ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ครบุรี – วันที่ 20 ต.ค.60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา โดยนายอมรวัฒน์ โสบกระโทก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ นำคณะเจ้าหน้าที่ออกทำการสำรวจแหล่งผืนป่าต้นน้ำภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าครบุรี ซึ่งถือเป็นแหล่งต้นน้ำของเขื่อนลำแชะและเขื่อนลำมูลบน และเป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำมูล ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญของประเทศไทย  โดยพบว่าในช่วงนี้ซึ่งเป็นช่วงท้ายฤดูฝนและเริ่มที่จะเข้าสู่หน้าหนาว สภาพผืนป่าเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์และยังคงมีความชุ่มฉ่ำจากฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องอยู่ในช่วงนี้

เคยเห็นกันไหม..!? สุดทึ่ง พบพืชหาดูยาก ใครจะรู้ว่าพืชชนิดนี้ มีอยู่ในป่าต้นน้ำมูล เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ ของระบบนิเวศน์!!! (คลิป)

 

และด้วยสภาพผืนป่าที่ชุ่มชื้น ทางคณะสำรวจได้มีโอกาสพบเห็นพืชนานาพันธุ์และยากที่จะพบเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะพืชที่มีลักษณะแปลกตา อาศัยอยู่ใต้โคนต้นตะเคียนขนาดใหญ่  ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ความสูงประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร สีเหลืองอ่อนๆ มองดูคล้ายเห็ด แต่มีรูปร่างคล้ายไมโครโฟน บางต้นที่คล้ายจะเติบโตเต็มที่แล้วกลายเป็นช่อดอกคล้ายช่อดอกกล้วยไม้ หรือช่อดอกขนุน ซึ่งทีมงานกว่า 10 ชีวิต ไม่มีใครรู้จักหรือเคยพบเห็นพืชชนิดนี้มาก่อน จึงเชื่อได้ว่าพืชชนิดนี้น่าจะเป็นพืชหายากที่บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ในผืนป่าแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี

เคยเห็นกันไหม..!? สุดทึ่ง พบพืชหาดูยาก ใครจะรู้ว่าพืชชนิดนี้ มีอยู่ในป่าต้นน้ำมูล เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ ของระบบนิเวศน์!!! (คลิป)

ผู้สื่อข่าวได้บันทึกภาพของพืชชนิดดังกล่าวเก็บออกมา และสอบถามข้อมูลไปยัง ดร.สันติ วัฒฐานะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จนทราบข้อมูลว่า พืชที่ทีมงานได้พบนั้นเป็น ต้นกากหมาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Balanophora latisepala (บาลาโนโฟร่า ลาติเซฟาล่า) อยู่ในสกุล Balanophora (บาลาโนโฟร่า) และอยู่ในวงศ์ Balanophoraceae (บาลาโนโฟร่าซีอี้) ซึ่งพืชในสกุลนี้จะมีอยู่ 120 ชนิดทั่วโลก กระจายอยู่ตามป่าในเขตร้อนชื้น ในประเทศไทยพบพืชสกุลนี้ 5 ชนิด อีกชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ตามป่าทั่วไปในประเทศไทย คือ Balanophora fungosa (บาลาโนโฟร่า ฟังโกซ่า) ซึ่งมีชื่อไทยว่า ขนุนดิน กกหมากพาสี ดอกกฤษณารากไม้ ว่านดอกดอน เห็ดหิน และโหราเท้าสุนัข เป็นต้น โดยที่ชนิดหลังต่างกับต้นกากหมากตรงที่มีช่อดอกเพศเมียที่ค่อนข้างกลม และเมื่อช่อดอกยังอ่อนจะมีสีน้ำตาลแดง

เคยเห็นกันไหม..!? สุดทึ่ง พบพืชหาดูยาก ใครจะรู้ว่าพืชชนิดนี้ มีอยู่ในป่าต้นน้ำมูล เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ ของระบบนิเวศน์!!! (คลิป)

กากหมากเป็นพืชที่พบทั่วประเทศ ในป่าหลายประเภท ตั้งแต่ความสูงระดับน้ำทะเล จนถึง 1600 เมตร บางครั้งก็พบในสวนสาธารณะ ตามวัด ออกดอกช่วงเดือน กันยายน ถึง เดือนตุลาคม

เคยเห็นกันไหม..!? สุดทึ่ง พบพืชหาดูยาก ใครจะรู้ว่าพืชชนิดนี้ มีอยู่ในป่าต้นน้ำมูล เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ ของระบบนิเวศน์!!! (คลิป)

กากหมากเป็นพืชกาฝาก เป็นรูปแบบการดำรงชีวิตแบบหนึ่งในระบบนิเวศ ซึ่งต้นกากหมากจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว โดยที่ต้นไม้ผู้ถูกอาศัยจะเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ เพราะถูกแย่งอาหาร อย่างไรก็ตามเกสรของดอกกากหมาก เป็นอาหารของผึ้ง มันจึงผลิตเกสรจำนวนมาก เพื่อให้ผึ้งหรือแมลงชนิดอื่นๆ ช่วยผสมเกสรให้กับมัน เพื่อที่จะสร้างเมล็ด อันเป็นหน่อพันธุ์เพื่อการสืบต่อเผ่าพันธุ์ของมันต่อไป

เคยเห็นกันไหม..!? สุดทึ่ง พบพืชหาดูยาก ใครจะรู้ว่าพืชชนิดนี้ มีอยู่ในป่าต้นน้ำมูล เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ ของระบบนิเวศน์!!! (คลิป)

 

ในด้านคุณค่าโดยตรงของกากหมากต่อมนุษย์ ยังไม่ค่อยมีการศึกษาเท่าใดนัก แต่มีข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืชสกุลนี้ โดยเฉพาะต้นขนุนดิน (Balanophora fungosa) ทางด้านสมุนไพร ซึ่งภูมิปัญญาไทย ใช้ต้นขนุนดินรักษาโรคผิวหนัง มะเร็ง และโรคหืด แต่ยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ส่วนตำรายาจีนใช้พืช Balanophora harlandii ช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดี และรักษาอาการบอบช้ำ ส่วนในเกาะชวา คนพื้นเมืองใช้ส่วนของแว็กที่สะสมในต้นของพืชสกุลนี้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับคบเพลิง เป็นต้น

เคยเห็นกันไหม..!? สุดทึ่ง พบพืชหาดูยาก ใครจะรู้ว่าพืชชนิดนี้ มีอยู่ในป่าต้นน้ำมูล เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ ของระบบนิเวศน์!!! (คลิป)

ภาพ / ข่าว ปุญญพัฒน์ ลัดครบุรี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.นครราชสีมา