ถูกสร้างข่าวร้าย!?! “เฟซเครือข่ายธรรมกาย” ตัดพ้อ เราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ ...แถมเปรียบ “พระธัมมชโย” เหมือน “ยันตระ” พอฟังเหตุผลแล้วถึงกับ

เฟซบุ๊ก "เรารักวัดพระธรรมกาย" โพสต์ข้อความกรณีพระธัมมชโยตกเป็นผู้ต้องหา ในข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และรับของโจร คดียักยอกเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด รวมทั้งข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งช

เฟซบุ๊ก "เรารักวัดพระธรรมกาย" โพสต์ข้อความกรณีพระธัมมชโยตกเป็นผู้ต้องหา ในข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และรับของโจร คดียักยอกเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด รวมทั้งข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติที่ อ.ภูเรือ จ.เลย และ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา รวม 3 คดี โดยได้เปรียบเทียบกรณีนายวินัย ละอองสุวรรณ หรือพระยันตระ อมโรภิกขุ (พระวินัย อมโร)

 

เฟซบุ๊กดังกล่าวระบุว่า ก่อนตายดิฉันขอสารภาพความจริง เพื่อไถ่บาปว่าเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น พระยันตระ เมื่อปี พ.ศ.2536 มีข่าวครึกโครมพระยันตระ อมโร พระหนุ่มรูปงามแห่งเกริงกระเวีย มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับสีกาสาว นางจันทิมา มายะรังสี สื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ แย่งกันนำเสนอข่าวหลากรูปแบบ เพื่อกระตุ้นยอดขาย โดยไม่สนใจข้อมูลเท็จจริงแต่อย่างใด พฤติกรรมสามานย์สารพัดถูกนำมาใช้ ใส่ร้ายป้ายสีเพื่อให้ดูชั่ว ถึงขนาดส่งคนไปเผากุฏิไม้ที่ท่านอาศัยปฏิบัติธรรมบนยอดเขา เพื่อสร้างข่าวเอามาขาย แม้พระพุทธรูปทองเหลือง ยังต้องหลอมละลายเพราะความร้อน

 

รุ่งเช้าก็มีข่าวพาดหัวตัวไม้ใหญ่ยักษ์ "ฟ้าพิโรธ ลงโทษยันตระ" สื่อแบกะดินที่แทบไม่มีใครรู้จัก และอยู่ในภาวะใกล้ล้มละลายด้วย รุ่งเรืองเฟื่องฟูขึ้นมาทันทีเพราะจับทางคนได้ว่านิยมเสพข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี แต่สื่อยักษ์ใหญ่อย่างไทยรัฐ สมเป็นสื่ออันดับหนึ่งของเมืองไทย คือยึดหลักขายความจริงมากกว่า มุ่งยอดขายข่าวเท็จที่หวือหวา ได้ส่งนักข่าวเกรดเอเงินเดือนสูงไปบวชเป็นพระเพื่อสืบค้นความจริง ก่อนพระนักข่าวรูปนั้นจะลาสิกขา ได้กล่าวสารภาพความจริงต่อหน้าพระสงฆ์และญาติธรรมว่า "ผมเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถูกส่งมาบวชเพื่อมาเจาะหาความจริง ตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือนที่ได้ร่วมปฏิบัติธรรมกับหมู่คณะ ผมประจักษ์ชัดทั้งด้วยตัวเองและข้อมูล ขอสารภาพเปิดใจ ณ ที่ตรงนี้ต่อหน้าทุกท่านว่า ... "ผมเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ ของพระอาจารย์ยันตระ อมโร ครับ"

 

 เฟซบุ๊กดังกล่าวระบุหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปไม่นานนัก นางจันทิมา มายะรังสี ก็ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็ง แต่อนิจจาสื่อไทยที่จรรยาบรรณตายไปแล้ว ไม่มีสื่อใดลงข่าวคำสารภาพของนางจันทิมา มายะรังสี ก่อนเสียชีวิตเลย วัดพระธรรมกายก็เช่นเดียวกัน ทั้งในอดีตที่ผ่านมาและในอนาคต จะถูกสร้างข่าวร้ายจากสื่อที่ขายข่าว และพวกที่ต้องการทำลายศาสนา จนกว่าจะไม่มีวัดพระธรรมกายอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอีกต่อไป

 

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน  เรือโทสมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และนายชาติพงษ์ จีระพันธุ รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ แถลงข่าวคดีที่นายธรรมนูญ อัตโชติ กับพวกรวม 49 คน กล่าวหา นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น พระเทพญาณมหามุนี หรือ นายไชยบูลย์ สุทธิผล หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย น.ส.ศรัณยา มานหมัด นางทองพิน กันล้อม และนางศศิธร โชคประสิทธิ์ ผู้ต้องหาที่ 1-5 คดีร่วมกันฟอกเงิน

        

พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นำสำนวนการสอบสวนและเอกสารหลักฐาน 32 แฟ้ม 10,672 หน้า พร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้อง นายศุภชัย ผู้ต้องหาที่ 1 น.ส.ศรัณยา ผู้ต้องหาที่ 3 และนางทองพิน ผู้ต้องหาที่ 4 ในข้อหาร่วมกันสมคบการฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงิน และสมควรสั่งฟ้องพระธัมมชโย ผู้ต้องหาที่ 2 กับนางศศิธร ผู้ต้องหาที่ 5 ฐานสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร มาส่งให้นายภาณุพงษ์ โชติสิน อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ

        

พนักงานสอบสวนดีเอสไอ แจ้งว่านายศุภชัย ผู้ต้องหาที่ 1 ถูกควบคุมตามคำสั่งศาลในคดีแดงที่ อ. 706/2559 ส่วนน.ส.ศรัณยา และนางทองพิน ผู้ต้องหาที่ 3-4 วันนี้เดินทางมาพบพนักงานอัยการและได้ปล่อยตัวไป โดยนัดมาฟังการสั่งคดี ในวันที่ 13 กรกฎาคม นี้ เวลา 10.00 น. ส่วนพระธัมมชโย และนางศศิธร ผู้ต้องหาที่ 2 และ 5 ถูกศาลอาญาออกหมายจับ พนักงานสอบสวนอ้างว่า เชื่อว่าคงได้ตัวมา จึงไม่ได้นำตัวมาพร้อมกับสำนวนและความเห็นสมควรฟ้องในวันนี้ เบื้องต้นพนักงานอัยการรับสำนวนไว้และนัดฟังคำสั่งในวันเดียวกัน

        

เรื่องนี้ ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุด ทราบถึงการส่งสำนวนคดีแล้ว มอบหมายให้ นายภาณุพงษ์ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ เร่งดำเนินการ กำชับให้พนักงานอัยการทำงานโดยเร็ว โปร่งใส และให้ความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยยึดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเป็นสำคัญ เรือโทสมนึก กล่าวและว่า คดีนี้อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ มีคำสั่งตั้ง นายชาติพงษ์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน มีนายนภดล บุญศร อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4 และพนักงานอัยการอีก 3 คนเป็นคณะทำงานรวม 5 คน

ถูกสร้างข่าวร้าย!?! “เฟซเครือข่ายธรรมกาย” ตัดพ้อ เราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ ...แถมเปรียบ “พระธัมมชโย” เหมือน “ยันตระ” พอฟังเหตุผลแล้วถึงกับ

สำหรับ พระยันตระ อมโรภิกขุ หรือ วินัย ละอองสุวรรณ  อดีตภิกษุชื่อดังที่มีผู้เคารพศรัทธามากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศในช่วงหนึ่ง ก่อนจะถูกฟ้องคดีกล่าวหาว่าต้องปาราชิกาธิกรณ์และถูกมติมหาเถรสมาคมลงให้พ้นจากภาวะพระภิกษุ และหลบหนีออกนอกประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2537 ไปอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาในสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2537 เขาได้ถูกฟ้องร้องหลายข้อหาและถูกตั้งอธิกรณ์ว่าล่วงละเมิดเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ อันเป็นหนึ่งในจตุตถปาราชิกาบัติที่ทำให้ขาดจากความเป็นพระภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ โดยมีการต่อสู้ด้วยพยานหลักฐานมากมายตามสื่อต่าง ๆ เป็นข่าวโด่งดังในสมัยนั้น

 

สีกากลุ่มหนึ่งยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อสมเด็จพระสังฆราชฯ และอธิบดีกรมการศาสนาว่า นายวินัย ละอองสุวรรณ เดินทางไปเทศนาที่ทวีปยุโรป ระหว่างลงเรือเดินสมุทรไม่สำรวมและมีความไม่เหมาะสมกับสมณเพศต่อสุภาพสตรี

 

มีเทปบันทึกการสนทนากับนางจันทิมา มายะรังษี หนึ่งในสีกาที่ร้องเรียนว่า นายวินัยล่อลวงเสพเมถุน, มีเอกสารของหม่อมดุษฎี บริพัตร อดีตโยมอุปัฏฐากคนสำคัญที่กล่าวถึงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมต่อความเป็นพระสงฆ์ ในขณะเดินทางไปต่างประเทศ และมีหลักฐานการลอกเลียนบทกวีของ ดร. ระวี ภาวิไล [1]

 

มีข้อกล่าวหาที่ได้รับการเผยแพร่ออกมาว่า มีเพศสัมพันธ์กับสตรีบนดาดฟ้าเรือเดินสมุทรระหว่างทางจากประเทศสวีเดนไปยังประเทศฟินแลนด์, จับต้องกายสตรีด้วยความกำหนัด ณ กุฏิริมน้ำ วัดป่าสุญญตาราม ประเทศออสเตรเลีย, เข้าไปหาสตรีในรถตู้ของเธอบนท้องถนนกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย, ร่วมหลับนอนกับสตรี และพร่ำพูดถึงความรักทางโทรศัพท์ (มีหลักฐานเป็นเทปบันทึกเสียง)

 

นางจันทิมาพาเด็กหญิงซึ่งอ้างว่าเป็นบุตรสาวมาแสดงตัว พร้อมกับนำภาพถ่ายการใช้ชีวิตเยี่ยงสามีภรรยามาเปิดเผย มีการท้าให้ตรวจดีเอ็นเอ มีการเปิดเผยสลิปบัตรเครดิตที่มีโยมอุปัฏฐากบริจาคให้ ซึ่งถูกนำไปใช้ในสถานบริการทางเพศในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รวมทั้งหลักฐานการเปิดโรงแรมและเช่ารถร่วมกับสตรีเพียงสองต่อสอง

 

จนในที่สุดเขาได้ถูกมติมหาเถรสมาคมพิจารณาอธิกรณ์ปรับให้เขาพ้นจากความเป็นพระภิกษุ เพราะพิจารณาได้ความว่าเขาต้องอาบัติหนักดังที่ถูกฟ้องร้อง แต่นายวินัยไม่ยอมรับมติสงฆ์ดังกล่าว ด้วยการปฏิญาณตนว่ายังเป็นพระภิกษุและเปลี่ยนสีจีวรเป็นสีเขียว ทำให้ถูกสื่อต่าง ๆ ขนานนามว่า จิ้งเขียว, สมียันดะ, ยันดะ เป็นต้นก่อนที่นายวินัยจะลักลอบทำหนังสือเดินทางปลอมเพื่อหลบหนีออกจากประเทศไทยไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาและได้รับสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง ทำให้นายวินัยสามารถหลบหนีคดีความอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้จนถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

เรียบเรียงโดย ชนุตรา สำนักข่าวทีนิวส์