ท่านครับ อย่างนี้ไม่ไหว!!ผู้ประกอบการเรือและชาวประมงกว่า500คนยืนหนังสือวอนรัฐช่วย หลังเดือดร้อนจากกฏหมายสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ-ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เมื่อเวลา 12.00 น.วันที่ 8 พฤษภาคม 2560 ที่หน้าศาลากลางจังหวัดชุมพร  ผู้ประกอบการเรือประมงและชาวประมงพื้นบ้านริมชายฝั่ง จาก 6 สมาคมประมง ประกอบด้วย  สมาคมปากตะโก  ด่านสวี  หลังสวน  ปากน้ำชุมพร  ร่วมใจ  และสมาคมอวนซั้งและเรือร่วม ประมาณ 500 คน  เดินทางเพื่อยื่นหนังสือ  จำนวน 2 เรื่อง  1.ความเดือดร้อนของชาวประมง  กรณีกฎหมายสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ว่าด้วยการนเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17 ) พ.ศ.2560  และ 2.ขอให้ช่วยผลักดันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องการขาดแคลนรงงานบนเรือประมง  ต่อมานายณรงค์  พลละเอียด  ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้มอบหมายให้  นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์  รองผู้ว่าราชการ เป็นตัวแทนรับหนังสือ  โดยมี นายประจินต์  ธานสิริสิน  ปลัดจังหวัดชุมพร  นายปนัย  หนูแก้ว  ผอ.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคจังหวัดพังงา    รอง ผอ.กอ.รมน.    ประมงจังหวัดชุมพร    แรงงานจังหวัดชุมพร  และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเข้ารับฟังปัญหาดังกล่าวจากชาวประมงด้วย

ท่านครับ อย่างนี้ไม่ไหว!!ผู้ประกอบการเรือและชาวประมงกว่า500คนยืนหนังสือวอนรัฐช่วย หลังเดือดร้อนจากกฏหมายสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ-ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

 หลังรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร  รับหนังสือร้องเรียนความเดือดร้อนของชาวประมง ที่หน้าศาลากลางจังหวัดชุมพร   ต่อมาได้เชิญตัวแทนชาวบ้าน จำนวน 20 คน เข้าประชุมที่ห้องเกาะลังจาจิว ชั้น 2  โดยได้แบ่งเป็น 2 เรื่องความเดือดร้อน 

        เรื่องแรกคือ  ความเดือดร้อนของชาวประมง  กรณีกฎหมายสิ่งล่วงล้ำลำน้ำฯ พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17 )พ.ศ.2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์  โดยได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย “หมวดว่าด้วยการล่วงล้ำแม่น้ำ” อาทิ การเพิ่มโทษจำคุก  เพิ่มค่าปรับ  ซึ่งกฎหมายดังกล่าว  มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมง  ผู้ประกอบการเรือประมงทุกขนาด  ที่มีความจำเป็นในการขนถ่ายสัตว์น้ำและกิจกรรมต่างๆบริเวณแพปลา  และท่าเทียบเรือประมง  ครอบครัวคนงานที่เป็นลูกจ้างทั้งคนไทยและต่างด้าว  รวมทั้งอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมง  อาทิ  รถขนส่งสินค้าประมงทั้งในและต่างประเทศ  นำเข้าและส่งออก  โรงงานปลาป่น   ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ เช่น  ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม  เรือท่องเที่ยวระหว่างเกาะ   ผู้ประกอบการฯต้องการเข้าสู่กระบวนการที่ถูกต้องทั้งหมด  แต่ติดขัดในนโยบายของรัฐ  จึงเป็นปัญหาให้ไม่สามารถนำเอกสารสิทธิ์ในที่ดินไปขออนุญาตจากกรมเจ้าท่า  ในเรื่องการก่อสร้างท่าเทียบเรือ / แพปลา  ที่ต้องใช้พื้นที่ลุกล้ำลำน้ำ  อีกทั้งกรมเจ้าท่า  ก็มิได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์หรือชี้แจงและบังคับใช้กฎหมายก่อนๆต่อผู้ประกอบการที่ได้ก่อสร้างท่าเรือ/แพปลาในสมัยนั้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ชาวประมงจังหวัดชุมพร  ขอให้พิจารณาทบทวน พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17 ) พ.ศ.2560 ตลอดจนหาแนวทางในการช่วยเหลือเยียวยา  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน  เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐได้ละเลยการบังคับใช้กฎหมายมานาน

ท่านครับ อย่างนี้ไม่ไหว!!ผู้ประกอบการเรือและชาวประมงกว่า500คนยืนหนังสือวอนรัฐช่วย หลังเดือดร้อนจากกฏหมายสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ-ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

เรื่องที่2ขอให้ช่วยผลักดันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องการขาดแคลนแรงงานบนเรือประมง   ทั้งนี้ผู้ประกอบการเรือประมงในจังหวัดชุมพรได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในกิจการประมงทะเลเป็นจำนวนมาก  เนื่องจากปัจจุบันกระทรวงแรงงานมีนโยบายไม่เปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวอีกและไม่สามารถนำแรงานMOUเข้าสู่ภาคประมงทะเลได้อีกทั้งภาคประมงทะเลไม่มีแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมายแม้แต่ได้มีการทำหนังสือขอไปยังภาครัฐเพื่อจัดหาแรงงานไทยมาทำงานในเรือประมงรัฐก็ไม่สามารถดำเนินการให้ได้ทำให้พี่น้องชาวประมงทั้งประเทศขาดแคลนแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวเรือประมงมาสามารถออกทำการประมงได้ซึ่งต้องผ่านการแจ้งเรือเข้า-ออก (PIPO)ที่มีกฎระเบียบมากมายเรือประมงจึงมีความจำเป็นต้องจดเป็นจำนวนมากโดยที่ผ่านมาทางผู้ประกอบการได้แจ้งผ่านสมาคมประมงท้องถิ่นเกี่ยวกับจำนวนการขาดแคลนแรงงานและมีความต้องการแรงงานเพื่อทำงานในเรือประมง ไปยังสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยด้วยแล้ว

              ท่านครับ อย่างนี้ไม่ไหว!!ผู้ประกอบการเรือและชาวประมงกว่า500คนยืนหนังสือวอนรัฐช่วย หลังเดือดร้อนจากกฏหมายสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ-ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ทั้งนี้เพื่อให้รับผลักดันในการแก้ปัญหา 2 ข้อดังนี้   1.ขอให้จัดตั้งศูนย์ one stop service บริเวณชายแดน  เพื่อเป็นจุดรับ-ส่ง  แรงงานต่างด้าว   เพื่อให้มีการดำเนินการที่สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการจัดทำทะเบียนแรงงานต่างด้าว  ลดปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ลดค่าใช้จ่ายแก้ปัญหาด้านความมั่นคงของชาติ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนปัญหาเรื่องโรคติดต่อที่มาจากแรงงานต่างด้าว   2.เร่งรัดขอให้รัฐใช้มาตรา 83 แห่งประราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ให้อธิบดีกรมประมงใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการออกหนังสือคนประจำเรือ (seabook) แบบเบ็ดเสร็จเพื่อให้ได้ใช้แรงงานประมงที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการใช้วิธีการของกฎหมายแบบเบ็ดเสร็จเพื่อให้กรมประมงดำเนินการจดทะเบียน  ออกใบอนุญาตทำงานเพื่อทำงานในเรือประมง  เพื่อให้ชาวประมงสามารถนำแรงงานต่างด้าวมาขอออกหนังสือคนประจำเรือ(seabook)ได้  และเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงในระยะสั้นระหว่างรอแรงงานMOU  การประชุมหารือและรับเรื่องดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงแยกย้ายกันกลับโดยยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว  จึงได้เพียงรับเรื่องยื่นต่อไปยังรัฐบาลเพื่อแนวทางในการช่วยเหลือเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนต่อไป

     ท่านครับ อย่างนี้ไม่ไหว!!ผู้ประกอบการเรือและชาวประมงกว่า500คนยืนหนังสือวอนรัฐช่วย หลังเดือดร้อนจากกฏหมายสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ-ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ภาพ/ข่าว พงศกร นวนละมัย     ผู้สื่อข่าวภูมิภาค   สำนักข่าวทีนิวส์   จ.ชุมพร