ราชกิจจาประกาศใช้แล้ว! คนขับรถตู้  ผู้โดยสาร ต้องรู้ ขนส่งฯกำหนดรูปแบบการจัดที่นั่งรถตู้สาธารณะ เพื่อความปลอดภัย ผิดจากที่ประกาศ ผิดกฎหมาย

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะ มีรายละเอียดระบุว่า

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การจัดวางที่นั่งรถตู้โดยสารสาธารณะ มีรายละเอียดระบุว่า ตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐

 

เพื่อเป็นการดําเนินการตามมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ สมควรกําหนด การจัดวางที่นั่งสําหรับรถตู้โดยสารให้มีทางออกไปยังประตูฉุกเฉินเมื่อมีเหตุจําเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๔ (๒) และ (๓) ของคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๐เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ และข้อ ๑ (๒) (ก) และ (ฎ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

 

 

ข้อ ๑ บรรดาระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในประกาศนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน

 

 

ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รถ” หมายความว่า รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๒ (จ) ที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสาร ในประเภทการขนส่งประจําทางและไม่ประจําทาง

 

 

ข้อ ๓ การจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่จดทะเบียนใหม่ ให้จัดวางได้ไม่เกิน ๑๓ ที่นั่ง โดยที่นั่งแถวหลังสุดต้องมีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารใช้
เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ

 

 

ข้อ ๔ รถที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ที่มีที่นั่งผู้โดยสารเกิน ๑๓ ที่นั่ง ให้จัดวางที่นั่งผู้โดยสารได้ไม่เกิน ๑๓ ที่นั่ง โดยต้องจัดวางที่นั่งให้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้

 

 

(๑) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งคู่ ให้ถอดที่นั่งคู่ด้านซ้ายออก โดยจะนําที่นั่งเดี่ยวมาติด ด้านซ้ายสุดอีก ๑ ที่นั่ง หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร
เพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นหรือ เกิดอุบัติเหตุ

 

 

(๒) กรณีที่นั่งแถวหลังสุดเป็นที่นั่งไม่เกิน ๓ ที่นั่ง หรือที่นั่งเกินกว่า ๓ ที่นั่ง ให้ปรับปรุง การจัดวางที่นั่งแถวหลังสุดให้มีช่องทางเดิน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้
ผู้โดยสารใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ

ในกรณีที่รถมีที่นั่งไม่เกิน ๑๓ ที่นั่งอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่มีช่องทางเดินเพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็น ทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุ ให้ปรับปรุง
การจัดวางที่นั่งแถวหลังสุดให้มีช่องทางเดินเช่นเดียวกับรถตามวรรคหนึ่งด้วย

 

 

ข้อ ๕ ภายใต้บังคับข้อ ๓ และข้อ ๔ รถที่มีประตูทางขึ้นลงที่ด้านซ้ายและด้านขวาของ ห้องผู้โดยสาร และผู้โดยสารสามารถเปิดประตูเพื่อออกจากรถได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ให้ถือว่าประตูทางขึ้นลงที่ด้านขวาเป็นประตูที่ใช้เป็นทางออกฉุกเฉิน โดยจะมีช่องทางเดินเพื่อให้ผู้โดยสารใช้เป็น ทางออกฉุกเฉินด้านท้าย และเปิดออกจากตัวรถได้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ก็ได้

ข้อ ๖ การจัดวางที่นั่งให้เป็นไปตามประกาศนี้ ที่นั่งต้องติดตรึงกับตัวรถอย่างมั่นคงแข็งแรง และมีความปลอดภัยในการใช้งาน

 

 

ข้อ ๗ ประตูที่ใช้เป็นทางออกฉุกเฉินด้านท้ายของรถ ต้องมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นตัวอักษรภาษาไทยสีแดง

สะท้อนแสงมีความสูงไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร ติดอยู่เหนือบริเวณ
ที่เปิดปิดประตู หรือบริเวณขอบประตูด้านบนทางออกฉุกเฉินให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน

 

 

ข้อ ๘ การจัดวางที่นั่งอาจจัดวางที่นั่งตามตัวอย่างแนบท้ายประกาศนี้ หรือจะจัดวางที่นั่ง แตกต่างไปจากตัวอย่างแนบท้ายประกาศนี้ก็ได้ แต่ต้องมีช่องทางเดินตามที่กําหนดไว้ในข้อ ๓ หรือข้อ ๔

 

 

ข้อ ๙ รถที่ดําเนินการตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ แล้ว ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถต้องนํารถเข้ารับการตรวจสภาพและแก้ไขรายการทางทะเบียน ณ สํานักงานขนส่ง กรุงเทพมหานครพื้นที่ สํานักงานขนส่งจังหวัด หรือสํานักงานขนส่งจังหวัดสาขา ที่รถนั้นอยู่ใน ความรับผิดชอบ ภายในกําหนดระยะเวลา ดังนี้

 

(๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจําทาง ในเส้นทางหมวด ๒ และ ๓ ภายในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๐

(๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจําทาง ในเส้นทางหมวด ๑ และ ๔ ภายในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐

(๓) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งไม่ประจําทาง ภายในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๐

ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

สนิท พรหมวงษ์

อธิบดีกรมการขนส่งทางบก

 

ราชกิจจาประกาศใช้แล้ว! คนขับรถตู้  ผู้โดยสาร ต้องรู้ ขนส่งฯกำหนดรูปแบบการจัดที่นั่งรถตู้สาธารณะ เพื่อความปลอดภัย ผิดจากที่ประกาศ ผิดกฎหมาย
ราชกิจจาประกาศใช้แล้ว! คนขับรถตู้  ผู้โดยสาร ต้องรู้ ขนส่งฯกำหนดรูปแบบการจัดที่นั่งรถตู้สาธารณะ เพื่อความปลอดภัย ผิดจากที่ประกาศ ผิดกฎหมาย
ราชกิจจาประกาศใช้แล้ว! คนขับรถตู้  ผู้โดยสาร ต้องรู้ ขนส่งฯกำหนดรูปแบบการจัดที่นั่งรถตู้สาธารณะ เพื่อความปลอดภัย ผิดจากที่ประกาศ ผิดกฎหมาย
ราชกิจจาประกาศใช้แล้ว! คนขับรถตู้  ผู้โดยสาร ต้องรู้ ขนส่งฯกำหนดรูปแบบการจัดที่นั่งรถตู้สาธารณะ เพื่อความปลอดภัย ผิดจากที่ประกาศ ผิดกฎหมาย
ราชกิจจาประกาศใช้แล้ว! คนขับรถตู้  ผู้โดยสาร ต้องรู้ ขนส่งฯกำหนดรูปแบบการจัดที่นั่งรถตู้สาธารณะ เพื่อความปลอดภัย ผิดจากที่ประกาศ ผิดกฎหมาย