ขยะรีไซเคิล สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนสร้างงานสร้างเงิน

วันนี้( 4 ก.พ.61)ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสุรินทร์  ลงพื้นที่ ธนาคารขยะรีไซเคิล บ้านตากแดด-โพธิ์คู่. ตำบลตากูก อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ชุมชนได้มีการจัดตั้งธนาคารขยะเปิดรับซื้อขยะรีไซเคิล จากสมาชิกฯ โดยรับซื้อขยะในห้วงวันเสาร์แรกของทุกเดือน มีชาวบ้านสมาชิกในชุมชนต่างนำขยะชนิดต่างๆ เข้ามาขายในจุดรับซื้อที่อยู่ใจกลางชุมชนเป็นจำนวนมาก  โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำจุดรับซื้อแบ่งหน้าที่ทั้งผ่ายการเงิน  ฝ่ายรับซื้อ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวบ้านที่ได้นำขยะมาขายดังกล่าว

 

  นางคำพูน  จันทร์สุพัฒน์  อายุ 47 ปี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตากูก เล่าว่า บ้านตากแดด -โพธิ์คู่ ต.ตากูก ได้จัดนำร่องเขวาสินรินทร์ คลีนซิตี้ ตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกขยะต้นทาง เป็นขยะอินทรีย์  ขยะรีไซเคิล  ขยะที่เป็นอันตราย  ส่วนขยะรีไซเคิลก็จะมีการจัดตั้งธนาคารขยะ โดยรับสมัครสมาชิก มีการเลือกคณะกรรมการดำเนินการ และมีระเบียบของธนาคารขยะ วันนี้เป็นวันแรกของการรับซื้อขยะ  เพื่อให้สมาชิกได้นำขยะที่รวบรวมไว้  แยกไว้ในครัวเรือนเอามาขาย จะไม่ได้ให้เป็นเงิน แต่จะมีสมุดบัญชีให้ไว้เป็นเงินออม  โดยมีระเบียบการใช้จ่ายอยู่ ต้องมีเงินไม่น้อยกว่า 200 บาทถึงจะเบิกได้

ขยะรีไซเคิล

เอาของเก่ามาขาย

 นายประสพ  พริ้งเพราะ  อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 7 หมู่ 10 บ้านโพธิ์คู่ ต.ตากูก อ.เขวาสินรินทร์  จ.สุรินทร์ ชาวบ้านที่นำขยะมาขาย เล่าว่า ขยะส่วนมากทำนำมาขายจะเป็นขวดพลาสติก  กระดาษ  ขวดน้ำ  ขวดแก้ว   ราคาเปรียบเทียบกับชาวบ้านที่ขายในร้านรับซื้อ จะราคาพอๆกันกับที่ธนาคารรีไซเคิลของบ้านเรา  และชาวยบ้านสะดวกในการนำมาขายกว่า ที่จะต้องไปขายตามร้านรับซื้อของเก่า  เป็นครั้งแรกที่ธนาคารรีไซเคิลของหมู่บ้านรับซื้อขยะ  ชาวบ้านต่างกระตือรีอร้นนำขยะมาขายเป็นจำนวนมาก  โดยเฉลี่ยแล้วชาวบ้านขายขยะ ได้ 50-60 บาทต่อครัวเรือนในแต่ละครั้ง  จะเป็นเงินออมในสมุดบัญชี และเบิกจ่ายได้ตามระเบียบเมื่อมีเงินสะสม 200 บาทขึ้นไป   โครงการดังกล่าวนั้นเป็นผลดีกับชุมชนอย่างมาก ซึ่งอย่างน้อยขยะในชุมชนจะได้หมดไป เพราะทุกหลังคาเรือนมีการเก็บขยะและชาวบ้านก็มีเงินออมมากขึ้น

ชาวบ้านเอาขยะมาขาย ขายของเก่า

ซึ่งโครงการธนาคารรีไซเคิลในยุค 4.0 ของชาวบ้านตากแดด-โพธิ์คู่นั้น นับว่าเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและเป็นชุมชนนำร่องที่จะขยายผลสู่ชุมชนอื่นในละแวกข้างเคียง ทำให้ชาวบ้านได้มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน และลดปริมาณขยะในชุมชน สามารถนำขยะมาขายเป็นรายได้เพื่อเก็บออม ต่อไปได้อีกทั้งยังปลุกจิตสำนึกของคนในชุมชนให้มีความตระหนักในการรักษาความสะอาด แล้วสามารถนำสิ่งของ ขยะที่ไม่ใช้แล้ว แยกไว้เพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้ชุมชนอีกด้วย  สนใจกิจกรรมของธนาคารขยะรีไซเคิล สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นางคำพูน  จันทร์สุพัฒน์ 081-8776067

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-เทศบาลเมืองเขารูปช้าง จัดกิจรรม ซอดาเก๊าะ วากัฟ ยารีญะฮ ขยะรีไซเคิล ส่งเสริมการลดปริมาณขยะ และช่วยเหลือสังคม (มีคลิป)

-เจ้าหน้าที่ทหารกองพล.11 อบต. อุตสาหกรรม เดินหน้าสั่งปิดโรงงานคัดแยกขยะรีไซเคิล ลักลอบเปิดกิจการมานานกว่า 5 ปี โดยไม่ขออนุญาต

 

 

ภาพ/ข่าว เสน เหลี่ยมดี ทีมข่าวสุรินทร์นิวส์

เรียบเรียง ธนินท์ทัศน์ ภูแก้ว ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักข่าวทีนิวส์ จ.สุรินทร์

ขยะชั่งกิโลขาย

รับซื้อขยะ