"ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปี ประชากรจะ 80 ล้านคน" พระราชดำรัสของในหลวง ร.9 ยังคงกึกก้องอยู่ในความทรงจำของชาวนาทุกคน ตราบจนชั่วชีวิต

ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปี ประชากรจะ 80 ล้านคน

 

"ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปี ประชากรจะ 80 ล้านคน" พระราชดำรัสของในหลวง ร.9 ยังคงกึกก้องอยู่ในความทรงจำของชาวนาทุกคน ตราบจนชั่วชีวิต

 

 

“.. ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อย ๆ ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก..” พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2536)

      ทำให้เชื่อได้ว่าการทำนาจะยังคงอยู่คู่กับคนไทยไปอีกนาน “ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาการทดลองและทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมี ความยากลำบากอยู่ มิใช่น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิชาการต่าง ๆ ด้วยจึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน อีกประการหนึ่งที่นานั้น เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรปลูกพืชอื่นๆ บ้าง เพราะจะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่ใช่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป” พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนา เมื่อ พฤษภาคม 2504  จากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาข้าวไทย : หน้า 2

"ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปี ประชากรจะ 80 ล้านคน" พระราชดำรัสของในหลวง ร.9 ยังคงกึกก้องอยู่ในความทรงจำของชาวนาทุกคน ตราบจนชั่วชีวิต

 

 เมื่อวันที่ 9-10 มีนาคม 59 ที่ผ่านมา โดยนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีพร้อมคณะได้เยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงานของ กลุ่มทำนาโคกเป็ด หมู่ที่ 2 ตำบลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

       กลุ่มทํานาโคกเป็ด ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2553 โดยเริ่มแรกเกิดจากดำริของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาสที่ต้องการให้ฟื้นฟูการทำนาซึ่งเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในพื้นที่ตำบลสุไหงปาดี

       เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554 สมาชิกกลุ่มได้เริ่มทํานาเป็นครั้งแรก โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณและการอบรม ถ่ายทอดความรู้จากส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ตลอดจน ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวและปุ๋ยให้กับกลุ่มเกษตรกร นับเป็นจุดเริ่มต้นในการฟื้นฟูการทํานาในพื้นที่ตําบลสุไหงปาดี

       “เรื่องน้ำ” ที่ใช้ทำนาสมาชิกกลุ่มโคกเป็ดบอกว่าได้รับ “พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

       เนื่องโดยได้รับน้ำจากโครงการอ่างเก็บน้ำโคกยางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เป็นหัวใจสำคัญหลักทำนาด้วยข้าวพันธุ์ซีบูกันตังซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อโรค และเป็นที่นิยมบริโภคของคนในท้องถิ่น

 ในปัจจุบันกลุ่มทำนาโคกเป็ด สมาชิกทำนาทั้ง 60 ราย เป็นคนหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 12 ของอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยรับน้ำจากคูส่งน้ำชลประทานของโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านโคกยางฯและคลองขุดวังงูเหลือม ผลผลิตที่ได้เฉลี่ย 1,200 กิโลกรัม/ปี ถ้าจำหน่ายก็ราคากิโลกรัมละ 26 บาท

    

"ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปี ประชากรจะ 80 ล้านคน" พระราชดำรัสของในหลวง ร.9 ยังคงกึกก้องอยู่ในความทรงจำของชาวนาทุกคน ตราบจนชั่วชีวิต

 

"ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปี ประชากรจะ 80 ล้านคน" พระราชดำรัสของในหลวง ร.9 ยังคงกึกก้องอยู่ในความทรงจำของชาวนาทุกคน ตราบจนชั่วชีวิต

วันนี้ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่แล้วขยายผลออกไปเกือบทั้งอำเภอสุไหงปาดี  มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือนได้เพียงพอตลอดปี

      อย่างที่บอก ผลสำเร็จของกลุ่มทำนาโคกเป็ด ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงมีความสนใจทำนาเพิ่มขึ้น ดังเช่น เกษตรกรกลุ่มทำนาบ้านปากล่อ หมู่ที่ 11 ตำบลสุไหงปาดี ได้ริเริ่มทำนาเมื่อปี 2558 บนพื้นที่ 100 ไร่ มีเกษตรกรจำนวน 28 ราย

    ชาวนาที่ผู้เขียนได้พูดคุยด้วยย้ำว่า  เดิมพื้นที่นานี้เป็นนาร้าง เพราะขาดปัจจัยสำคัญที่ทำให้สรรพสิ่งเจริญงอกงามได้ คือ “น้ำ” แต่ที่วันนี้เต็มไปด้วยรวงข้าวสีทอง

     ภาพทุ่งนาสีทองผืนใหญ่ที่ผู้เขียนได้มาเห็นในวันนี้มีขึ้นมาได้เพราะด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเปลี่ยนแปลงนาร้างในวันนั้นเป็นนาข้าวสีทองอร่ามในวันนี้โดยพระราชทานอ่างเก็บน้ำโคกยางพลิกฟื้นฟื้นผืนนาชุบชีวิตชาวนาให้เจริญงอกงามขึ้นมาได้เหมือนตายแล้วเกิดใหม่

        และนี่คือ ความจริงเพราะน้ำที่ได้จากพระราชหฤทัยห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแท้ทีเดียว ทำให้ชาวบ้านมีน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรเพราะน้ำส่งเสริมการปลูกข้าว การทำเกษตรอื่นๆได้เป็นอย่างดี

       วันนี้ชาวบ้านต่างบอกว่าชีวิตดีขึ้น มีข้าวกินมีน้ำใช้ เป็นเพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างแท้จริง

 ทั้งชาวบ้านส่วนใหญ่ยังน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ โดยมีการปลูกพืชผักสวนครัวในพื้นที่ด้วย ไม่ใช่ทำนาอย่างเดียว ทำให้ไม่ต้องชื้อหาของกิน มีทั้งข้าวทั้งผัก อีกทั้งยังเลี้ยงไก่บ้างอีกด้วย

     จากสายตาผู้เขียนวันนี้ชาวบ้านโคกเป็ดต่างมีความพออยู่ พอกิน พอใช้ ด้วยเพราะเดินตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จากที่สังเกตเชื่อว่าชาวบ้าน ความสุขที่เรียกได้ว่าสุขธรรมดาและมากจริงๆ

      ด้วยเพราะเป็นผลจากการพัฒนาแหล่งน้ำโดยผ่านอ่างเก็บน้ำโคงยางอันเนื่องมาจากพระราชดำริและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจึงทำให้เกษตรกรหันกลับมาทำนาและเพิ่มผลผลิตจากพื้นที่ของตนเอง สร้างความมั่นคงเป็นหลักเป็นฐานรากของชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป

 

CR.ภาพและบทความจาก  ณพาภรณ์ ปรีเสม ,NUKPAN

เรียบเรียง : อาทิชา