ไขข้อข้องใจ สังคมปฏิเสธ “เดียร์” โหมรำลึก 13 พ.ค. 53 กระสุนปริศนา สั่งฆ่าเสธ.แดง

ไขข้อข้องใจ สังคมปฏิเสธ “เดียร์” โหมรำลึก 13 พ.ค. 53 กระสุนปริศนา สั่งฆ่าเสธ.แดง

13 พฤษภาคม 2553 การชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ล่วงเลยมาเป็นเวลาร่วม 2 เดือน และไม่มีทีท่าว่ารัฐบาลจะลาออกตามข้อเรียกร้อง ไม่ต้องพูดถึงชัยชนะของการชุมนุม เพราะหลังจากเกิดการปะทะ มีความรุนแรง ความหวังก็ดูเหมือนยิ่งเลือนลางลงทุกที
 
หลังจากถูกกระชับพื้นที่การชุมนุมที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า ถนนราชดำเนิน ต่อมา นปช.ได้ปักหลักชุมนุมกันใจการเมือง บริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งไม่นานนักรัฐบาลก็ได้สั่งกระชับพื้นที่อีกครั้ง โดยประกาศให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่ดังกล่าว เพราะบริเวณนั้นจะเป็นเขตการใช้กระสุนจริง แม้จะมีการตัดน้ำตัดไฟ แต่ 3 เกลอ แกนนำ นปช. ไม่ว่าจะเป็น นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ก็ประกาศก้องว่าจะไม่ยอมถอย

เมื่อเวทีการชุมนุมอยู่ที่แยกราชประสงค์ เสธ.แดง หรือ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล เป็นหนึ่งในแกนนำเสื้อแดงสายฮาร์ดคอร์ เป็นแกนหลักของกองกำลังรบเสื้อแดง มีกำลังติดอาวุธจำนวนหนึ่งไว้สู้รบกับทหารของรัฐบาล ที่มี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บังคับบัญชา คอยสั่งการตามแผนของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.
 
หน้าฉากแกนนำ นปช.ปฏิเสธบทบาทของเสธ.แดง เพราะเสธ.แดงมีกำลังติดอาวุธและประกาศสู้ด้วยการใช้อาวุธ ซึ่งไม่ใช่แนวทางการต่อสู่อย่างสันติวิธี แต่หลังฉากไม่มีใครรู้ความสัมพันธ์ของบรรดาแกนนำ
 
เสธ.แดงตั้งฐานที่มั่นบริเวณสวนลุมพินี  จนวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 เวลา 19.20 น. หลังจากเดินตรวจพื้นที่ได้ไม่นาน เมื่อเดินมาถึงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสีลม บริเวณแยกศาลาแดง และเดินข้ามรั้วเหล็กซึ่งเป็นจุดสูงเด่นที่สุด นั่นเป็นจุดที่เขาถูกยิง
 

กระสุนพุ่งตรง เจาะเข้าหน้าผากขวา ทะลุออกท้ายทอยด้านซ้ายทันที ร่างของเสธ.แดง รุดฮวบลงกับพื้นพร้อมกับเลือดสีแดงสด ไหลทะลักออกจากบาดแผล ทิ้งคำพูดประโยคสุดท้ายขณะตอบคำถามนักข่าวเกี่ยวกับฐานที่มั่นของเขา ว่า “กองกำลังทหารไม่สามารถเข้ามาในนี้ได้” และเสธ.แดงเสียชีวิตในเวลาต่อมา
 
จากนั้น เสธ.แดงถูกยกย่องให้เป็นวีรบุรุษจากสมรภูมิการชุมนุม วีรกรรมของเสธ.แดงถูกนำมากล่าวถึง ยกย่อง สรรเสริญ เพราะแม้เสธ.แดงจะขึ้นชื่อว่าเป็นพวกหัวรุนแรง หลายคนไม่ยอมรับ แต่ข้อดีของเขาคือความตรงไปตรงมา กล้าหาญ และเปิดเผย การเสียชีวิตของเสธ.แดง ทำให้พรรคเพื่อไทย(พท.)ต้องดึงลูกสาวคือ เดียร์ “ขัตตยา สวัสดิผล” เข้ามาเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2554
 
ต่อมา “เดียร์” ก็เป็นตัวแทนทางการเมืองของพ่อ แม้ระหว่างทำหน้าที่ ส.ส. จะไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก เนื่องจากยังถือว่าเป็นนักการเมืองเจเนอเรชั่นใหม่ของพรรค และมีประสบการณ์ทางการเมืองน้อย ทว่าหลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกรัฐประหาร และเคลื่อนไหวของแบบของตัวเอง อาทิ เดินสายทำบุญ ประกอบกับพบปะฐานเสียงไปพร้อมๆกัน หรือ ร่วมกิจกรรมกับชาวบ้าน ปรากฏว่าในกิจกรรมเหล่านั้น ต้องมี “เดียร์” ร่วมอยู่ด้วยเกือบทุกกิจกรรม ด้วยเหตุนี้ “เดียร์” จึงถูกมองว่า กำลังพยายามเล่นการเมืองอยู่
 
ปฏิเสธไม่ได้ว่า “เดียร์” ได้เข้ามาเป็น ส.ส. มีบทบาทและชื่อเสียงก็เพราะเสธ.แดง จึงไม่แปลกที่หลังจาก “เดียร์” ออกมาโอดครวญว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ไม่อนุญาตให้ไปวางดวกไม้แสดงสัญญาลักษณ์บริเวณที่เสธ.แดงถูกยิง ปฏิกิริยาจากสังคมจะปฏิเสธ “เดียร์” ค่อนข้างมาก หลายคนวิจารณ์ไปประมาณว่า ถ้าอยากรำลึกถึงพ่อจริงก็ควรไปทำบุญ
 
นั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่ง ถ้าอยากรู้ว่าความเห็นหรือกระแสสังคมต่อเรื่องนี้ว่าเป็นอย่างไร ก็ลองไปอ่านคอมเม้นจากข่าวในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายใหญ่อย่าง ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน เนชั่น ดูก็จะกระจ่างชัดแจ้ง