27 เมษายนของทุกปี "วันสมเสร็จโลก"

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.Tnews.co.th

สมเสร็จ หรือ ผสมเสร็จ หรือภาษาอังกฤษ Tapir เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินพืชขนาดใหญ่ เป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง ลำตัวคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด อาศัยในป่าทึบในแถบอเมริกาใต้, อเมริกากลาง, และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งหมดสี่ชนิด คือ สมเสร็จอเมริกาใต้, สมเสร็จมลายู, สมเสร็จอเมริกากลาง และสมเสร็จภูเขา ทั้งสี่ชนิดถูกจัดสถานะเป็นใกล้สูญพันธุ์หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สมเสร็จเป็นญาติใกล้ชิดกับสัตว์กีบคี่อื่น ได้แก่ ม้า และแรด

 

บรรพบุรุษ ของสมเสร็จมีต้นกำเนิดอยู่ในแถบซีกโลกเหนือในยุค Miocene มีวิวัฒนาการมาประมาณ 20 ล้านปี ลักษณะของต้นตระกูลสมเสร็จมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก พบว่าลักษณะของสมเสร็จนั้นคล้ายกับสมเสร็จในเอเชียในปัจจุบัน

 

สปีชีส์

สมเสร็จ ได้ถูกจัดให้อยู่วงศ์  Tapiridae ซึ่งเป็นตระกูลใหญ่และมีเพียงสกุลเดียวคือ Tapirus แต่ก็สามารถแบ่งออกมาได้ทั้งสิ้น 4 ชนิด คือ

 

สมเสร็จอเมริกากลาง (Tapirus bairdii)
สมเสร็จมลายู, สมเสร็จเอเชีย (Tapirus indicus)
สมเสร็จภูเขา (Tapirus pinchaque)
สมเสร็จอเมริกาใต้, สมเสร็จป่าต่ำ (Tapirus terrestris)

 

ลักษณะ

รูปร่างของสมเสร็จ คล้ายกับนำเอาลักษณะของสัตว์หลายๆ ชนิดมาผสมไว้ในตัว เดียวกัน มีจมูกและริมฝีปากบนยื่นออกมาและยืดหดได้ ลักษณะคล้ายงวงช้างยาวประมาณ 20 เซนติเมตร แต่ใช้ปลายงวงจับฉวยสิ่งของไม่ได้อย่างงวงช้าง ลำตัวอ้วนใหญ่ ตาเล็กและ ใบหูตั้งรูปไข่คล้ายกับหมู หางสั้นจู๋คล้ายหางหมี ขาสั้นใหญ่เทอะทะ และมีกีบนิ้วแบนใหญ่คล้าย แรด ทำให้ได้ชื่อเรียกว่า “ผสมเสร็จหรือสมเสร็จ”

 

นอก จากนี้ส่วนหลังของสมเสร็จจะโก่งนูน ช่วงบั้นท้ายสูงกว่าท่อนหัวประมาณ 10 เซนติเมตร มองดูลักษณะคล้ายสัตว์พิการหลังค่อม ขนตามตัวสั้นเกรียน สีขนตั้งแต่บริเวณรักแร้ไปตลอดท่อนหัวสีดำ ช่วงกลางลำตัวไปถึง บั้นท้าย และเหนือโคนขาหลังสีขาวปลอด ถัดจากโคนขาหลังลงไป ตลอดถึงปลายเท้าสีดำ อย่างท่อนหัว ดูลักษณะคล้ายนุ่งกางเกงในรัดรูปสีขาว

 

ลูก สมเสร็จแรกเกิดสีขนดำทั้งตัว แต่มีริ้วลายสีขาวทั้งตัวคล้ายลายลูกแตงไทย เมื่อโตขึ้นลายและสีขนเปลี่ยนเป็นแบบตัวโต เต็มวัยเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป สมเสร็จเป็นสัตว์กีบคี่เช่นเดียวกับแรดและกระซู่ แต่ไม่มีนอ หรือเขาบนจมูก หนังตามตัว ไม่หนาเป็นรอยพับย่นอย่างแรดและกระซู่ มีแต่แผ่นหนังแข็งหนาบริเวณก้านคอ ทำให้สมเสร็จมุดป่ารกทึบได้ดี และยังช่วยป้องกันอันตรายจากเสือโคร่ง ที่ชอบตะปบกัด ที่ก้านคอของเหยื่อจนคอหักตาย

 

 เท้า หลังของสมเสร็จมีกีบนิ้ว 3 กีบคล้ายแรด เหมาะสำหรับรองรับน้ำหนักตัวของ ช่วงบั้นท้าย ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าท่อนหัว ส่วนเท้าหน้ามีกีบนิ้ว 4 กีบ ลักษณะกีบนิ้วของสมเสร็จ ค่อนข้างแหลมและนิ้วแยกจากกัน ส่วนกีบนิ้วของแรดจะมนป้านกว่าและติดกัน จะแยกกันเฉพาะปลายกีบนิ้ว ลักษณะรอยเท้าของสมเสร็จจึงแตกต่างจากรอยเท้าแรด โดยพิจารณาได้จากรอยระหว่างร่องกีบนิ้ว แต่ละกีบหยักลึกกว่าปกติจะเห็นรอยเท้าหน้ามี 4 กีบ รอยเท้าหลังมี 3 กีบ ปลายกีบแต่ละกีบค่อนข้างยาวแหลม แต่ถ้าเป็นรอยเท้าตามพื้นดินแข็งๆ อาจไม่เห็นรอยกีบนิ้วที่ 4 ของเท้าหน้า เนื่องจากมีขนาดเล็กและแยกยกสูงกว่ากีบนิ้วที่เหลือ

 

สมเสร็จไทยหรือ สมเสร็จเอเซีย มีขนาดใหญ่กว่าสมเสร็จพันธุ์อเมริกา และโดยเฉลี่ย แล้ว ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ขนาดตัวประมาณ 2.2-2.4 เมตร ส่วนสูงที่ไหล่ประมาณ 1 เมตร หางยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 250-300 กิโลกรัม

 

27 เมษายนของทุกปี "วันสมเสร็จโลก"

อุปนิสัย

   นิสัยทั่วไปของสมเสร็จคล้ายกับแรด ชอบใช้ชีวิตสันโดษตามลำพัง อาศัยอยู่ตามป่าดิบ รกทึบ และเย็นชื้นไม่ชอบอากาศร้อน จึงมักอาศัยอยู่ใกล้ ๆ แหล่งน้ำ ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง เชื่อว่า สมเสร็จสามารถกบดานและเดินไปตามพื้นใต้น้ำได้ คล้ายกับฮิปโปโปเตมัสของแอฟริกา แต่ไม่ชอบนอนแช่ปลักโคลนอย่างแรด อีกทั้งมักถ่ายมูลรวมๆ ไว้เป็นที่เป็นทาง

 

   การ ดำรงชีวิตใช้จมูกดมกลิ่นและใช้หูฟังเสียง มากกว่าจะใช้ตามองดู เนื่องจากตามีขนาดเล็ก และอยู่ด้านข้างของหัว สายตาของสมเสร็จจึงไม่ดี มองเห็นภาพได้ไม่ไกลนัก ปกติออกหากินตอนกลางคืน มักไม่ค่อยชอบเดินหากินตามทางด่านสัตว์เก่าๆ แต่จะชอบเลือก หาทางใหม่ โดยการก้มหัวลงต่ำใช้จมูกที่เป็นงวงดมกลิ่นนำทาง และใช้หนังคอที่ด้าน แข็ง ดันมุดเปิดทาง เที่ยวเดินซอกแซกหาแทะเล็มใบไม้ หน่อไม้ และลูกไม้ที่หล่นตามพื้นป่ากิน อย่างเงียบๆ แต่เมื่อถูกรบกวนหรือตื่นตกใจจึงจะร้องเสียงแหลมเบาๆ คล้ายเสียงเด็กเล็ก แล้ววิ่งมุดรกหาทางหนีกลับแหล่งน้ำใกล้ที่สุดอย่างรวดเร็ว สามารถหลบหนีศัตรูลงน้ำ แล้วกบดาน อยู่ใต้น้ำได้เป็นเวลานานๆ จนพ้นภัยจึงจะโผล่ขึ้นมา

 

การสืบพันธุ์

   ฤดูจับคู่ผสมพันธุ์ของสมเสร็จอยู่ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ผสมพันธุ์กันในน้ำ ระยะตั้งท้องนาน 390 – 395 วัน ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวประมาณ 6 – 7 กิโลกรัม ลักษณะมีลายพร้อยเป็นลูกแตงไทยทั้งตัว แม่จะเฝ้าเลี้ยงดูลูกจนอายุประมาณ 6 – 8 เดือน ขนาดของลูกจะโตเกือบเท่าแม่ ลายแตงไทยตามตัวจางหายไป เปลี่ยนเป็นสีดำสลับขาวอย่างพ่อแม่ จะย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้อายุประมาณ 2 – 3 ปีขึ้นไป ตัวเมียมักจะมีการผสมพันธุ์และตั้งท้องได้ทุก 2 ปี อายุยืนประมาณ 30 ปี

 

ที่อยู่อาศัย

   สมเสร็จชอบอยู่เฉพาะในป่าที่ร่มครึ้ม ใกล้ห้วยหรือลำธาร

   ในประเทศไทยมีพบ แหล่งที่อยู่อาศัยของสมเสร็จแถบภาคตะวันตก บริเวณเทือกเขาตะนาวศรีในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งถือได้ว่าเป็นเขตการกระจายพันธุ์สูง และเหนือสุดของสมเสร็จถัดใต้ลงมาพบถิ่นอาศัยของสมเสร็จในแถบเทือกเขาถนนธง ชัยและป่าดิบชื้นภาคใต้ทั่วๆ ไปจดประเทศมาเลเซีย

 

27 เมษายนของทุกปี "วันสมเสร็จโลก"

พฤติกรรมและความผูกพันกับมนุษย์

สมเสร็จ ทั้งหมดมีพฤติกรรมและความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน โดยเป็นสัตว์ที่หากินตามลำพังหรือเป็นคู่ในป่าดิบชื้น ที่มีความชุ่มชื้นหรือใกล้แหล่งน้ำ โดยจะใช้จมูกที่ยาวเหมือนงวงในการช่วยดมกลิ่นและดึงกิ่งไม้ในพุ่มไม้กินเป็นอาหาร ซึ่งสมเสร็จสามารถที่จะกินไม้ที่มีพิษบางชนิดได้ด้วย เป็นสัตว์ที่ชอบแช่น้ำหรือโคลน เมื่อยามพบกับศัตรูจะหนีลงไปในน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจแช่ลงไปทั้งตัวโผล่มาแค่งวงเพื่อหายใจก็ได้ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ลูกอ่อนที่เกิดมาใหม่จะมีลวดลายตามตัวเหมือนแตงไทย คล้ายลูกหมูป่า

 

สมเสร็จ เป็นสัตว์ที่มีระบบสายตาที่ไม่ดี แต่มีระบบประสาทรับฟังทางหูและดมกลิ่นดีเยี่ยม ปกติเป็นสัตว์ที่มีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว แต่เคยมีรายงานว่า สมเสร็จอเมริกากลางตัวหนึ่งในสวนสัตว์โจมตีด้วยกรามใส่ผู้ดูแลซึ่งเป็นผู้หญิง เมื่อปี ค.ศ. 1998 จนได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นพิการแขนขาด  สมเสร็จเป็นสัตว์ที่อ้างอิงถึงในวัฒนธรรมและความเชื่อของญี่ปุ่น ด้วยการเป็นปีศาจตนหนึ่งที่กินความฝัน หรือฝันร้ายของผู้คนในนอนหลับเมื่อยามค่ำคืน เรียกว่า "บะกุ" (ญี่ปุ่น: 獏, 貘) เป็นต้น

 

สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์

พวกพรานป่านิยมล่าสมเสร็จเพื่อเอาเนื้อและหนัง เพราะมีขนาดให้ เนื้อรสขาดดี คล้ายเนื้อหมู และนิสัยไม่ดุร้ายเป็นอันตราย จึงล่าได้ง่าย นอกจากนี้การบุกรุกทำลายป่าดิบชื้นของภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งที่อาศัยสำคัญและจำเป็นของสมเสร็จ เป็นผลให้ประชากรของสมเสร็จลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจนน่าวิตก

สถานภาพ

   ปัจจุบันสมเสร็จเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย (ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535) และอนุสัญญา CITES จัดสมเสร็จไว้ใน Appendix I และเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S. Endengered Species Act. จึงทำให้ได้มีการรณรงค์และให้วันที่ 27 เมษายนของทุกปี เป็นวันสมเสร็จโลก

 

27 เมษายนของทุกปี "วันสมเสร็จโลก"

 

 


ขอขอบคุณข้อมูล สวนสัตว์อุบลราชธานี , th.wikipedia.org