ชาวบ้านภูเก็ต พบ "เป็ดหงส์" สัตว์หายากที่มีในไทยแค่ 10 ตัว

ชาวบ้านภูเก็ต พบ "เป็ดหงส์" สัตว์หายากที่มีในไทยแค่ 10 ตัว

ชาวบ้านไปทอดแหหาปลาบริเวณหาดกมลา พบเป็ดป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์อย่าง "เป็ดหงส์" ติดร่างแหขึ้นมาด้วย จึงนำมอบให้เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ เขาประแถว จ.ภูเก็ต ซึ่งในประเทศไทยพบเพียงแค่ 10 ตัวเท่านั้น

วันที่ 26 ต.ค.59 นายสุชล คงนาม เจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชเขาประแถว จังหวัดภูเก็ต พร้อมเจ้าหน้าที่ได้มารับเป็ดหงส์ เป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุจาก นายสำราญ อินทแก้ว ชาวบ้าน ม.6 บ.นาคา ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นผู้พบและจึงช่วยในขณะที่ติดร่างแหเก่าบนโขดหินบริเวณหาดกมลา

นายสำราญ เผยว่า เมื่อคืนวันที่ 24 ต.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่ตนออกไปทอดแหหาปลาบริเวณน้ำตื้นตามโขดหินบริเวณหาดกมลา ได้พบกับนกเป็ดหงส์ดังกล่าวดิ้นอยู่บนโขดหินเนื่องจากติดร่างแหเก่าพันรอบตัวอยู่ จึงได้เข้าไปช่วยแก้ออกจากร่างแหและนำกลับมาที่บ้านพบว่าเป็ดมีสภาพอ่อนแอมาก จึงได้นำใส่กรงไว้แล้วนำอาหารมาป้อน พบว่าเป็นมีอาการหิวมากและกินไปเยอะจนมีอาการแข็งแรงขึ้นตามลำดับ
หลังจากั้นจึงได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาพระแทวมารับไป เพื่อจะได้ทำการขยายพันธุ์หรือให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาต่อไป

สำหรับ "เป็ดหงส์" มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Comb duck ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarkidiornis melanotos มีขนาดกลางถึงใหญ่ ตัวผู้ (70-75 ซม.) ตัวเมีย (61-65 ซม.) ลักษณะเฉพาะ ปลายปีกมน ปีกทั้งด้านบนและด้านล่างสีดำ ปากสีดำ นิ้วสีเทา ตัวผู้บริเวณขากรรไกรบนมีหงอนรูปครึ่งวงกลม ข่วงฤดูผสมพันธุ์ หัวและคอเป็นสีขาว ด้านล่างลำตัวสีขาว ตัวเมียคล้ายตัวผู้แต่เล็กกว่า ท้ายทอยตอนล่างสีดำ ไม่มีหงอน อาศัยตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หากินตอนกลางคืนและผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน ทำรังในโพรงไม้ ไข่สีงาช้าง เป็นมัน ในหนึ่งรัง มีไข่ 7-12 ฟอง หรืออาจมีมากกว่า ตัวเมียตัวเดียวที่ฟักไข่ ตัวผู้คอยระวังภัยให้ ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 29-31 วัน
อาหารของเป็ดหงส์ก็คือกินข้าวเปลือกเมล็ดหญ้าลำต้นอ่อนของพืชน้ำและสัตว์น้ำต่างๆสัตว์ชนิดนี้อาศัยอยู่ในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา เมียนมา และแถบเอชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นสัตว์หายากในปี พ.ศ.2559 ประเทศไทยพบเพียงแค่ 10 ตัวเท่านั้น พบที่บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ เพียงตัวเดียว และล่าสุดพบที่ ต.กมลา ซึ่งคาดว่าจะพลัดหลงมาจากฝูง สำหรับตัวนี้คาดว่าจะอพยพมาแล้วหลงฝูง หรือร่างกายอาจจะไม่แข็งแรงทำให้บินกลับไม่ได้

ภาพโดย workpoint news

เรียงเรียงข่าว ภัทราพร วโรภาสพิมาน สำนักข่าวทีนิวส์