สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

     เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านเลขที่ 55 บ้านวังศิลา  หมู่ที่ 9 ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นบ้านของ นายทองอาน จารุวันโน อายุ 60 ปี และนางสายสมร จารุวันโน อายุ 68 ปี สองสามีภรรยา คู่ทุกข์ คู่ยาก ซึ่งมีอาชีพ ทำไร่-ทำนา อยู่ที่บ้านเกิด เมืองนอน และมีที่นาประมาณ 5 ไร่  ได้จัดสรรปันส่วน ที่นาออก สำหรับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ แบบผสมผสาน อย่างเช่น ขุดบ่อเลี้ยงปลา ทำนาข้าวหอมมะลิ ปลอดสารเคมี ปลอดสารพิษ เลี้ยงเป็ด ไก่ หมู และวัว

     มีอีกอย่างที่น่าสนใจคือ การเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์  “ปลาไหล” ถือว่าเป็นสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีความต้องการในตลาดที่สูง เนื่องจากปลาไหลที่มีอยู่ท้องตลาดเป็นปลาไหลที่หาได้ตามธรรมชาติ เวลานี้ธรรมชาติได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้จำนวนปลาไหลในธรรมชาติก็ลดน้อยลงไปด้วย เป็นผลให้ราคาปลาไหลสูงตามไปด้วย

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

     ซึ่งการเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ มีเทคนิคไม่ยาก เริ่มต้นที่ทำบ่อซีเมนต์ สูงประมาณ1 เมตร ขนาดความ กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร จากนั้นนำโคลนจากท้องนามาใส่ สูงจากพื้นประมาณ 20 ซม.จากนั้น เปิดน้ำเข้า ให้สูงจากโคลน และดินที่นำมาใส่ 15-20 ซม. และนำต้นกล้วยมาหั่นใส่เพื่อปรับสภาพน้ำและดิน นำผักตบชวา จอกแหน มาใส่ เพื่อให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขั้นตอนสุดท้ายนำปลาไหลมาปล่อยลงในบ่อซีเมนต์ ซึ่งปลาไหลที่นำมาปล่อย เป็นปลาที่ได้มาจากทุ่งนา ตามธรรมชาติที่หาได้ และรับซื้อจากชาวบ้านอีกทีหนึ่ง ซึ่งการเลี้ยงแบบนี้สามารถที่จะเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์และเลี้ยงเพื่อขายเนื้อได้และเป็นวิธีที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดในปัจจุบัน

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

     นายทองอาน จารุวันโน  กล่าวว่า ได้คิดวิธีการเพิ่มมูลค่าปลาไหล ที่ชาวบ้านไปดักมาขาย ส่วนมากจะตัวเล็กๆ จึงหาวิธีว่าทำอย่างไรให้ปลาไหลตัวใหญ่ขึ้น และอยากให้ปลาไหลเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงได้เลี้ยงดูอย่างดีเสมือนในธรรมชาติ โดยอาหารที่ให้ก็จะมีหอยเชอรี่และหอยขมที่หาได้ตามท้องนาทั่วไป แล้วนำมาทุบให้ละเอียด  และให้อาหารปลา เสริมอีกทุกๆวัน ซึ่งผลผลิตออกมา เป็นที่น่าพอใจ เลี้ยงปลาไหล ไว้ในบ่อใช้เวลาเพียง 1-2 เดือน ปรากฏว่า ปลาไหล 3-4 ตัว หนักประมาณ 1 กิโลกรัม โดยขายกิโลกรัมละ150-200บาท เลี้ยง1บ่อ ได้ขายอยู่ที่ 30-40 กิโลกรัม และได้เลี้ยงปลานิล ปลาดุก ปลาตะเพียน ในสระใหญ่หลังบ้านเพื่อเพิ่มรายได้อีกทาง

     สังเกตได้ว่าปลาไหลที่เลี้ยง ในบ่อซีเมนต์ เลียนแบบธรรมชาติ มีการเจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนการขายพันธุ์ อย่างรวดเร็ว จากการที่เลี้ยงเหมือนธรรมชาติจริงๆ เพราะปลาไหลได้ผสมพันธุ์แล้วออกลูกเพิ่ม หากท่านใครสนใจเลี้ยงตนก็ยินดี ให้คำปรึกษาตลอดเวลา ด้วยการไปหาได้ที่บ้าน

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

สุดเจ๋ง!! สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ไอเดียดีนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการเลี้ยง "ปลาไหล" ใครสนใจสอบถามได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

 


ภาพ ซิน กิเลน ทีมข่าวสุรินทร์นิวส์

เรียบเรียง ธนินท์ทัศน์ ภูแก้ว ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักข่าวทีนิวส์ จ.สุรินทร์