เปิดโพสต์ iLaw เคยแนะวิธี ถอดถอน กกต. หากประชาชนไม่พอใจการทำหน้าที่

iLaw เคยโพสต์ข้อความ ไว้เมื่อปี 2562 แนะนำนวิธีการถอดถอน กกต. ตามกฎหมาย หากประชาชนไม่พอใจในกาทำหน้าที่ดังกล่าว

12 ก.ค. 2566 ที่ประชุม กกต.วันนี้ มีมติให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพ ส.ส.ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อหัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) ประกอบมาตรา 101 (6) หรือไม่จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นสื่อบริษัท ไอทีวี จำกัด มหาชน จำนวน 42,000 หุ้น จนทำให้วันนี้ ชาวเน็ตจำนวนไม่น้อย มีการไม่พอใจ กกต. เกิดขึ้น ส่งผลให้แฮชแท็ก #กกตมีไว้ทำไม กลับมาติดเทรนด์ฮอตในทวิตเตอร์อีกครั้ง รวมไปถึงการเรียกร้องให้ ถอดถอน กกต. เลยก็มี

เปิดโพสต์ iLaw เคยแนะวิธี ถอดถอน กกต. หากประชาชนไม่พอใจการทำหน้าที่

โดยเมื่อย้อนกลับไปในปี 2562 โดย ไอลอว์ เคยโพสต์ให้ความรู้เรื่องการถอดถอนกกต. ผ่านเฟซบุ๊ก iLaw ระบุ

หากไม่พอใจ กกต. ชุดนี้ ประชาชนสามารถถอดถอนได้

ยังจำได้ไหม? ตั้งต้นเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ที่มีการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร แต่ก็ปรากฎว่า การเลือกตั้งในบางประเทศเต็มไปด้วยความยากลำบาก เช่น ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งต้องต่อแถวยาวรอเลือกตั้งเป็นเวลานาน หรือกรณีเอกสารแนะนำตัวผู้สมัครผิดพลาด หรือการจัดส่งเอกสารบัตรเลือกตั้งล่าช้า ส่งไปแล้วก็ถูกตีกลับ เป็น

ถัดมาคือวันที่ 17 มีนาคม 2562 กกต. จัดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าสำหรับคนที่ไม่สะดวกในวันที่มีการเลือกตั้ง แต่ก็ปรากฎว่า การเลือกตั้งมีความผิดพลาด เช่น รายชื่อพรรคและผู้สมัครที่ถูกยุบยังอยู่ หรือบางทีรายชื่อผู้สมัครก็หาย แต่ที่ร้ายแรงที่สุด คือ การที่เจ้าหน้าที่ให้บัตรเลือกตั้งผิดเขตที่มีสิทธิ์ บางคนมีการทักทวงเจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้ากลับบอกให้ กาๆ ไปเถอะ สนบัตรเสีย

จนกระทั้งวันที่ 24 มีนาคม ที่เป็นวันเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้มาใช้สิทธิถึงสามสิบล้านกว่าคน แต่ทว่า กลับพบปัญหาเดิม เช่น ผู้สมัครและพรรคที่ถูกยุบยังอยู่ บางครั้งมีการสวมสิทธิเลือกตั้ง และบัตรที่มาจากการเลือกตั้งนอกราชาอาณาจักรเดินทางมาถึงช้า

ด้วยเหตุนี้ ทำให้มีประชาชน-พลเมืองเน็ต จำนวนอย่างน้อย 118,704 ราย ร่วมลงชื่อผ่าน Change.org  เพื่อร่วมกันลงชื่อถอดถอน กกต ชุดปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญ มาตรา 235 ระบุว่า ภายใต้บังคับมาตรา 236 ที่ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ โดยให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนข้อเท็จจริง และหากมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งให้ส่งสํานวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดําเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

เปิดโพสต์ iLaw เคยแนะวิธี ถอดถอน กกต. หากประชาชนไม่พอใจการทำหน้าที่