"สาร" จากคณบดี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ทำคนในงาน ครบรอบ 40 ปี 6 ต.ค59 สะดุ้ง กันเป็นแถว

"สาร" จากคณบดี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ทำคนในงาน ครบรอบ 40 ปี 6 ต.ค59 สะดุ้ง กันเป็นแถว

"การพบกันวันนี้ไม่อยู่ในสภาวะที่ไม่เป็นปกติ แต่เรายืนยันจะจัดงานรำลึก 6 ตุลา ทุกปี การจัดงานครั้งนี้เป็นวาระสำคัญ 40 ปีผ่านไป ความทรงจำเป็นปัญหาในตัวมันเอง เหตุการณ์หลายอย่างยังมีความคลุมเครือ เป็นปีแรกที่เพื่อนๆ ตัดสินใจทดสอบตรวจสอบว่าต้นมะขามที่สนามหลวงมีผู้เสียชีวิตกี่คน อาจจะ 4-5 คน เป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกปกปิด ประวัติศาสตร์ชุดนี้เป็นข้อเตือนใจ เหมือนการเดินทางของรถไฟ การเมืองไทยไม่ใช่รถไฟความเร็วสูง  การเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว เช่นนี้ไม่นำไปสู่การพัฒนาปชต.ของไทย แต่เป็นหลักประกันที่ดีสำหรับชนชั้นนำ ผู้นำทหาร และกลุ่มอนุรักษ์นิยม การเมืองไทยจะไม่พัฒนา ไม่ต่างกับรถไฟเกาะที่วิ่งวนในสวนสนุก เมื่อถึงจุกสูงสุดก็ต้องมีถึงจุดต่ำสุด การพัฒนาการเมืองไทยจะวิ่งทิ้งดิ่งกลับมาจุดต่ำสุด
เหตุการณ์ 40 ปี ต้องย้อนกลับไปสู่การเปลี่ยนผ่าน
ตั้งแต่ 24 มิ.ย.2475  การปฏิวัติเจอปัญหามากมาย เมื่อ ww2 จบลง รัฐประหาร 2490 ก็ตามมา กลุ่มทหารกลับมามีอำนาจในสังคมไทย การปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งแรกของสยาม มีอายุเพียง 15 ปี ไม่ต่างกับการปฏิวัติ ปชต. ครั้งที่ 2 เมื่อปี 16
รัฐประหารและการมีรัฐบาลทหาร มักจะกลายเป็นกฎมากกว่าข้อยกเว้น ชีวิตตนผ่านช่วง 3 จอมพล ปรากฏการณ์ของรถไฟที่เราเห็นในการเมืองไทยทั้งสองแบบ มีอาการไม่ต่างกัน เพราะจบด้วยการรัฐประหาร 40 ปี ของเหตุการณ์ 6 ตุลา จะต่างกับทุกครั้ง ใช้ความรุนแรงครั้งใหญ่จัดการกับผู้เห็นต่าง
ต้นมะขามมีไว้แขวนคอคนเห็นต่าง รัฐตัดสินใช้ความรุนแรงกับผู้เห็นต่าง
หวังว่าการฆ่าที่การสังหารหมู่นั้นไม่ได้ให้ผลตอบแทนอะไร เป็นครั้งแรกที่เริ่มเห็นลูกหลานชนชั่นกลางมาเข้าร่วมการชุมนุม เปลี่ยนจากจับปากกาเป็นจับอาวุธ
นโยบายการใช้ความรุนแรงของรัฐไม่ได้ให้ผลตอบแทนอย่างที่รัฐต้องการ
การขยายตัวของคอมฯ นำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา เราเห็นกระบวนการสร้างความเป็นข้าศึกภายในรัฐ
ชนชั้นนำ ผู้นำทหาร และชนชั้นอนุรักษ์นิยมไทย ใช้ชีวิตด้วยความกลัวจากเหตุการณ์ในอินโดจีน
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ขบวนการนักศึกษามีอุดมการณ์คตินิยม เสรีนิยม และสังคมนิยม มากขึ้น เป็นการผสมผสานของอุดมการณ์ 3 ส่วน"