษ ได้ยกตัวอย่างกรณีสำนักงานการแพทย์ฉุกเฉิน ที่มีภารกิจในการช่วยเหลือประชาชนเหมือนกัน มีเงินสะสมเพียงพอต่อการดำเนินการเหมือนกัน แต่กลับถูกตัดงบสนับสนุน แล้วหลักการมาตรฐานของการพิจารณางบประมาณนั้นเป็นแบบไหนกันแน่? ทำไมองค์กรที่มีสถานะเงื่อนไขคล้ายกันทางด้านงบประมาณแต่ถูกปฏิบัติไม่เหมือนกัน?

 

"ผมเห็นว่ามูลนิธิปิดทองหลังพระรวมถึงโครงการในพระราชดำริอื่น  ไม่ควรเป็นข้อยกเว้นและได้รับการปฏิบัติเหมือนกับงบประมาณรายการอื่นๆ เพื่อปกป้องไม่ให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกียรติ
 

ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ ผมจึงยืนยันการพิจารณาของอนุกรรมาธิการที่ให้ตัดลดโครงการนี้ในปีงบประมาณ 2564 และในปีต่อๆ ไป"

 

ธนาธร  อ้างป้องพระเกียรติ ตัดงบฯมูลนิธิปิดทองหลังพระ  วิจารณ์สารพัด ซ้ำรอยส่วนราชการในพระองค์

 

ทั้งนี้  "มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ"   ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 ในเวลานั้น โครงการปิดทองหลังพระฯ มีพันธกิจตามมติคณะรัฐมนตรี คือ เพื่อฉลองพระชนมายุครบ 80 และ 84 พรรษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ประชาชนสามารถเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ตรงจากแนวทางโครงการพระราชดำริและน้อมนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการเรียนรู้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่และส่งเสริมอาชีพ ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรมไทย

         

ในการดำเนินภารกิจของโครงการปิดทองหลังพระฯ เพื่อสืบสานแนวพระราชดำริ ให้ขยายผลสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนนั้นกลับมีข้อจำกัดการที่เป็นหน่วยงานย่อยในสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ดังนั้น เพื่อให้มีหน่วยงานเฉพาะรองรับภารกิจสืบสานแนวพระราชดำริให้ขยายผลสู่ชุมชนได้อย่างกว้างขวาง คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการจัดตั้ง "มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ" และ "สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ" ทั้งนี้ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิปิด ทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2553

 

ธนาธร  อ้างป้องพระเกียรติ ตัดงบฯมูลนิธิปิดทองหลังพระ  วิจารณ์สารพัด ซ้ำรอยส่วนราชการในพระองค์